โครงสร้างความรู้สึกในประสบการณ์ชีวิตของแรงงานย้ายถิ่นอีสาน: บทวิเคราะห์จากเพลงลูกทุ่งของต่าย อรทัย
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาโครงสร้างความรู้สึกในประสบการณ์ชีวิตของแรงงานย้ายถิ่นอีสานโดยการวิเคราะห์จากเพลงลูกทุ่งของต่าย อรทัย การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาวิเคราะห์เชิงตีความเนื้อหาบทเพลง ผู้วิจัยได้อิงอาศัยวิธีการวิจัยทางมนุษยศาสตร์โดยทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้กรอบคิดทฤษฎีโครงสร้างควารู้สึก (Structure of Feeling) มาวิเคราะห์ร่วมกับข้อมูล สภาพเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และความเชื่อ ในเชิงพรรณนาวิเคราะห์ ผลการศึกษาพบว่า ในช่วงของการย้ายถิ่นนั้น เนื่องด้วยสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติที่ไม่เอื้ออำนวย ทำให้แรงงานต้องย้ายถิ่นฐานเข้ามาในเมืองกรุงด้วยโครงสร้างความรู้สึกที่หวังว่า คุณภาพชีวิตของตนและครอบครัวจะดีขึ้น ต่อมาในช่วงย้ายถิ่นความรู้สึกของแรงงานเริ่มสะท้อนให้เห็นถึงโครงสร้างความรู้สึกที่สะท้อนถึงความน้อยเนื้อต่ำใจ ที่สะท้อนภาพความเหลื่อมล้ำในทางศักดิ์ศรีที่เกิดขึ้นระหว่าง นายจ้างและแรงงาน และในช่วงสุดท้ายช่วงหวนคำนึงถึงบ้านเก่าช่วงนี้เป็นช่วงที่โครงสร้างความรู้สึกของแรงงานสะท้อนความรู้สึกของความแปลกแยกของแรงงานที่เกิดขึ้นกับตัวเอง ความแปลกแยกที่ว่านี้มาจากความไม่สมดุลระหว่างการใช้แรง ค่าจ้างที่เกิดขึ้น และความขัดแย้งในตนเองด้านมุมมองการผลิต จนสุดท้ายการคิดหวนคำนึงถึงบ้านเก่ากลายเป็นวิธีการที่แรงงานใช้ปลอบประโลมตนเองในการบรรเทาโครงสร้างความรู้สึกแปลกแยกที่เกิดขึ้น เพื่อที่จะได้กลับไปเป็นแรงงานในระบบที่เขารู้ว่ามีการกดขี่ขูดรีดต่อตัวแรงงานต่อไป เนื่องด้วยแรงงานเหล่านี้แบกความหวังที่ไม่ใช่เพียงของตน แต่คือของครอบครัวมี่แบกมาด้วย โครงสร้างความรู้สึกในประสบการณ์ชีวิตแรงงานย้ายถิ่นทั้งสามช่วงนี้จึงสะท้อนให้เห็นถึง ความรู้สึกที่ซ่อนอยู่ภายใต้วัฏจักรการย้ายถิ่นของแรงงาน โครงสร้างความรู้สึกจึงเป็นตัวช่วยที่เผยให้เห็นถึงความเป็นจริงในความรู้สึกของแรงงานที่ถูกซ่อนอยู่ ซึ่งสะท้อนมาจากบทเพลงลูกทุ่งของ ต่าย อรทัย
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
จินตนา ดำรงค์เลิศ. (2533). ขนบธรรมเนียมประเพณี ค่านิยม และการดำเนินชีวิตของชาวชนบทไทยที่ปรากฏในเพลงลูกทุ่งไทย ตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่สองจนถึงปัจจุบัน. (ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).
ดุษฎี อายุวัฒน์. (2562). คนอีสานย้ายถิ่น สถานการณ์และผลกระทบ. ขอนแก่น: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ตันหยง วงวาน, ศรชัย มุ่งไธสง และ ณัฏฐพล สันธิ. (2560). การวิเคราะห์ภาษาภาพพจน์ที่ปรากฏในเพลงลูกทุ่ง: กรณีศึกษาบทเพลงของนักร้องหญิง ต่าย อรทัย. วารสารสังคมศาสตร์วิชาการ, 10(3), 249-261.
ปุณชญา ศิวานิพัทน์ และ พิมพ์ผกา ยอดนารี. (2564). ลักษณะทางภาษาของคำเรียกคนอีสานที่ปรากฏในเพลงไทยลูกทุ่ง. วิวิธวรรณสาร, 5(1), 143-162.
ยงยุทธ บุราสิทธิ์. (2556). กรณีศึกษาชุมชนแห่งหนึ่ง ในกรุงเทพมหานคร. วารสารภาษาและวัฒนธรรม, 32(1), 69-72.
ศิริวรรณ เกษมศานต์กิดาการ. (2537). การศึกษาเชิงวิเคราะห์ปัญหาเรื่องความแปลกแยกในสังคมไทย. วารสารมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2(1), 1-19.
สันติ ทิพนา, ราตรี ทิพนา และ สุดารัตน์ ผุสิมมา. (2563). ลักษณะความยากจนของคนอีสานที่ปรากฏในบทเพลงลูกทุ่ง ของศิลปิน ไมค์ ภิรมย์พร. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 11(1), 1-24.
สันติ ทิพนา และ ราตรี ทิพนา. (2561). วาทกรรมความยากจนของคนอีสาน ในบทเพลงลูกทุ่งของต่าย อรทัย. วารสารวิถีสังคมมนุษย์, 6(1), 18-51.
สุจิตต์ วงษ์เทศ. (2550). ค่านิยม ในเพลงนอกศตวรรษ. (พิมพ์ครั้งที่4). กรุงเทพฯ: มติชน.
อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์. (2559). ลืมตา อ้าปาก: จาก “ชาวนา” สู่ “ผู้ประกอบการ”. กรุงเทพฯ: มติชน.
อรวรรณ ชมดง และ อรทัย เพียยุระ. (2557). เพศวิถีและสังคมไทยในวรรณกรรมเพลงลูกทุ่ง. วารสารบัณฑิตศึกษา มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 3(2), 77-98.
อิสริยะ ไพรีพ่ายฤทธิ์. (2564). Structure of Feelings. สืบค้น 27 เมษายน 2565. จาก https://markpeak.net/structure-of-feelings/.
DeKievi, M. (2017). Youth Identity and Regional Music in Northeastern Thailand. Mānoa: University of Hawaiʻi.
Gao, M. (2017). Unsettled “structure of feeling” of Chinese migrant worker –cases from the service sector of Shanghai. Inter-Asia Cultural Studies, 18(2), 281-301.
Highmore, B. (2016). Formations of Feelings, Constellations of Things. Cultural Studies Review, 22(1), 144-167.
Lockard, C. (1998). Dance of life: Popular music and politics in Southeast Asia. Honolulu: University of Hawaii Press.
Mandel, E., & Novack, G. (1974). The Marxist theory of alienation: three essays. New York: Pathfinder Press.
Marx, K. (1990 [1867]). Capital Volume I. Penguin Classics: London
Mitchell, J. (2011). Khon ban diaokan or'we're from the same village': star/fan interaction in Thai Lukthung. Perfect Beat, 12(1), 69-89.
Mitchell, J. (2015). Luk Thung: The Culture and Politics of Thailand's Most Popular Music. Chiang Mai: Silkworm Books.
Phongpaichit, P., & Baker, C. (1995). Thailand: Economy and Politics. Kuala Lumpur: Oxford University Press.
Terry, M. (2005). From country hick to rural hip: A new identity through music for Northeast Thailand. Asian Music, 36(2), 96-106.
Williams, R. (2011). The Long Revolution. Cardigan: Parthian Books.