การบริหารจัดการเศรษฐกิจฐานรากสู่ศูนย์กลางลุ่มแม่น้ำโขง ในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) การบริหารจัดการเศรษฐกิจฐานรากสู่ศูนย์กลางลุ่มแม่น้ำโขง (2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการเศรษฐกิจฐานรากสู่ศูนย์กลางลุ่มแม่น้ำโขง และ (3) แนวทางการบริหารจัดการเศรษฐกิจฐานรากสู่ศูนย์กลางลุ่มแม่น้ำโขงในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ และการพรรณนาวิเคราะห์ ผลการศึกษาพบว่า 1) การบริหารจัดการเศรษฐกิจฐานรากสู่ศูนย์กลางลุ่มแม่น้ำโขง โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ ด้านความร่วมมือ ด้านพฤติกรรมจิตอาสาและด้านการส่งเสริมและพัฒนา ตามลำดับ 2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการเศรษฐกิจฐานรากสู่ศูนย์กลางลุ่มแม่น้ำโขง ได้แก่ ด้านการพัฒนาบุคลากร (X4) ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (X3) และด้านการบริหารจัดการ (X1) มีค่าสัมประสิทธิ์ของตัวพยากรณ์ในคะแนนดิบ (b) เท่ากับ .425 .278 และ .044 ตามลำดับ และ 3) แนวทางการบริหารจัดการเศรษฐกิจฐานรากสู่ศูนย์กลางลุ่มแม่น้ำโขง พบว่า (1) ควรมีการบริการการค้าหลังการขาย (2) ควรมีอาคารหรือกลุ่มของอาคารที่มีการพัฒนาพื้นที่แบบมิกซ์ยูสและพื้นที่ศูนย์การค้า (3) ผลิตภัณฑ์ที่ขายในศูนย์การค้าควรมีความทันสมัย (4) ควรมีการนำเทคโนโลยีเข้ามาปรับใช้คำนึงถึงผลกระทบที่มีต่อสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นระบบ (5) สร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนมีการประชาสัมพันธ์การค้าที่นักลงทุนเข้ามาพัฒนาเมือง ตลอดการพัฒนาการมุ่งเน้นการสนับสนุนการท่องเที่ยวในการบริหารจัดการค้าการลงทุนการท่องเที่ยวอย่างมีประสิทธิผล
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย. (2560). แนวทางการดำเนินงานนโยบายสานพลังประชารัฐในการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและประชารัฐ. กรุงเทพฯ: กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย.
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2560). การวิเคราะห์สถิติ : สถิติเพื่อการตัดสินใจ. (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์วิทยาลัย.
โครงการศึกษาวิจัยพลวัต. (2564). Supply Chain ในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงและนัยต่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน. บริษัท ทรานส์คอนซัลท์ จำกัด.
ทวีป บุตรโพธิ์. (2560). การขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากและประชารัฐ. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร.
บุหงา ชัยสุวรรณ, พรพรรณ ประจักษ์เนตร และ กิรติ คเชนทวา. (2562). ปัจจัยพยากรณ์ความสำเร็จในการส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากในชุมชน: กรณีศึกษาจังหวัดชายแดนภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 27(53), 87–108.
ปัณณวิชญ์ แสงหล้า, พระมหาสมมาส ชุติมนฺโต (พงษ์สุพรรณ), สหพร แสงวันดี และ ประสิทธิ์ แสงทับ. (2565). การพัฒนาองค์ความรู้เศรษฐกิจฐานรากของชุมชนเพื่อความยั่งยืนในศตวรรษที่ 21. วารสารมหาจุฬาวิชาการ, 9(3), 290–303.
พิทยา บวรวัฒนา. (2556). รัฐประศาสนศาสตร์ ทฤษฎีและแนวคิดการศึกษา (ค.ศ.1887-ค.ศ.1970). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วันเพ็ญ ศรีแก้ว. (2552). การพัฒนาศักยภาพในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร ในจังหวัดเชียงใหม่. (วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่).
ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2552). การบริหารการตลาดยุคใหม่. กรุงเทพฯ: บริษัท ธรรมสาร จำกัด.
สมเกียรติ สุทธินรากร. (2562). การพัฒนาโมเดลนวัตกรรมการบริหารจัดการที่ส่งผลต่อการสร้างสรรค์มูลค่าของผลิตภัณฑ์วิสาหกิจชุมชน. (ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร).
Armstrong, G., Adam, S., Denize, S., & Kotler, P. (2014). Principles of marketing. Victoria: Pearson Australia.
Herkema, S. (2003). A Complex Adaptive Perspective on Learning with in Innovation. Projects. The Learning Organization, 10(6), 340-346.
Lemon, M., & Sahota, P. S. (2004). Organizational culture as a knowledge repository for increased innovative capacity. Technovation, 24(6), 483-498.
Yamane, T. (1973). Statistics: an Introductory Analysis. (3rd ed.). New York: Harper and Row.