ผลกระทบของฟิลเตอร์ความงามในสื่อสังคมออนไลน์ต่อการรับรู้ตนเองของนักศึกษาในกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

ชญาน์วัต กิจนพ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความถี่และรูปแบบการใช้ฟิลเตอร์ความงามของนักศึกษามหาวิทยาลัยในเขตกรุงเทพมหานคร (2) วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างการใช้ฟิลเตอร์ความงามกับการรับรู้ตนเองและความพึงพอใจในรูปลักษณ์ และ (3) ประเมินการตระหนักรู้ของนักศึกษาต่อผลกระทบทางจิตวิทยาที่อาจเกิดจากการใช้ฟิลเตอร์ความงาม การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามออนไลน์เป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างนักศึกษาระดับปริญญาตรีในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์สหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า 1) นักศึกษาส่วนใหญ่ใช้สื่อดิจิทัลเฉลี่ย 4-6 ชั่วโมงต่อวัน แพลตฟอร์ม Instagram เป็นที่นิยมมากที่สุด มีการใช้ฟิลเตอร์เกือบทุกครั้ง โดยฟิลเตอร์ที่นิยมใช้มากที่สุดคือฟิลเตอร์ที่ช่วยลบริ้วรอยหรือสิว 2) การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างการใช้ฟิลเตอร์ความงามกับการรับรู้ตนเองและความพึงพอใจในรูปลักษณ์ พบว่า ความถี่ในการใช้ฟิลเตอร์ความงาม และประเภทของฟิลเตอร์ที่ใช้บ่อย มีความสัมพันธ์กับการรับรู้ตนเองและความพึงพอใจในรูปลักษณ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 3) การประเมินการตระหนักรู้ของนักศึกษาต่อผลกระทบทางจิตวิทยาที่อาจเกิดจากการใช้ฟิลเตอร์ความงาม พบว่า การตระหนักรู้ของนักศึกษาด้านการรับรู้ความเสี่ยง และด้านแนวทางการใช้งานอย่างเหมาะสมสามารถร่วมกันอธิบายผลกระทบทางจิตวิทยาที่อาจเกิดจากการใช้ฟิลเตอร์ความงาม ได้ร้อยละ 21.60 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยการรับรู้ความเสี่ยง และแนวทางการใช้งานฟิลเตอร์ความงามอย่างเหมาะสม มีความสัมพันธ์ในเชิงบวกกับผลกระทบทางจิตวิทยา

Article Details

How to Cite
กิจนพ ช. (2025). ผลกระทบของฟิลเตอร์ความงามในสื่อสังคมออนไลน์ต่อการรับรู้ตนเองของนักศึกษาในกรุงเทพมหานคร. Journal of Spatial Development and Policy, 3(2), 103–114. สืบค้น จาก https://so16.tci-thaijo.org/index.php/JSDP/article/view/1446
บท
บทความวิจัย

References

ปีย์วรา อาจหาญวงศ์. (2564). การออกแบบรูปแบบของผู้มีอิทธิพลด้านความงาม (Beauty Influencers) ในสื่อโซเชียลมีเดีย. (ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2566). ตลาดความงามและศัลยกรรมไทยปี 2566. กรุงเทพฯ: ธนาคารกสิกรไทย.

สมาคมศัลยแพทย์ตกแต่งแห่งประเทศไทย. (2565). รายงานประจำปี 2565. กรุงเทพฯ: สมาคมศัลยแพทย์ตกแต่งแห่งประเทศไทย.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2565). รายงานการสำรวจพฤติกรรมการใช้จ่ายด้านความงามของคนไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงานสถิติแห่งชาติ.

องค์กรสหประชาติ. (2567). การสนับสนุนของสหประชาชาติต่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในประเทศไทย. สืบค้นจาก https://url.in.th/KvLLd.

Alfonso-Fuertes, I., Alvarez-Mon, M. A., Del Hoyo, R. S., Ortega, M. A., Alvarez-Mon, M., & Molina-Ruiz, R. M. (2023). Time spent on Instagram and body image, self-esteem, and physical comparison among young adults in Spain: observational study. JMIR formative research, 7(1), e42207.

Cochran. (1977). Sampling Techniques. (3rd Edition). New York: John Wiley & Sons.

Doh, M., Canali, C., & Karagianni, A. (2024, June). Pixels of Perfection and Self-Perception: Deconstructing AR Beauty Filters and Their Challenge to Unbiased Body Image. In Proceedings of the 2024 ACM International Conference on Interactive Media Experiences (pp. 349-353). New York: Association for Computing Machinery.

Festinger, L. (1954). A theory of social comparison processes. Human relations, 7(2), 117-140.

Higgins, E. T. (1987). Self-discrepancy: a theory relating self and affect. Psychological review, 94(3), 319.

Meyer, M. (2024). Is Botox redefining beauty standards for Gen Z? American Med Spa Association. Retrieved from https://americanmedspa.org/news/is-botox-redefining-beauty-standards-for-gen-z.

Ozimek, P., Lainas, S., Bierhoff, H. W., & Rohmann, E. (2023). How photo editing in social media shapes self-perceived attractiveness and self-esteem via self-objectification and physical appearance comparisons. BMC psychology, 11(1), 99.

Rahman, E., Webb, W. R., Rao, P., Yu, N., Garcia, P. E., Ioannidis, S., Sayed, K., Philipp-Dormston, W. G., Carruthers, J. D. A., & Mosahebi, A. (2024). A systematic review on the reinforcement loop in aesthetic medicine and surgery: The interplay of social media, self-perception, and repeat procedures. Aesthetic Plastic Surgery, 48, 3475–3487.

Rogers, R. W. (1975). A protection motivation theory of fear appeals and attitude change. The journal of psychology, 91(1), 93-114.

Sattarpanahi, E., kiani, L., Hesami, S., Salehi, N., & Kavousighafi, M. (2024). Body Image and Social Media: A Qualitative Investigation of the Influence of Instagram on Young Women's Self-Perception and Body Satisfaction. Psychology of Woman Journal, 5(2), 25-32.