การวิเคราะห์พื้นที่สีเขียวเพื่อรองรับสังคมสูงวัย แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
ปัจจุบันพื้นที่แขวงบางยี่ขัน มีพื้นที่สีเขียวต่อคนต่ำกว่าเกณฑ์ที่องค์การอนามัยโลก World Health Organization (WHO) กำหนด ซึ่งพื้นที่แขวงบางยี่ขันเป็นพื้นที่ที่มีความหนาแน่นของประชากรและความหนาแน่นของอาคาร อยู่ในระดับที่สูง เมื่อเทียบกับพื้นที่ในเขตเดียวกัน อีกทั้งแนวโน้มของประชากรในช่วงวัยทำงาน อยู่ในอัตราที่สูงเมื่อเทียบกับคนในวัยอื่นๆ ซึ่งในอนาคตอันใกล้คนกลุ่มนี้จะกลายเป็นกลุ่มผู้สูงวัยเต็มตัว ทั้งนี้เพื่อการรับมือในการเข้าสู่สังคมผู้สูงวัย จึงต้องมีการวางแผนบริหารจัดการโครงสร้างพื้นฐานของเมือง โดยการวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อที่วิเคราะห์ศักยภาพของพื้นที่สีเขียวพื้นที่สีเขียวในปัจจุบัน และวิเคราะห์หาพื้นที่ที่มีศักยภาพในการเพิ่มพื้นที่สีเขียวเพื่อการประกอบกิจกรรมในอนาคต ซึ่งมีบทบาทที่สำคัญต่อสังคมผู้สูงอายุอย่างมาก ซึ่งการวิเคราะห์หาพื้นที่ที่เหมาะสมและลักษณะของพื้นที่สีเขียวที่ดีนั้น จึงเป็นเรื่องที่สำคัญที่มองข้ามไม่ได้ โดยงานวิจัยชิ้นนี้วิเคราะห์ศักยภาพของพื้นที่ด้วยกระบวนการ Potential Surface Analysis (PSA) โดยมีปัจจัยเป็นตัวแปรเพื่อให้ได้มาซึ่งพื้นที่ที่เหมาะสมในการสร้างพื้นที่สีเขียวเพื่อการประกอบกิจกรรมในอนาคต
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรมสุขภาพจิต. (2563). Gen Y/Gen Me กลุ่มผู้กุมชะตาโลก. สืบค้น 5 สิงหาคม 2566. จาก https://dmh.go.th/news/view.asp?id=1251.
กรมสุขภาพจิต. (2563). ก้าวย่างของประเทศไทย สู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์แบบ. สืบค้น 5 สิงหาคม 2566. จาก https://dmh.go.th/news-dmh/view.asp?id=30476.
คณะกรรมาธิการติดตามเสนอแนะและเร่งรัดการปฏิรูปประเทศ และการจัดทำและดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติ. (2560). ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี. สืบค้น 5 สิงหาคม 2566. จาก http://www.senate.go.th/view/181/.
พนิต ภู่จินดา และ ยศพล บุญสม. (2559). แนวคิดการพัฒนาเมืองต้นแบบ. เจ-ดี : วารสารวิชาการ การออกแบบสภาพแวดล้อม, 3(1), 21-43.
มติชนออนไลน์. (2566). สังคมสูงวัยสมบูรณ์. สืบค้น 5 สิงหาคม 2566. จาก https://www.matichon.co.th/lifestyle/social-women/news_3066756.
มูลนิธิสถาบันการเดินและจักรยานไทย. (2565). เมือง 15 นาที. สืบค้น 5 สิงหาคม 2566. จาก http://www.ibikeiwalk.org/.
ศุภกิจ พิทักษ์บ้านโจด. (2564). พื้นที่สีเขียวในเมืองใหญ่. สืบค้น 5 สิงหาคม 2566. จาก https://becommon.co/culture/green-bangkok/.
สรัสวดี โรจนกุศล. (2564). แนวคิดเมือง 15 นาทีเพื่อชีวิตที่มีคุณภาพ. สืบค้น 5 สิงหาคม 2566. จาก https://citycracker.co/city-design/micro-neigborhood/.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2566). สาขาประชากรศาสตร์ ประชากร และเคหะ. สืบค้น 5 สิงหาคม 2566. จาก http://www.nso.go.th/sites/2014/Pages/home.aspx.
อนันต์ อนันตกูล. (2560). สังคมสูงวัย...ความท้าทาย ประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สำนักธรรมศาสตร์และการเมือง ราชบัณฑิตยสภา.
BMA กรุงเทพมหานคร. (2566). ชุดข้อมูลประชากรและอาคารเขตบางพลัด. สืบค้น 5 สิงหาคม 2566. จาก https://data.bangkok.go.th/organization/50350000.