เหี้ยอะไรว๊ะ : ฤาษีกินเหี้ย พระเจ้าแผ่นดินที่บางเหี้ย และแนวทางการพัฒนา “เหี้ย” ให้เป็นสัตว์เศรษฐกิจ
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์มีวัตถุประสงค์การเขียน “เหี้ย” เพื่อสะท้อนถึงเหี้ยในมิติของข้อเท็จจริงที่ปรากฏ ทั้งในส่วนแนวคิด ความเชื่อ และปรากฏการณ์ที่เคยเกิดขึ้น ปลายทางเป็นข้อมูลเพื่อการพัฒนา “เหี้ย” ให้เป็นสัตว์เศรษฐกิจที่ได้ทั้งมูลค่า และคุณค่าอันเกิดจากการใช้ประโยชน์อย่างสูงสุด ใช้วิธีการศึกษาจากเอกสาร และงานวิจัย การสังเกต และสัมภาษณ์เก็บข้อมูลเขียนเป็นความเรียงในรูปบทความวิชาการ ผลการศึกษาได้ข้อสรุปว่า เหี้ยเป็นสัตว์ที่มีพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของความเป็นสัตว์ที่มีมาหลายพันปี ในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาก็กล่าวถึงสัตว์ประเภทนี้ ไว้เป็นอุทาหรเปรียบเทียบ รวมทั้งสะท้อนให้เห็นว่าสัตว์ชนิดนี้เนื้อกินได้ และเป็นอาหารได้ด้วย หรือในบริบทสังคมไทยเหี้ย เป็นคำไม่สุภาพ จนกระทั่งพระเจ้าแผ่นดินไทย ได้เปลี่ยนชื่อโดยอิงกับภาษาบาลี เปลี่ยนจากบางเหี้ย อันเป็นถิ่นของพระเกจิคณาจารย์อย่างหลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย เป็นวัดมงคลโคธาวาส หรือที่อยู่ของสัตว์ประเภทนี้ รวมไปถึงเมื่อสำรวจงานวิจัยจำนวนมากก็ให้แนวทางในการพัฒนาสัตว์ดังกล่าวให้เป็นสัตว์เศรษฐกิจได้ เนื่องด้วยเติบโตง่าย และมีความคงทนในสภาพแวดล้อมธรรมชาติ สู่การส่งเสริมการเลี้ยงอย่างเป็นระบบ พัฒนาคุณภาพศึกษาการใช้ประโยชน์จากหนัง เนื้อ เลือด และหาแหล่งตลาดเพื่อการกระจายสินค้าให้เป็นสินค้าที่คนนิยมในที่สุด จนกระทั่งกลายเป็นสัตว์เศรษฐกิจตามเป้าหมายที่ต้องการได้
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กระทรวงมหาดไทย. (2565). “พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนนามอำเภอและตำบลบางแห่ง พุทธศักราช 2483”. ราชกิจจานุเบกษา. 57: 263–267. 30 กรกฎาคม 2483. สืบค้น 31 ตุลาคม 2565. จาก http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2483/A/263.PDF.
กระทรวงมหาดไทย. (2565). ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ยุบกิ่งอำเภอ เปลี่ยนชื่อและย้ายอำเภอกับโอนตำบล”. ราชกิจจานุเบกษา. 47: 226–228. 19 ตุลาคม 2473. สืบค้น 31 ตุลาคม 2565. จาก http:/www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2473/A/226.PDF.
กฤษฎา พรหมเวค และ สิงห์ สิงห์ขจร. (2564). จากตัวเงินตัวทองสู่สัตว์เศรษฐกิจ เรื่องจริงหรือเพ้อเจ้อ. วารสารทหารพัฒนา, 45(2), 81-92.
กฤษณ์ ทองเลิศ และ ณชรต อิ่มณะรัญ. (2562). การสื่อความหมายความอุดมสมบูรณ์ผ่านภาพกามวิสัยในภาพจิตรกรรมฝาผนังวัดหน้าพระธาตุ จังหวัดนครราชสีมา. วารสารนิเทศศาสตรปริทัศน์, 23(2), 98-113.
จักริน จุลพรหม. (2564). คำสแลงที่ใช้เพื่อบริภาษในทวิตเตอร์. วารสารวิชาการ คณะมนุษยศาสตร์และ สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, 8(1), 58-71.
ดวงมณี บุญช่วย. (2560). การศึกษาจุลกายวิภาคของผิวหนังตัวเงินตัวทอง (วารานัสซัลวาเตอร์) เพื่อประยุกต์ใช้สำหรับการผลิตงานเครื่องหนัง. (สัตวแพทยศาสตรบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์).
ทัศนีวัลย์ ศรีมันตะ และ ธนานันท์ ตรงดี. (2556). กลวิธีการสร้างถ้อยคำรื่นหู ในภาษาไทยและภาษาจีนกลางปัจจุบัน. วารสารช่อพะยอม, 24, 3–19.
ไทยรัฐออนไลน์. (2556). “ฟาร์มวารานัส” หรือ “ฟาร์มเหี้ย” เตรียมขยายผลโกอินเตอร์เพาะพันธุ์ “ตัวเหี้ย” ในฐานะสัตว์เศรษฐกิจเพื่อส่งออก. สืบค้น 31 ตุลาคม 2565. จาก https://www.thairath.co.th/content/323688.
ธันยวิช วิเชียรพันธ์, กรณัฐ กุตตะนันท์, พงษ์ภิภัทร ราษี, วิรัญชยา ยิ้มแย้ม, งามจิตต์ อมาตยกุล, สุระทิน ชัยทองคำ, ชินวัฒน์ ประยูรรัตน์, พงศ์สิน พรหมพิทักษ์, วรภพ มโนพร, สมภพ มีบุญ, นิรชร บุญชูกุศล. (2558). การศึกษาคำที่มีผลต่อความรู้สึกของนักเรียนชายสายอาชีวศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี, 12(2), 1-12.
นันทวัฒน์ โฆษา. (2562). การศึกษาฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียของส่วนประกอบเลือดจากตัวเงินตัวทอง (Varanus salvator). วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปูรณิมาง (2566). ตัวเหี้ย ชื่ออัปมงคล ถูกคนรังเกียจ อย่ามองข้าม สัตว์เศรษฐกิจในอนาคต. สืบค้น 31 ตุลาคม 2565. จาก https://www.thairath.co.th/scoop/theissue/2644063
ภัทรขวัญ ทองเถาว์. (2559). ทัศนะเกี่ยวกับพระสงฆ์และข้าราชการ ในนวนิยายของ วิมล ไทรนิ่มนวล. วารสารวิจัยและการพัฒนา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (ฉบับมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์), 7(14), 228–237.
รุจิ มหาพรหม. (2559). ความหนาแน่นประชากรและการวิเคราะห์สัณฐานวิทยาเพื่อการระบุเพศของเหี้ยในพื้นที่ตำบลบางกะเจ้า. (วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์).
วรรณโชค ไชยสะอาด. (2559). ย้าย “เหี้ย” พ้นสวนลุมฯ ก่อปัญหาหรือแค่รำคาญตา?. สืบค้น 31 ตุลาคม 2565. จาก https://www.posttoday.com/politics/455442.
วัชชิรานนท์ ทองเทพ. (2021). “ตัวเงินตัวทอง” สัตว์เคลื้อยคลานกับความเชื่ออัปมงคลที่คนไม่ควรด้อยค่า นอกจากความฮา หวย ที่ช่วยยอดเอนเกจสูง. สืบค้น 31 ตุลาคม 2565. จาก https://www.bbc.com/thai/thailand-59662883.
วิภา จิรภาไพศาล. (2566). เหี้ยเป็นสัตว์ที่คนรังเกียจ แต่ทำไมสมุทรปราการ มีแม่น้ำ-วัด-อำเภอชื่อ “[บาง]เหี้ย”. สืบค้น 31 ตุลาคม 2565. จาก https://www.silpa-mag.com/history/article_44459.
อันวาร์ อิบราฮิม, สุภาพร แสงแก้ว, นัฐวุฒิ ศรีไชยรัตน์ และ สมศักดิ์ บัวทิพย์. (2565). การสำรวจเหี้ยในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี จังหวัดป้ตตานี. วารสารวิทยาศาสตร์ประยุกต์, 21(2), 1-13.
อาชญาสิทธิ์ ศรีสุวรรณ. (2563). รถนางปลาพง รถขุนเผด็จฯ และคนขับรถแกล้งตัวเหี้ย ว่าด้วยกรณีอุบัติเหตุทางรถยนต์ในเมืองนครศรีธรรมราช พุทธศักราช 2471. วารสารรูสมิแล, 41(1), 55-58.
อานนท์ พรหมศิริ และ อนุชา แพ่งเกสร. (2566). คนกับเหี้ย: มิติทางสังคมและภูมิทัศน์วัฒนธรรม ของพื้นที่บางเหี้ยจากอดีตปัจจุบันสู่ความยั่งยืนในอนาคต. วารสารคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี, 6(1), 825-835.