ขนมจูจุ่น ขนมดอกบัว : ความเชื่อต่ออาหารในพิธีกรรมอายุวัฒนมงคลที่จังหวัดชุมพร

Main Article Content

ดิเรก ด้วงลอย
พระปลัดระพิน พุทธิสาโร
มัลลิกา ภูมะธน

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ศึกษาถึง ขนมจูจุ่น ขนมดอกบัว : ความเชื่อต่ออาหารในพิธีกรรมอายุวัฒนมงคลที่จังหวัดชุมพร ใช้วิธีการศึกษาจากเอกสาร งานวิจัย การสัมภาษณ์ และการสังเกตแบบมีส่วนร่วมในพื้นที่ของงานมงคล และนำเสนอในรูปบทความทางวิชาการ ผลการศึกษาพบว่า ขนมเป็นส่วนหนึ่งของงานพิธีกรรมอันมีในทุกคนสังคมและศาสนา โดยขนมดอกบัว หรือขนมจูจุ่น เป็นคำเรียกในถิ่นภาคใต้ ได้กลายเป็นส่วนหนี่งของพิธีกรรมที่เนื่องด้วยอายุวัฒนะมงคลหลวงพ่อเจ้าคณะจังหวัดชุมพร ที่ถูกตีความว่าผู้บริโภค หรือผู้ใหญ่กว่าให้บริโภค จะมีความหมายเป็นความเจริญก้าวหน้ารุ่งเรือง ตามการตีความว่า “ขนม” เป็นสัญลักษณ์ของความเฟื่องฟู ลอยสูงขึ้น ตามรูปแบบการทอด ที่ทอดแล้วฟูลอยในน้ำมัน ทั้งแนวคิดการตีความในเรื่อง “ความเจริญก้าวหน้า” ที่บ่งบอกถึงอายุ และตำแหน่งหน้าที่การงาน เป็นสัญลักษณ์ของการให้พรอีกแบบหนึ่งประหนึ่งขนมมงคลก็คงไม่ผิด จะทำให้มีอายุยืน มีความเจริญก้าวหน้า ดังปรากฏในงานวันเกิดที่ขนมดอกบัว (จูจุ่น) เป็นส่วนหนึ่งในงานมงคลดังกล่าว

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กิ่งแก้ว ทิศตึง และ ธนุพงษ์ ลมอ่อน. (2565). ตัวตนของคนมอญ: ปฏิบัติการทางสังคมเพื่อนิยามตัวตนของชาวมอญในจังหวัดลำพูนและเชียงใหม่. สังคมศาสตร์, 34(1), 144-173.

ฉัตรชนก บุญไชย. (2563). ขนมไทยมิติด้านประเพณี. วารสารวัฒนธรรมอาหารไทย, 2(1), 1-13.

เชษฐา มุหะหมัด และ เดโช แขน้ำแก้ว. (2565). ชักพระทางน้ำ ณ คีรีวง : ปฐมเหตุและการเปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน. Journal of Modern Learning Development, 7(3), 336-346.

นารี เอี่ยมวิวัฒน์กิจ ชูเรืองสุข. (2552). ขนมจู้จุน...ขนมโบราณของชาวปักษ์ใต้ที่เริ่มจะลางเลือน. สืบค้น 3 มกราคม 2566. จาก https://www.gotoknow.org/posts/.

ปาจรีย์ กิจกาญจนกุล. (2566). องค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ด้านอาหารพื้นถิ่นมอญ ลุ่มน้ำแม่กลอง จังหวัดราชบุรี. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 23(1), 205-233.

พระอธิการอำนวย สปฺปญฺโญ (ทองจีน), พระครูโกศลอรรถกิจ และ อุทัย เอกสะพัง. (2563). ศึกษาวิเคราะห์สัญญะที่ปรากฏในประเพณีบุญสารทเดือนสิบ เมืองนครศรีธรรมราช. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 7(8), 244-256.

วรพล อิทธิคเณศร. (2556). ตำรับข้างวัง : ขนมฝักบัว หรือขนมดอกบัว. สืบค้น 3 มกราคม 2566. จาก https://www.facebook.com/trulythaichef/posts/1161776934001771/.

ศิรินภา บุญผ่องศรี และ จตุวิทย์ แก้วสุวรรณ์. (2565).การศึกษาที่มาและบทบาทของขนมเทียนในพิธีกรรมประจำปีของชาวไทยเชื้อสายจีน ในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี. วารสารคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี, 18(2), 65-90.

สืบพงศ์ ช้างบุญชู. (2562). ขนมเต่ากับพิธีกรรมเซ่นไหว้ในชุมชนตลาดน้อย กรุงเทพมหานครและชุมชนบางเหนียว จังหวัดภูเก็ต. วารสารไทยศึกษา, 15(2), 83-111.

สุดาวรรณ์ มีบัว. (2560). ประเพณีบุญสารทเดือนสิบเมืองนคร. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์, 9(2), 221-229.

สุนทร คำยอด. (2561). ขนม เพศสภาพ การฟ้อนผี และพิธีกรรม : กรณีศึกษา การฟ้อนผีในจังหวัดเชียงใหม่. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้, 6(1), 53-63.

เสถียร ฉันทะ และ สุรินทร์ ทองคำ. (2563).ภูมิปัญญาท้องถิ่นการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ข้าวพื้นเมืองของกลุ่มชาติพันธุ์อาข่า ในจังหวัดเชียงราย. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์, 15(1), 67-78.

เสาวลักษณ์ กันจินะ, สุรีย์พร ธัญญะกิจ, อานง ใจแน่น, ฐิติวรฎา ใยสำลี, ปพนพัชร์ ภัทรฐิติวัสส์ และ จาตุรงค์ แก้วสามดวง. (2565). “ข้าวเหนียวแดง”: ขนมหวานในประเพณีพิธีกรรมล้านนาจากอดีตจนถึงปัจจุบัน. วารสารวัฒนธรรมอาหารไทย, 4(2), 51-60.

อ้อมตะวัน สารพันธ์. (2562). การศึกษาประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นในเขตเทศบาลเมืองเมืองแกนพัฒนา อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่. วารสาร มจร.หริภุญชัยปริทรรศน์, 3(1), 20-30.

Museum Thailand. (2565). ขนมดอกบัว. สืบค้น 3 มกราคม 2566. จาก https://www.museumthailand.com/th/2161/storytelling/%E0%B8%82%E0%B8%99%E0%B8%A1%E0%B8%94%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%A7/.

Pearl Mermaid Agar Powder Brand. (2565). 15 ขนมมงคล ตามหลักโบราณ มีขนมอะไรบ้าง?. สืบค้น 3 มกราคม 2566. จาก https://agarmermaid.com/%E0%B8%82%E0%B8%99%E0%B8%A1%E0%B8%A1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A5/.

Ranna coffee and tea. (2564). ขนมดอกบัว หรือ ขนมฝักบัว. สืบค้น 3 มกราคม 2566. จาก https://www.blockdit.com/posts/615d15f036e7990c9d3b0a6d.

Ratana Mali. (2566). ขนมฝักบัว: อร่อยนุ่มหอมกลิ่นไทยที่สร้างความทรงจำ. สืบค้น 3 มกราคม 2566. จาก https://citly.me/5YH9e.