ล่องแก่ง : แนวทางการส่งเสริมธุรกิจล่องแก่ง กรณีศึกษา : เรินเราโฮมสเตย์ หมู่ที่ 2 ตำบลลานข่อย อำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง

Main Article Content

วีระยุทธ หมื่นอักษร
เชษฐา มุหะหมัด
เดโช แขน้ำแก้ว
อุดมศักดิ์ เดโชชัย

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาของธุรกิจล่องแก่งเรินเราโฮมสเตย์ และ (2) เพื่อศึกษาแนวทางการส่งเสริมธุรกิจล่องแก่งเรินเราโฮมสเตย์ มีเครื่องมือการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์และการสังเกตแบบมีส่วนร่วม กลุ่มผู้ให้ข้อมูล คือ เจ้าของธุรกิจการล่องแก่ง พนักงานนักท่องเที่ยว ชาวบ้านและภาครัฐ จำนวนทั้งสิ้น 14 คน วิเคราะห์ข้อมูลทั้งเอกสารและการสัมภาษณ์ และนำเสนอแบบพรรณนาความ ผลการศึกษาพบว่า สภาพปัญหาของธุรกิจล่องแก่งเรินเราโฮมสเตย์ พบว่า 1) ด้านสภาพปัญหาการบริหารธุรกิจล่องแก่ง ได้แก่ ปัญหาที่พักไม่เพียงพอ และที่จอดรถไม่เพียงพอ 2) ด้านสภาพปัญหาธุรกิจการเกิดมูลค่าเพิ่ม ได้แก่ ปัญหาการขาดกิจกรรมส่งเสริมการล่องแก่ง 3) ด้านสภาพปัญหาสภาพอากาศ คือ ปัญหาปริมาณน้ำที่เพิ่มขึ้นในช่วงฤดูฝน 4) ด้านสภาพปัญหาการตลาดธุรกิจล่องแก่ง คือ ชุมชนขาดความพร้อมในการบริหารจัดการ และชะลอการประชาสัมพันธ์ของหน่วยงานรัฐ แนวทางการส่งเสริมธุรกิจล่องแก่งเรินเราโฮมสเตย์ พบว่า 1) การส่งเสริมการทำธุรกิจล่องแก่งทำให้เกิดมูลค่าเพิ่ม ได้แก่ การเพิ่มกิจกรรมให้หลากหลาย เช่น ตลาดนัด การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ และมีแนวคิดที่จะพัฒนาการท่องเที่ยวของเรินเราโฮมสเตย์ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวระดับต้นๆ ของจังหวัดพัทลุง 2) แนวทางการแก้ปัญหาในการทำธุรกิจล่องแก่ง ได้แก่ ผู้ประกอบการนำผลิตภัณฑ์ของชุมชนมาจำหน่าย 3) แนวทางการวางแผนและความเสี่ยงในการทำธุรกิจล่องแก่ง ได้แก่ การศึกษาความต้องการของลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย 4) การแก้ปัญหาการพัฒนาธุรกิจล่องแก่ง ได้แก่ การให้หน่วยงานต่างๆ ได้เข้ามาช่วยพัฒนาส่งเสริมสถานที่ การเผยแพร่กิจกรรมผ่านโซเชียลมีเดียและการจัดกิจกรรมให้นักท่องเที่ยวได้รับความรู้ และประสบการณ์จากการท่องเที่ยว

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรรณิกา แสงเปล่ง. (2550). การมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบล : ศึกษากรณีองค์การบริหารส่วนตำบลแพรกษา อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ. (รัฐศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา).

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2565). ททท. เปิดแผนตลาดฯ ปี 66 ตั้งเป้า “พลิกฟื้น” อุตสาหกรรมท่องเที่ยวอย่างสมดุลทุกมิติ เน้นสร้างคุณค่า การเดินทาง สู่ High Value & Sustainable Tourism ดันรายได้รวม 2.38 ล้านล้านบาท. สืบค้น 6 ธันวาคม 2565. จาก https://api.tat.or.th/upload/live/about_tat/8930/.

กิตติภัฏ ฐิโณทัย. (2563). แนวทางการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวโดยชุมชน. (รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์).

จันทร์จิรา สุขบรรจง. (2559). การพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของหนานมดแดง อำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง. (ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ).

จุฑาภรณ์ ทองเพ็ง. (2554). ความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวที่มีต่อการจัดการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ของวัดโสธรวรารามวิหาร จังหวัดฉะเชิงเทรา. (รัฐศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา).

ชิดชม กันจุฬา. (2563). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวเมืองรองของนักท่องเที่ยวชาวไทยกรณีศึกษาจังหวัดอ่างทอง. วารสารเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวสู่ความยั่งยืน, 2(2), 64-80.

ชุมพูนุช โมราชาติ. (2558). การจัดการความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวโดยชุมชนเกาะลันตา จังหวัดกระบี่. (บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์).

ธนะวิทย์ เพียรดี และ วนิดา อ่อนละมัย. (2564). แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนไปสู่ แหล่งท่องเที่ยวสีเขียวอย่างมีความรับผิดชอบ :กรณีศึกษาบ้านเกาะเคี่ยม ตำบลกันตังใต้ อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง. วารสารรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 4(1), 24-38.

บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา. (2548). การพัฒนาการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน. กรุงเทพฯ: บริษัทเพรส แอนด์ ดีไซน์ จำกัด.

พจนา สวนศรี, กฤศดา ธีราทิตยกุล, ฐิติ ฐิติจำเริญพร และ อนุชา เล็กสกุลดิลก. (2557). ศึกษาศักยภาพและแนวทางการพัฒนาตลาดการท่องเที่ยวโดยชุมชนในประเทศไทยและกลุ่มประเทศอาเซียน (รายงานวิจัย). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม.

พรหมภัสสร ชุณหบุญญทิพย์. (2560). การท่องเที่ยวชุมชนกับการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมพื้นที่ชุ่มน้ำหนองไชยวาน บ้านดอนแดง อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม. วารสารวิชาการการท่องเที่ยวไทยนานาชาติ, 13(2), 47-62.

พิมพ์ชนก มูลมิตร์, นิพล เชื้อเมืองพาน, วงศ์ระวิทย์ น้อมนำทรัพย์, ถิรนันท์ ประทุม, นิลุบล คงเปรม และ อารีรัตน์ ฟักเย็น. (2561). การพัฒนาจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและเกิดการท่องเที่ยวแบบเที่ยวซ้ำ ในจังหวัดนครปฐมและพื้นที่เชื่อมโยงจังหวัดนครปฐมและพื้นที่เชื่อมโยง. วารสารวิจัยแลพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย, 13(46), 78-89.

พิมพ์ระ วีโรจน์รุ่งสัตย์. (2556). การท่องเที่ยวชุมชน. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

โสภาพรรณ จันทร์คง. (2561). สถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติในจังหวัดพัทลุง. ใน การประชุมวิชาการด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ระดับชาติ ครั้งที่ 1 (หน้า 349-356). สงขลา: มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา.

หิรัญญา กลางนุรักษ์. (2552). แนวทางพัฒนากิจกรรมท่องเที่ยวเชิงผจญภัยหาดเฉวง อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน, 15(3), 269-275.

อัญชลี ศรีเกตุ. (2565). การจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนสู่วิถีที่ยั่งยืน. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 8(2), 270-279.