ศึกษาชุมชนในพื้นที่หมู่บ้านเครื่องปั้นดินเผา บ้านวังถั่ว จังหวัดขอนแก่น
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาชุมชนเครื่องปั้นดินเผา บ้านวังถั่ว (2) เพื่อศึกษาเครื่องปั้นดินเผาร้านยายโก้ง และ (3) เพื่อพัฒนาสื่อประชาสัมพันธ์ร้านเครื่องปั้นดินเผา บ้านวังถั่ว ตำบลวังชัย อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น การวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ ผลการศึกษาพบว่า 1) ชุมชนบ้านวังถั่วเป็นชุมชนที่มีแหล่งดินเหนียวที่สมบูรณ์ เหมาะแก่การทำเครื่องปั้นดินเผา ทำให้ในอดีตคนในหมู่บ้านบ้านวังถั่วได้ทำอาชีพผลิตเครื่องปั้นดินเผากันทั้งหมู่บ้าน จนเกิดพิษทางเศรษฐกิจ ทำให้รายได้ลดลง ทำให้คนในชุมชนไม่มีเงินหมุนเวียนในการที่จะทำเครื่องปั้นดินเผาต่อไป ทำให้คนชุมชนเลิกทำอาชีพนี้ ร้านยายโก้งถือเป็นการอนุรักษ์คงไว้ในการทำเครื่องปั้นดินเผาเป็นอาชีพหลักในการหาเลี้ยงครอบครัว ซึ่งถือเป็นผู้ประสบความสำเร็จในการผลิต และส่งออกขายเครื่องปั้นดินเผา และร้านยายโก้งยังเป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชนในการทำเครื่องปั้นดินเผา และเป็นแหล่งส่งเสริมให้คนชุมชนมีรายได้จากการทำให้ชุมชนเป็น ชุมชน OTOP มีคนเข้ามาศึกษาดูงาน ซึ่งส่งผลให้ชุมชนเป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น การพัฒนาสื่อประชาสัมพันธ์ผ่านทางสื่อออนไลน์ เป็นวิธีการประชาสัมพันธ์ที่สามารถทำให้ผู้คนเข้าถึงได้ง่าย ทางคณะผู้จัดทำได้เลือกใช้แพลตฟอร์ม YouTube Facebook Instagram และ TikTok จากการลงประชาสัมพันธ์ในแพลตฟอร์มบนอินเตอร์เน็ตถือเป็นการช่วยนำเสนอข้อมูลองค์กร และเข้าถึงกลุ่มลูกค้าใหม่จำนวนมากในเวลาอันสั้น ในขอบเขตที่ขยายกว้างมากขึ้น
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กิตติสันต์ ศรีรักษา. (2553). บ้านวังถั่ว : ภูมิปัญญาที่กำลังจะสูญหาย. วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2(1), 163-179.
จิติมา จันพรม. (2558). เครื่องปั้นดินเผา 'บ้านวังถั่ว' ศิลปะอนุรักษ์-สร้างอาชีพ. สืบค้นเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2565. จาก https://www.komchadluek.net/kom-lifestyle/207693.
ชวลิต การรื่นศรี. (2542). การส่งเสริมและพัฒนาการประกอบอาชีพเครื่องปั้นดินเผา. (บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น).
พรนภัส หารคำ. (2561). ภาวะการเปลี่ยนแปลง: เครื่องปั้นดินเผาบ้านวังถั่ว จ.ขอนแก่น สู่การสร้างสรรค์งานทัศนศิลป์. วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 10(1), 133-161.
สุภาพร อรรถโกมล. (2556). การสร้างสรรค์หัตถกรรมเครื่องปั้นดินเผาไฟต่ำบ้านวังถั่วด้วยการผสมผสานภูมิปัญญาท้องถิ่นให้เหมาะสมกับอุปสงค์ของตลาดปัจจุบัน. (ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี).