การส่งเสริมหลักธรรมาภิบาลเพื่อความคาดหวังในผลการปฏิบัติงานของบุคลากร องค์การบริหารส่วนจังหวัดสุโขทัย
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) การส่งเสริมหลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสุโขทัย (2) ความคาดหวังในผลการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุโขทัย และ (3) ความสัมพันธ์ระหว่างการส่งเสริมหลักธรรมาภิบาลกับความคาดหวังในผลการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุโขทัย การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรด้วยสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และการทดสอบสมมติฐานการวิจัย ผลการวิจัยพบว่า การส่งเสริมหลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสุโขทัย โดยรวมอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ หลักคุณธรรม รองลงมาคือ หลักความรับผิดชอบ และน้อยที่สุดคือ หลักการมีส่วนร่วม ความคาดหวังในผลการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุโขทัย โดยรวมอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ด้านการบริหารจัดการ รองลงมาคือ ด้านวัฒนธรรมองค์กร และน้อยที่สุดคือ ด้านการบูรณาการองค์ความรู้ ความสัมพันธ์ระหว่างการส่งเสริมหลักธรรมาภิบาลกับความคาดหวังในผลการปฏิบัติงานของบุคลากร พบว่า ด้านหลักความคุ้มค่า มีความสัมพันธ์ทางบวกอยู่ในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผลการทดสอบสมมติฐาน การส่งเสริมหลักธรรมาภิบาลมีผลต่อความคาดหวังในผลการปฏิบัติงานของบุคลากร พบว่า ทุกสมมติฐานมีความสอดคล้องอยู่ในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
เจษฎา ภาดี, อนันต์ สุนทราเมทากุล และ กิตติมา จึงสุวดี. (2566). ปัจจัยด้านแรงจูงใจในการปฏิบัติงานที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบล ในเขตอำเภอน้ำเกลี้ยง จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารการจัดการและการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 10(2), 135-151.
ณัฏฐพันธ์ เขจรนันทน์. (2551). พฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
ติยานนท์ แสงบุตร. (2563). การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัดกาฬสินธ์. (รัฐศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม).
นฤมล วอนเพียร, อดิเทพ ประดับแก้ว และ พชร วรรณภิวัฒน์. (2566). การบริหารงานขององค์การบริหารส่วนจังหวัดกาญจนบุรี. วารสาร มจร กาญจนปริทรรศน์, 3(3), 190-197.
นิพนธ์ ฐานะพันธุ์. (2562). แนวทางการส่งเสริมหลักคุณธรรม จริยธรรม และหลักธรรมาภิบาล ในการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดพัทลุง. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 9(2), 120-129.
บรรยงค์ โตจินดา. (2550). การบริหารงานบุคคล. กรุงเทพฯ : อมรการพิมพ์.
พระครูปลัดประวิทย์ วรธมฺโม, พระครูใบฎีกาศักดิ์ดนัย สนฺตจิตฺโต และสัญญา สดประเสริฐ. (2564). การนำหลักธรรมาภิบาลมาใช้กับการบริหารงานภาครัฐ. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 8(1), 35-47.
พระเมธาวินัยรส (สุเทพ พุทธจรรยา) และ สาลินี รักกตัญญู. (2566). การบริหารจัดการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น: ปัญหา อุปสรรค และแนวทางแก้ไข. วารสารวิจยวิชาการ, 6(1), 289-302.
ภูริทัต บุญเจือ. (2564). ธรรมาภิบาลในการบริหารทรัพยากรบุคคล กรณีศึกษา เทศบาลตำบลเหมือง อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี. (รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา).
สรศักดิ์ สร้อยสนธิ์ และ สุรพล ราชภัณฑารักษ์. (2565). กลยุทธ์เชิงรุกเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารขององค์การบริหารส่วนจังหวัด. วารสารรามคำแหง ฉบับรัฐประศาสนศาสตร์, 5(2), 280-310.
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. (2548). คู่มือการใช้เครื่องชี้วัดสำหรับการประเมินผลการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น.กรุงเทพฯ: กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2552). การจัดระดับการกำกับดูแลองค์กรภาครัฐตามหลักธรรมาภิบาลของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ.
สำนักปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุโขทัย. (2566). ฝ่ายบุคลากร องค์การบริหารส่วนจังหวัดสุโขทัย. สืบค้น 8 ธันวามคม 2566. จาก https://www.sukhothaipao.go.th/public/person/data/mono/structure_id/8/menu/558.
Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing. (5th ed.). New York: Harper Collins Publishers.
Krejcie, R.V., & D.W. Morgan. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.