รูปแบบของสถานประกอบการและปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการรับรู้แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงการระเบียงอาหารและผลไม้ภาคตะวันออก จังหวัดจันทบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ (1) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการรับรู้แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงการระเบียงอาหารและผลไม้ภาคตะวันออก จังหวัดจันทบุรี และ (2) เพื่อศึกษาปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ที่มีผลต่อการรับรู้แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงการระเบียงอาหารและผลไม้ภาคตะวัน ออกในมุมมองของผู้ประกอบการในจังหวัดจันทบุรี แยกตามรูปแบบของสถานประกอบการ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลจากผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม จำนวน 100 ตัวอย่าง โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมาน ผลการศึกษาพบว่า 1) ผู้ประกอบการในจังหวัดจันทบุรีมีระดับความคิดเห็นต่อปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ในระดับปานกลาง โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.38 เมื่อพิจารณารายปัจจัยเรียงตามระดับความคิดเห็นจากมากไปน้อย พบว่า ด้านราคา และด้านสินค้าและบริการ มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.68 และ 3.46 ตามลำดับ ส่วนด้านช่องทางการจัดจำหน่าย และด้านส่งเสริมการตลาด มีความคิดเห็นอยู่ในระดับปานกลางโดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.08 และ 3.30 ตามลำดับ และ 2) ปัจจัยด้านประชากรศาสตร์แยกตามรูปแบบของสถานประกอบการ พบว่า กิจการผลิตสินค้ากับกิจการด้านการค้าปลีก และกิจการผลิตสินค้ากับกับกิจการให้บริการมีระดับการรับรู้แผนยุทธศาสตร์โครงการระเบียงอาหารและผลไม้ภาคตะวันออก จังหวัดจันทบุรี ในประเด็นด้านความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาศักยภาพผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร แตกต่างกัน นอกจากนี้ยังพบว่า ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลทางตรงเชิงบวกต่อการรับรู้แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงการระเบียงอาหารและผลไม้ภาคตะวันออก จังหวัดจันทบุรี คือ ปัจจัยด้านช่องทางการจัดจำหน่าย (β=0.496) และด้านราคา ("β" =-0.204) ส่วนด้านสินค้าและบริการ และด้านการส่งเสริมการตลาดก็มีผลทางตรงเชิงบวกโดยรวมเช่นกันแต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติติที่ยอมรับได้
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กิตติวงค์ สาสวด. (2560). นโยบายรัฐบาล ความสามารถของผู้ประกอบการที่ส่งผลต่อประสิทธิผล ของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในภาคตะวันออก. วารสารชุมชนวิจัย, 11(3), 168-182.
โชติกา ชุ่มมี. (2556). ถอดรหัส “Food Valley Model” จากเนเธอร์แลนด์สู่ไทยแลนด์. สืบค้น 15 สิงหาคม 2567. จาก https://www.scbeic.com/th/detail/product/759.
โชติกา ชุ่มมี. (2565). วิกฤตอาหารโลก (Global food crisis). สืบค้น 15 สิงหาคม 2567. จาก https://www.scbeic.com/th/detail/file/product/8657/gfm0m1ctsh/EIC_In-Focus_Food-crisis_20221121.pdf.
ทิพย์ไพลิน คังกัน และ มณีกัญญา นากามัทสึ. (2565). วิจัยปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อความได้เปรียบทางการแข่งขันของผู้ประกอบการโรงคัดบรรจุทุเรียนในจังหวัดจันทบุรี สำหรับการส่งออกประเทศจีน. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น, 8(4), 298-306.
ธนาคารกรุงไทย. (2567). ธุรกิจ SME คืออะไร? มีอะไรบ้าง รวมสิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับการทำธุรกิจ. สืบค้น 12 ธันวาคม 2567. จาก https://krungthai.com/th/financial-partner/learn-financial/1854.
ประชาชาติธุรกิจ. (2565). จันท์ฟูดส์ & ฟรุตวัลเลย์ รัฐอัดงบวิจัย-ดันตั้งโรงงานเพิ่มมูลค่า. สืบค้น 15 สิงหาคม 2567. จาก https://www.prachachat.net/local-economy/news-1101153.
มาริษา สุจิตวนิช และ ดวงใจ คงคาหลวง. (2563). แนวทางการสื่อสารการตลาดผ่านสื่อสังคมออบไลน์ในกลุ่มเจเมอเรชันเน็ต. Journal of Roi Kaensarn Academi, 5(2), 157-162.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2546). การบริหารการตลาดยุคใหม่. กรุงเทพฯ: ธรรมสาร.
สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) (สพร.). (2567). ข้อมูลจำนวนสถานประกอบการองค์กร : สำนักงานประกันสังคม. สืบค้น 15 สิงหาคม 2567. จาก https://data.go.th/dataset/gdpublish-dataset-16-022.
สิทธิศักดิ์ เจริญหิรัญ, จอมซนา เชื้อฟัก, ชยุต อุดมปณิธ และ ศักร์ระภีร์ วรวัฒนะปริญญา. (2560). การศึกษาปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อเครื่องให้อาหารกุ้งอัตโนมัติ ของผู้เลี้ยงกุ้งในจังหวัดจันทบุรี. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, 5(2), 120-129.
หรรษธร ณรงค์, วิจิตรา ศรีสอน และ สัณฐาน ชยนนท์. (2565). ยุทธศาสตร์การพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC)*Eastern Economic Corridor (EEC) Development Strategy. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 10(3), 1257-1267.
อรุณี ดนุดล และ มณฑนา วีระวัฒนากร. (2565). สุขลักษณะการผลิตอาหารที่ดี GMP 420: วิธีปฏิบัติที่ง่ายที่สุดสู่ความปลอดภัยอาหาร. วารสารโภชนาการ, 57(2), 43-62.
Ebel, R.L., & Frisbie, D.A. (1991). Essentials of Educational Measurement. (5th ed.). Englewood Cliffs: Prentice Hall.
Rovinelli, R.J., & Hambleton, R. K. (1977). On the use of content specialists in the assessment of criterion referenced test item validity. Dutch Journal of Educational Research, 2, 49-60.
Yamane, T. (1967). Statistics: An Introductory Analysis. (2nd ed.). New York: Harper & Row.