การเตรียมความพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงสู่เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) มาใช้ในการบริการของภาครัฐ
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อนำเสนอการเตรียมความพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงสู่เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) มาใช้ในการบริการของภาครัฐ กระบวนการเรียนรู้ของ AI จะมีลักษณะคล้ายการเรียนรู้ของมนุษย์ โดยมีกระบวนการจดจำการทำงาน มีการทำความเข้าใจ การตอบสนอง การตัดสินใจ และแก้ไขปัญหา โดยใช้การเรียนรู้จากข้อมูลจำนวนมากที่มีลักษณะซ้ำๆ เหมือนกัน ในการใช้เทคโนโลยี AI ที่เหมาะสมควรมีการวิเคราะห์และกำหนดรูปแบบการทำงานให้สอดคล้องกับจุดประสงค์ของการใช้งาน มีการประเมินข้อมูลและมีการบำรุงรักษาเทคโนโลยี AI โดยการติดตามและตรวจสอบกลไกการทำงานของ AI ให้มีประสิทธิภาพอยู่เสมอ รวมถึงต้องมีข้อมูลใหม่ๆ อัพเดตฐานข้อมูล เพื่อเป็นการพัฒนาให้เทคโนโลยี AI ฉลาดขึ้น และสามารถนำข้อมูลมาทำนายพฤติการณ์ต่างๆ ของผู้ใช้ที่จะนำไปใช้ในกระบวนการตัดสินใจเชิงนโยบายได้ ภาครัฐสามารถนำเทคโนโลยี AI มาใช้ในการบริหารจัดการในการทำงานเชิงรุก โดยอาศัยการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมของประชาชนได้ เพื่อให้ทราบแนวโน้มของประเด็นปัญหา และแนวโน้มความต้องการของประชาชนและสังคม จากนั้นจึงนำมาวางแผน จัดลำดับความสำคัญของประเด็นทางสังคมและบริหารจัดการตามหน้าที่ความรับผิดชอบของแต่ละหน่วยงาน เพื่อวางแนวทางการให้บริการแก่ประชาชนได้อย่างชัดเจน สะดวก และรวดเร็ว มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลอย่างตรงกับความต้องการของประชาชน ด้วยการนำข้อมูลไปใช้ต่อยอดให้เกิดประโยชน์ เช่น การจัดสวัสดิการทางสังคม การกำหนดสิทธิประโยชน์ด้านการรักษาพยาบาล และการดูแลรักษาความปอดภัย
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กฤติยา รัตแพทย์. (2561). AI: Artificial Intelligence หรือปัญญาประดิษฐ์. สืบค้น 13 พฤศจิกายน 2566. จาก http://www.dstd.mi.th/board/index.php?topic=3400.0.
กวิฏ ตั้งจรัสวงศ์. (2562). การปฏิวัติอุตสาหกรรม (Industrial Revolution). สืบค้น 31 ตุลาคม 2566. จาก https://www.bootcampdemy.com/content/106-industrial-revolution.
จารุณี ดวงสุวรรณ. (2560). ปัญญาประดิษฐ์ 1 (ARTIFICIAL INTELLIGENCE I). สืบค้น 16 ธันวาคม 2566. จาก http://staff.cs.psu.ac.th/jarunee/344-371%20AI-Ebook.pdf.
จำนง สรพิพัฒน์. (2564). การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 เมื่อคนได้คนเสียเป็นคนละกลุ่มกัน. สืบค้น 16 ธันวาคม 2566. จาก https://citly.me/uQWFc.
ฉัตรพงศ์ ชูแสงนิล. (2562). ปัญญาประดิษฐ์เพื่อการเรียนรู้. สืบค้น 13 ธันวาคม 2566. จาก https://www.scimath.org/article-technology/item/10110-ai-10110
ชูพันธุ์ รัตนโภคา. (2559). ความรู้เบื้องต้นทางปัญญาประดิษฐ์ (Introduction to Artificial Intelligence). กรุงเทพฯ: ภาควิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
ณัฏฐ์ อรุณ. (2553). ปัญญาประดิษฐ์กับการประยุกต์ใช้. วารสารนักบริหาร, 30(4), 167-171.
ธนชาติ นุ่มนนท์. (2562). การประยุกต์ใช้ปัญญาประดิษฐ์ในบ้านเรา. สืบค้น 16 พฤศจิกายน 2566. จาก https://thanachart.org/2019/06/24/การประยุกต์ใช้ปัญญาประดิษฐ์.
ธัญญลักษณ์ รุ้งแสงจันทร์. (2561). การรับมือกับการเปลี่ยนแปลงในยุค 4.0 ของแรงงานไทย. วารสารสังคมสงเคราะห์, 26,(2), 172-204.
วริศรา กิจมหาตระกูล. (2561). แนวทางกำหนดมาตรการเพื่อควบคุมการใช้ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) ในการสอบบัญชี. (ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).
ศรัณย์ศิริ คัมภิรานนท์. (2562). AI เทคโนโลยีอนาคตของประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา.
เศรษฐพงศ์ มะลิสุวรรณ และ วาสนา แก้วผนึกรังษี. (2561). การเปลี่ยนผ่านทางดิจิทัลของประเทศไทย เพื่อนําไปสู่ Thailand 4.0. วารสารวิชาการ กสทช., 2(ธันวาคม), 23-42.
สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต และ อนุชา ม่วงใหญ่. (2553). การรับรู้และการเรียนรู้กับการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมมนุษย์ (เอกสารการสอนชุดวิชาพฤติกรรมมนุษย์ หน่วยที่ 7). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สำนักงาน SAS Institute Inc. (2566). ปัญญาประดิษฐ์ คืออะไร และสำคัญอย่างไร. สืบค้น 21 ธันวาคม 2566. จาก https://www.sas.com/th_th/insights/analytics/what-is-artificial-intelligence.html.
สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. (2564). AI ในการให้บริการของภาครัฐ. สืบค้น 13 ธันวาคม 2566. จาก https://www.etda.or.th/th/Useful-Resource/Knowledge-Sharing/Articles/AI-in-Government-Services.aspx.
สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. (2566). ปัญญาประดิษฐ์ในการให้บริการของภาครัฐ. สืบค้น 10 พฤศจิกายน 2566. จาก https://www.etda.or.th/th/Useful-Resource/Knowledge-Sharing/Articles/AI-in-Government-Services.aspx.
สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน). (2562). เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์สำหรับการบริหารภาครัฐ. สืบค้น 1 ธันวาคม 2566. จาก https://www.dga.or.th/document-sharing/dga-ebook/annual-ai/47112/.
สุกมล มุ่งพัฒนสุนทร. (2563). มานุษยวิทยาดิจิทัลภายใต้กรอบแนวคิดทฤษฎีเทคโนโลยีสื่อกลาง. Journal of MCU Social Science Review, 9(1), 82-97.
อัญชลี จวงจันทร์. (2566). เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) กับการบริหารงานภาครัฐ. สืบค้น 1 ธันวาคม 2566. จาก https://prt.parliament.go.th/server/api/core/bitstreams/832d72d8-1f1e-4c0d-ac7e-fc9d3db8da4a/content.
Coraline Team. (2562). ทำความรู้จักพื้นฐานของ AI แต่ละประเภท. สืบค้น 14 พฤศจิกายน 2566. จาก https://www.coraline.co.th/single-post/2019/03/11/basics-of-eachtype-of-AI.