ประเพณีปักธงชัย ตามความเชื่อของชาวอำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาประเพณีปักธงชัยตามความเชื่อของชาวอำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก อันเป็นธรรมเนียมประเพณีที่สืบทอดด้วยภูมิปัญญาประจำถิ่น เพื่อให้คนรุ่นหลังได้เรียนรู้ มีความเข้าใจและได้มีวรรณกรรมที่มีเนื้อหาเชิงประจักษ์ และยังเป็นเอกลักษณ์ของชาวนครไทย ที่เกิดจากความเชื่อเกี่ยวกับเรื่องวีรกรรมของพ่อขุนบางกลางท่าว ที่ได้รับชัยชนะจากการสู้รบกับศัตรู จึงนำผ้าคาดเอวของท่านผูกปลายไม้ปักไว้ที่ยอดเขา 3 ลูก ได้แก่ เขาช้างล้วง เขาย่านไฮ เขาฉันเพล เพื่อแสดงถึงชัยชนะ ส่วนการทำธงสำหรับใช้ในวันบุญปักธงของชาวนครไทย พระสงฆ์และผู้นำชุมชนจะเรียกชาวบ้านในหมู่บ้านมานัดหมายว่าจะเริ่มทำธง โดยใช้สถานที่ผู้ที่มีความสามารถในการทอผ้า หรือผู้นำหมู่บ้าน แต่ในการทอชาวบ้านจะมาช่วยกันทอ โดยนำฝ้ายที่ปลูกมารวมกันเป็นกองกลาง จากนั้นจะนำมาทอเป็นผืนธง ผู้ทอมักเป็นผู้หญิง เพราะในอดีตผู้หญิงนครไทยส่วนใหญ่สามารถทอผ้ากันได้ทุกคน และในวันแห่ธง ชาวบ้านจะเตรียมอาหารไปทำบุญตักบาตรที่วัด ส่วนคนที่จะขึ้นไปปักธงจะต้องเตรียมอาหารสำหรับตนเองและสำรับไปเลี้ยงพระเพลบนเขา พระสงฆ์และชาวบ้านที่จะขึ้นไปปักธงจะต้องเดินทางเท้าผ่านทุ่งนาและป่าไปที่เขาช้างล้วง จากนั้นพระสงฆ์และชาวบ้านจะนำธงไปปักที่ยอดเขา ในขณะกำลังปักธง พระสงฆ์สวดชัยมงคลคาถา ผู้นำชาวบ้านนำธงไปผูกกับลำไม้ไผ่ แล้วไปปักไว้ในหลุมบนยอดเขา พร้อมกับกล่าวคำไชโยโห่ร้องกันเป็นอันเสร็จพิธี
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรมศิลปากร. (2542). วัฒนธรรม อารยธรรม ภูมิปัญญาและเทคโนโลยี. กรุงเทพฯ: มีดีเน็ตเวิร์ก.
กระทรวงวัฒนธรรม. (2566). ความเป็นมาของประเพณีปักธงชัย. สืบค้น 20 ธันวาคม 2566. จาก https://www.m-culture.go.th/phitsanulok/ewt_news.php?nid=165&filename=index.
เดชบดินทร์รัตน์ ปิยะภาภรณ์, พัชรินทร์ จึงประวัติ และ สุมานิการ์ จันทร์บรรเจิด. (2550). ไทยศึกษา. กรุงเทพฯ: ทริปเพิ้ล เอ็ดดูเคชั่น.
นิพนธ์ สัมมา. (2534). พิธีกรรมกับการสื่อสารทางสังคม. เชียงใหม่: คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ปรีชา เรืองจันทร์. (2552). พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ (พ่อขุนบางกลางท่าว) พระปฐมบรมกษัตริย์ ผู้สร้างชาติไทย. พิษณุโลก: โรงพิมพ์รัตนสุวรรณการพิมพ์.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2566). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 เฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคล เฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน.
ศรีศักร วัลลิโภดม. (2544). พัฒนาการทางสังคม-วัฒนธรรมไทย. กรุงเทพฯ: ด่านสุธาการพิมพ์.
สภาวัฒนธรรมอำเภอนครไทย. (2545). โครงการคำให้การผู้เชียวชาญด้านวัฒนธรรมของอำเภอนครไทย. พิษณุโลก: สภาวัฒนธรรมอำเภอนครไทย.
สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ. (2550). แผนแม่บทปีรณรงค์วัฒนธรรมไทย พ.ศ. 2537. กรุงเทพฯ: คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ.
สำนักงานศึกษาธิการอำเภอนครไทย. (2545). วัฒนธรรมของอำเภอนครไทย. พิษณุโลก: สำนักงานศึกษาธิการอำเภอนครไทย.
สิริกานต์ รอดบุญรมย์. (2560). บทบาทการมีส่วนร่วมการบูรณาการศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรมของมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร. (รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร).
สุรพล วิรุฬห์รักษ์. (2547). หลักการแสดงนาฏศิลป์ปริทรรศน์. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เสฐียรโกเศศ (พระยาอนุมานราชธน). (2515). การศึกษาวรรณคดีแง่วรรณศิลป์. กรุงเทพฯ: บรรณาคาร
แสงอรุณ กนกพงศ์ชัย. (2545). วัฒนธรรมในสังคมไทย. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อภิชาต จันทร์แดง. (2546). ความเชื่อ พิธีกรรม: กระบวนการเรียนรู้เพื่อศักยภาพการพึ่งตนเองของชุมชนชนบท ศึกษาเฉพาะกรณีชุมชนบ้านยางหลวง ตำบลทำผา อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่. (สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).
อัศวิณีย์ หวานจริง. (2554). ศิลปกรรมกระจกสะท้อนวัฒนธรรมชุมชนท้องถิ่นบนผนังวิหารวัดท่าข้าม (ชัยชนะ) อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิจิตรศิลป์, 9(2), 190-237.