แนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมในการจัดการน้ำ กรณีศึกษาธนาคารน้ำใต้ดิน บ้านดอนฆ้อ หมู่ที่ 2 ตำบลนาเรียง อำเภอพรหมคีรี จังหวัดนครศรีธรรมราช

Main Article Content

สุมินตรา หมาดหลู
พัณณิตา สุภาพโรจน์
เดโช แขน้ำแก้ว
พงศ์ประสิทธิ์ อ่อนจันทร์
เชษฐา มุหะหมัด

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมในการจัดการน้ำ กรณีศึกษาธนาคารน้ำใต้ดิน บ้านดอนฆ้อ หมู่ที่ 2 ตำบลนาเรียง อำเภอพรหมคีรี จังหวัดนครศรีธรรมราช การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสัมภาษณ์กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญคัดเลือกแบบเจาะจงคือ ผู้นำชุมชนและผู้ที่ใช้ประโยชน์จากธนาคารน้ำใต้ดินในปัจจุบัน รวมจำนวน 16 คน เก็บรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์เชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า ธนาคารน้ำใต้ดินถูกใช้เพื่อนำน้ำใช้เพื่อการอุปโภค-บริโภคในครัวเรือนและเพื่อการเกษตร และช่วยแก้ปัญหาภัยแล้งและปัญหาน้ำท่วม มีแนวทางการมีส่วนร่วมการจัดการน้ำของธนาคารน้ำใต้ดินดังนี้ 1) “ตัดสินใจร่วม” โดยการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจที่เริ่มจากการร่วมคิดและร่วมประสานงานเพื่อทำธนาคารน้ำให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวัน 2) “มีต้นทุนร่วม” ได้แก่ มีต้นทุนในด้านงบประมาณ ทรัพยากรมนุษย์และทรัพยากรทางธรรมชาติที่ควบคู่กันไป ซึ่งใช้ต้นทุนที่มีอยู่ในการดูแลธนาคารน้ำใต้ดิน 3) “ข้อตกลงร่วม” เป็นการมีส่วนร่วมในการร่วมสร้างฉันทามติหรือข้อตกลงกับชาวบ้านและผู้ที่เกี่ยวข้องในการออกความคิดเห็นและร่วมสร้างข้อตกลงกันในรูปแบบการตัดสินใจและสร้างข้อตกลงแบบประชาธิปไตย 4) “ประโยชน์ร่วม” เป็นการมีส่วนร่วมในการใช้ประโยชน์โดยชาวบ้านในชุมชนนำแนวคิดไปบูรณาการหรือประยุกต์ใช้ธนาคารน้ำใต้ดินเพื่อการดำรงชีวิต เช่น ใช้น้ำเพื่ออุปโภค-บริโภคในครัวเรือนและใช้เพื่อการเกษตร และ 5) “ประเมินร่วม” โดยมีการติดตามผลและประเมินผลตลอดการจัดทำธนาคารน้ำใต้ดิน ซึ่งได้ผลผลตอบรับที่ดีเพราะได้ถึงประโยชน์อย่างชัดเจนจากการทำธนาคารน้ำใต้ดิน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ขวัญใจ เปือยหนองแข้ และ ภักดี โพธิ์สิงห์. (2564). ถอดรหัสโมเดลการพัฒนานวัตกรรมท้องถิ่นด้านระบบธนาคารน้ำใต้ดินขององค์การบริหารส่วนตำบลระบำ อำเภอลานสัก จังหวัดอุทัยธานี. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น, 7(2), 341-359.

จินตวีร์ เกษมศุข. (2561). แนวคิดการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อการพัฒนาชุมชนที่ยั่งยืน. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 26(50), 169-186.

จิรภัณฑ์ จ้ายหนองบัว. (2567). การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำโดยชุมชน กรณีศึกษาอ่างเก็บน้ำละเลิงหวาย อำเภอพล จังหวัดขอนแก่น. Journal of Spatial Development and Policy, 2(2), 13-26.

โชคสุข กรกิตติชัย. (2563). รายการร้อยเรื่องเมืองไทย. กรุงเทพฯ: สถานีวิทยุกระจายเสียงรัฐสภาและสำนักวิชาการ กรุงเทพมหานคร.

ธนกฤต รุ่งแสนทวี, ภักดี โพธิ์สิงห์ และ ขวัญใจ เปือยหนองแข้. (2565). นวัตกรรมธนาคารน้ำใต้ดินแก้ปัญหาน้ำทั้งระบบแบบมีส่วนร่วมกับชุมชนขององค์การบริหารส่วนตำบลเก่าขาม อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น, 8(3), 373-382.

ธนกฤต รุ่งแสนทวี, สัญญา เคณาภูมิ และ เสาวลักษณ์ โกศลกิตติอัมพร. (2566). นวัตกรรมธนาคารน้ําใต้ดินในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารสหวิทยาการวิจัยและวิชาการ, 3(2), 125-142.

บัญชา จันทราช. (2566). นวัตกรรมธนาคารน้ำใต้ดินเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มกับสินค้าเกษตรในครัวเรือนอย่างยั่งยืน อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารสหวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, 7(1), 18-32.

พระวินัย อานนฺโท. (2566). การมีส่วนร่วมของประชาชน ในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น 5 ปี (พ.ศ. 2566-2570) ของเทศบาลตำบลสุวรรณภูมิ อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด. Journal of Spatial Development and Policy, 1(6), 61-74.

สุกัญญา อัตถาชน, พิมพ์พร ภูครองเพชร และ นิรันดร คำนุ. (2567). แนวทางการใช้ประโยชน์พื้นที่สาธารณะรอบอ่างห้วยหินเหิบ กรณีศึกษา บ้านหนองโจด ตำบลโคกก่อ อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม. Journal of Spatial Development and Policy, 2(3), 39-48.

เสาวลักษณ์ โกศลกิตติอัมพร, สัญญา เคณาภูมิ, วาสนา บรรลือหาญ และ อาภากร ประจันตะเสน. (2563). การจัดการทรัพยากรน้ำ : แนวคิดธนาคารน้ำใต้ดิน จากชุมชนเก่าขามอุบลราชธานีสู่ชุมชนหนองมะโมงชัยนาท. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์, 5(1), 395-408.