การบริหารสาธารณะอันส่งผลต่อการจัดบริการตลาดถนนคนเดินของเทศบาลนครพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก

Main Article Content

นันทิตา เลิศสงครามชัย
อานนท์ ทวีสิน
ธรรศพงศ์ วงษ์สวัสดิ์
อธิพงษ์ คิดดี

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาการบริหารสาธารณะที่มีผลต่อการจัดบริการในตลาดถนนคนเดินของเทศบาลนครพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก (2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารสาธารณะกับการจัดบริการตลาดถนนคนเดินของเทศบาลนครพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรด้วยสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และการทดสอบสมมติฐานการวิจัย ผลการวิจัยพบว่า การบริหารสาธารณะของเทศบาลนครพิษณุโลก โดยรวมอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ด้านกระบวนการในการให้บริการ การจัดบริการในตลาดถนนคนเดินของเทศบาลนครพิษณุโลก โดยรวมอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ด้านการส่งเสริมผลิตภัณฑ์ชุมชน ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารสาธารณะกับการจัดบริการตลาดถนนคนเดินของเทศบาลนครพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก พบว่า ด้านองค์กรเครือข่ายชุมชน มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ผลการทดสอบสมมติฐาน การบริหารสาธารณะมีผลต่อการจัดบริการตลาดถนนคนเดินของเทศบาลนครพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก พบว่า ทุกสมมติฐานมีความสอดคล้องอยู่ในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กฤษณะ เนียมหอม และ กัมปนาท วงษ์วัฒนพงษ์. (2564). การจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมโดยชุมชน. Journal of Roi Kaensarn Academi, 6(11), 350-363.

จริยา โกเมนต์ และ เฉลิมชัย ปัญญาดี. (2563). การพัฒนาหลักเกณฑ์ข้อกำหนดการจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศบนฐานความหลากหลายทางชีวภาพและการอนุรักษ์ทรัพยากรชีวภาพสำหรับวิสาหกิจชุมชนเพื่อสังคม. วารสารการบริการและการท่องเที่ยวไทย, 15(2), 92-104.

เทศบาลนครพิษณุโลก. (2552). โครงการถนนคนเดินเมืองพิษณุโลก 2552-2554. พิษณุโลก: เทศบาลนครพิษณุโลก.

เทิดชาย ช่วยบำรุง. (2565). บทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนบนฐานแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง. สืบค้น 20 ธันวาคม 2566. จาก https://www.kpi.ac.th/media_kpiacth/pdf/M10_213.pdf.

ธนกฤต สังข์เฉย. (2550). อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการบริการ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร.

นฐกร วงษ์เทราช และ ศิวัช ศรีโภคางกุล. (2562). ความท้าทายของคนในพื้นที่ตำบลเชียงคาน อันเนื่องมาจากการหลั่งไหลเข้ามาของนักท่องเที่ยว. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 6(9), 4382-4396.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

รัชฎาพร เกตานนท์ แนวแห่งธรรม. (2561). แนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในจังหวัดนครปฐม. Veridian E-Journal,Silpakorn University, 10(1), 994-1061.

รัชฎาภรณ์ ทองแป้น. (2562). รูปแบบการจัดการท่องเที่ยวชุมชนต้นแบบ จังหวัดลำปาง. วารสารมนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์ปริทัศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง, 7(2), 46-57.

ศูนย์วิจัยและสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน. (2566). รายงานเศรษฐกิจไทยปี 2566 การท่องเที่ยวกลับมาเติบโตอีกครั้ง. สืบค้น 24 มกราคม 2566. จาก https://www.sdgmove.com/2023/07/04/thailand-economic-monitor-report-2023/.

สำนักงานจังหวัดพิษณุโลก. (ม.ป.ป.). แผนพัฒนาจังหวัดพิษณุโลก (พ.ศ. 2566 - 2570). สืบค้น 12 มกราคม 2566.จาก https://www.phitsanulok.go.th/gphitsanulok/components/com_mamboboard/uploaded/files/plan66_70.pdf.

หนึ่งหทัย ขอผลกลาง และ กันตภณ แก้วสง่า. (2564). แนวทางการพัฒนาท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย. วารสารการบริการและการท่องเที่ยวไทย, 16(1), 12-25.

Cochran, W.G. (1953). Sampling Techniques. New York: John Wiley & Sons.

Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing. (5th ed.). New York: Harper Collins Publishers.