ศึกษาผลกระทบของเกษตรกรผู้เลี้ยงวัวชน กรณีศึกษา ชุมชนบ้านสายเงิน หมู่ที่ 2 ตำบลลานสกา อำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาองค์ความรู้ในการเลี้ยงวัวชนของเกษตรกรผู้เลี้ยงวัวชน และ (2) เพื่อศึกษาผลกระทบต่ออาชีพของเกษตรกรผู้เลี้ยงวัวชน ผู้ให้ข้อมูลสำคัญคัดเลือกแบบเจาะจงกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงวัวชน กลุ่มปราชญ์ชาวบ้านด้านการเลี้ยงสัตว์ กลุ่มเจ้าของบ่อนวัวและกรรมการในบ่อน กลุ่มเจ้าหน้าที่ภาครัฐที่ส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์ กลุ่มคนเลี้ยงวัวชนรับจ้าง และกลุ่มนักท่องเที่ยว/ผู้ชมกีฬาวัวชน จำนวนทั้งสิ้น 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสัมภาษณ์ โดยการวิเคราะห์เนื้อหา เรียบเรียงและนำเสนอแบบพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า องค์ความรู้ในการเลี้ยงวัวชน โดยภูมิหลังและพัฒนาการของวัวชนภาคใต้คือ มักนิยมนิยมเลี้ยงเพื่อใช้งานด้านเกษตรกรและการคัดเลือกสายพันธุ์เพื่อเป็นวัวชนที่มีสายเลือดมาจากพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์วัวชน ฝึกชนและออกกำลังกาย อาบน้ำ กินหญ้าที่ขึ้นอยู่ตามธรรมชาติและให้อาหารเสริมวัวชนที่มีแร่ธาตุและวิตามิน เลือกคู่ซ้อมที่มีลักษณะโครงสร้างร่างกายใกล้เคียงกัน พร้อมทั้งเสริมแต่งภายนอก เช่น ทาขมิ้นหลังจากที่วัวอาบน้ำเสร็จ ผลกระทบของเกษตรกรผู้เลี้ยงวัวชนได้แก่ ผลกระทบต่อวิถีชีวิตของผู้เล่นกีฬาวัวชน ในปัจจุบันกีฬาวัวชนเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายมักนิยมเล่นกันในหมู่ภาคใต้ ผลกระทบต่อวิถีชีวิตของวัวชน โดยเจ้าของจะมีการเลี้ยงวัวชน มีกลุ่มชาวบ้านหรือกลุ่มที่รักวัวชน ผลกระทบต่อวิถีชีวิตของเจ้าของสนามวัวชน ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นผู้ที่มีกำลังทรัพย์สินและเป็นบุคคลที่น่าเชื่อถือ ผลกระทบต่อวิถีชีวิตผู้เลี้ยงวัวชน โดยสืบทอดมาตั้งแต่บรรพบุรุษและสืบทอดจากรุ่นสู่รุ่น และผลกระทบต่อวิถีชีวิตของคนดู ซึ่งปัจจุบันมีทุกลุ่มอายุ ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ฐาปวุฒิ โชติเชย, จิตติมา ดำรงวัฒนะ, บุญยิ่ง ประทุม และ พงศ์ประสิทธิ์ อ่อนจันทร์. (2565). องค์ความรู้ในการเลี้ยงวัวชน กรณีศึกษา: ชุมชนบ้านในหมง ตำบลพรหมโลก อำ เภอพรหมคีรี จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสาร มจร. เพชรบุรีปริทรรศน์, 5(1), 59-69.
ทิพวรรณ หม้งห้อง, จิตติมา ดำรงวัฒนะ, อุดมศักดิ์ เดโชชัย และ เดโช แขน้ำแก้ว. (2562). โรงเรียนวัวชนและภูมิปัญญาการจัดการค่ายกีฬาวัวชนเพื่อการแข่งขันทางการค้า กรณีศึกษา สนามกีฬาชนโคบ้านปากพล ตำบลนาปะขอ อำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง. วารสารสังคมศาสตร์และวัฒนธรรม, 3(1), 64-71.
พนิดา มนตรี. (2563). ความตั้งใจรับชมถ่ายทอดสดกีฬาวัวออนไลน์แบบไลฟ์สตรีมมิ่ง. วารสารวิทยาการวิจัย, 9(2), 64-72.
รงค์ บุญสวยขวัญ. (2559). การเมืองของการพนันวัวชนภาคใต้. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 8(3), 245-266.
วีรชน ชูเสือหึง, จิตติมา ดํารงวัฒนะ, เดโช แขน้ำแก้ว และ อุดมศักดิ์ เดโชชัย. (2564). การขยายสายพันธุ์วัวชนในชุมชน: กรณีศึกษา ชุมชนหนองเพ็งกรอ ตำบลเสืองหึง อำเภอเชียงใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสาร มจร เพชรบุรีปริทรรศน์, 4(1), 22-28.
ศลิศา สุทธิเสริม, พิชัยศักดิ์ หรยางกูร, ภูมิ มูลศิลป์ และดิสพล จันศิริ. (2562). มาตรการทางกฎหมายในการควบคุมสถานที่จำหน่ายอาหารที่มีสัตว์เพื่อนันทนาการ (คาเฟ่สัตว์เลี้ยง). วารสารบัณฑิตศึกษา, 16(72), 11-16.
สมกมล ศรีสมโภชน์. (2556). วิถีชุนชนคนเลี้ยงวัว จังหวัดสุราษฎร์ธานี: กรณีศึกษาอำเภอพระแสง และอำเภอเวียงสระจังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารสหวิทยาการวิจัย: ฉบับบัณฑิตศึกษา, 2(1), 236-239.
สุทธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์. (2552). วัวชนคนปักษ์ใต้. วารสารทักษิณ, 1(2), 68-80.
อาคม เดชทองคำ. (2543). หัวเชือกวัวชน. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.