คุณธรรมและความโปร่งใสในการปฏิบัติหน้าที่ของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลทับผึ้ง อำเภอศรีสำโรง จังหวัดสุโขทัย
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา (1) คุณธรรมของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลทับผึ้ง อำเภอศรีสำโรง จังหวัดสุโขทัย (2) ความโปร่งใสในการปฏิบัติหน้าที่ของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลทับผึ้ง อำเภอศรีสำโรง จังหวัดสุโขทัย และ (3) ความสัมพันธ์ระหว่างคุณธรรมกับความโปร่งใสในการปฏิบัติหน้าที่ของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลทับผึ้ง อำเภอศรีสำโรง จังหวัดสุโขทัย การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรด้วยสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ การวิเคราะห์ด้วยวิธีการถดถอยพหุคูณ และการทดสอบสมมติฐานการวิจัย ผลการวิจัยพบว่า คุณธรรมของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลทับผึ้ง อำเภอศรีสำโรง จังหวัดสุโขทัย พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านคุณภาพการดำเนินงาน รองลงมาคือ ด้านการใช้อำนาจ และอันดับสุดท้ายคือ ด้านการปฏิบัติหน้าที่ ความโปร่งใสในการปฏิบัติหน้าที่ของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลทับผึ้ง อำเภอศรีสำโรง จังหวัดสุโขทัย โดยรวมอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านการป้องกันการทุจริต รองลงมา คือ ด้านการใช้งบประมาณ ด้านการเปิดเผยข้อมูล และอันดับสุดท้ายคือ ด้านประสิทธิภาพการสื่อสาร ความสัมพันธ์ระหว่างคุณธรรมกับความโปร่งใสในการปฏิบัติหน้าที่ของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลทับผึ้ง อำเภอศรีสำโรง จังหวัดสุโขทัย พบว่า ด้านคุณภาพการดำเนินงาน มีความสัมพันธ์ทางบวกอยู่ในระดับสูง และตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อความโปร่งใสในการปฏิบัติหน้าที่ได้ดีที่สุด คือ ด้านการปรับปรุงระบบการทำงาน มีอำนาจพยากรณ์ (R2=.843) หรือคิดเป็นร้อยละ 84.30
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
เกียรติรพี พลหาญ. (2565). ปัจจัยการดำเนินงานของหน่วยงานที่มีความสัมพันธ์ต่อคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายในโรงพยาบาลนาแก จังหวัดนครพนม. วารสารสหวิทยาการวิจัย: ฉบับบัณฑิตศึกษา, 11(1), 12-17.
คณะกรรมการส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ. (2561). การส่งเสริมคุณธรรม “พอเพียง วินัย สุจริตจิตอาสา” สร้างคนดีสู่สังคม. กรุงเทพฯ : ศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน).
ทิวากร แสร์สุวรรณ และ ธนัสถา โรจนตระกูล. (2565). ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้กับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชัน : กรณีศึกษาเขตเทศบาลนครพิษณุโลก. Journal of Roi Kaensarn Academi, 7(9), 349-364.
ธีระพงศ์ มลิวัลย์. (2565). การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการด4เนินงานขององค์กรจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอกกรณีศึกษาสถาบันการเงินของรัฐ. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 12(3), 197-210.
สหศักดิ์ ฤทธิ์รักษา. (2558). ความพึงพอใจความโปร่งใสในการบริหารงานของเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์. (พัฒนาชุมชนมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).
สายฝน แก้วที. (2565). ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการทำงานและประสิทธิภาพการทำงานของบุคลากรกับการบริหารงานบุคคลของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี. วารสารการแพทย์ โรงพยาบาลอุดรธานี, 30(1), 110-120.
สำนักงาน ป.ป.ช. (2566). ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 135/ตอนที่ 52 ก/ 21 กรกฎาคม 2561. พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561.
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2560). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพฯ: สำนักการพิมพ์.
สำนักปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลทับผึ้ง. (2566). แผนพัฒนาท้องถิ่น 2566-2570. สุโขทัย: องค์การบริหารส่วนตำบลทับผึ้ง อำเภอศรีสำโรง จังหวัดสุโขทัย.
อภิสรา นิคมรัตน์, สิทธิพงษ์ สิทธิภัทรประภา และ สุปรีชา ชํานาญพุฒิพร. (2566). การพัฒนาศักยภาพของบุคลากรต่อการปฏิบัติงานด้านพัสดุ ตามหลักภาวนาธรรม ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดราชบุรี. Journal of Administrative and Management Innovation, 11(3), 94-105.
อิงสราญ ศรีม่วง, สัญญาศรณ์ สวัสดิ์ไธสง และ จิตติ กิตติเลิศไพศาล. (2565). ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมและการมีส่วนร่วมของประชาชนที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการดำเนินงานด้านการป้องกันการทุจริตระดับหมู่บ้านในเขตอำเภอบ้านม่วง จังหวัดสกลนคร. วารสารสหวิทยาการวิจัยและวิชาการ, 2(3), 197-216.
เอกรัฐ อิสโร, ภมร ขันธะหัตถ์ และ ธนิศร ยืนยง. (2565). คุณภาพชีวิตการทำงานที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบล ในอำเภอเมืองพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 16(2), 253-268.
Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing. (5th ed.). New York: Harper Collins Publishers.
Krejcie, R.V., & D.W. Morgan. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.