การพัฒนา Chatbot สำหรับงานบริการนักศึกษาด้านการกู้ยืมเงินเพื่อการศึกษา (กยศ.) ในมหาวิทยาลัยขอนแก่น
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อออกแบบและพัฒนา Chatbot ของงานบริการนักศึกษาด้านการกู้ยืมเงินเพื่อการศึกษา (กยศ.) ในมหาวิทยาลัยขอนแก่น (2) เพื่อศึกษาระดับความคาดหวังในการออกแบบและพัฒนา Chatbot ของเจ้าหน้าที่ฝ่ายงานบริการนักศึกษาด้านการกู้ยืมเงินเพื่อการศึกษา (กยศ.) และนักศึกษากู้ยืมเงินเพื่อการศึกษา (กยศ.) ในมหาวิทยาลัยขอนแก่น และ (3) เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจของเจ้าหน้าที่และนักศึกษาผู้กู้ยืมเงินเพื่อการศึกษา (กยศ.) ที่มีต่อ Chatbot สําหรับงานบริการนักศึกษาด้านการกู้ยืมเงินเพื่อการศึกษา (กยศ.) ในมหาวิทยาลัยขอนแก่น การวิจัยครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย มีกลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้ใช้บริการ Chatbot ได้แก่ เจ้าหน้าที่กองพัฒนานักศึกษา ฝ่ายงานบริการกู้ยืมเงินเพื่อการศึกษา (กยศ.) มหาวิทยาลัยขอนแก่น และนักศึกษาผู้กู้ยืมเงินเพื่อการศึกษา (กยศ.) มหาวิทยาลัยขอนแก่น จำนวน 365 คน ผลการศึกษาพบว่า Chatbot สามารถลดภาระหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ และสามารถให้บริการแก่นักศึกษาผู้กู้ยืมเงินเพื่อการศึกษาได้อย่างทั่วถึง ภายในเวลาอันรวดเร็ว อย่างไรก็ดี Chatbot สำหรับงานบริการนักศึกษา ด้านการกู้ยืมเงินเพื่อการศึกษา ยังไม่สามารถตอบสนองต่อคำถามของนักศึกษาที่ซับซ้อนได้ เนื่องจากการทำงานของ Chatbot เปรียบเสมือนการเข้าไปช่วยเหลือ และแบ่งเบางานของเจ้าหน้าที่ ไม่ได้เป็นการแทนที่เจ้าหน้าที่ ทั้งนี้ Chatbot สำหรับงานบริการนักศึกษา ด้านการกู้ยืมเงินเพื่อการศึกษา ที่พัฒนาขึ้น มีความคาดหวังในการออกแบบและพัฒนา Chatbot อยู่ในระดับมากที่สุด และความพึงพอใจที่มีต่อ Chatbot อยู่ในระดับมากที่สุดเช่นเดียวกัน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2551). การวิเคราะห์สถิติ สถิติสําหรับบริหารและวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พิชชาพร คำทำ, และ ประศาสตร์ บุญสนอง. (2564). แชทบอทสำหรับการบริการข้อมูลด้านสุขภาพ. ใน การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับชาติด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ครั้งที่ 4 (หน้า 39-44). พิษณุโลก: คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.
เพ็ญแข แสงแก้ว. (2541). การวิจัยทางสังคมศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
วิสิฏฐา ชุนสิทธิ์ และ รังสรรค์ เกียรติ์ภานนท์. (2564). การออกแบบแชทบอทให้บริการลูกค้าเพื่อรองรับการขยายตลาดด้วยการตลาดดิจิทัล กรณีศึกษา บริษัท ฟอร์มูลา ทีเคดี จำกัด. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 15(3), 107-120.
สุมนา บุษบก, ณัฐพร เพ็ชรพงษ์ และ จีรนุช สิงโตแก้ว. (2563). การพัฒนาแอปพลิเคชัน Chatbot สําหรับงานบริการนักศึกษากรณีศึกษากองพัฒนานักศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, 19(2), 85-94.
สุรชาติ บัวชุม และ ภัทรมน กล้าอาษา. (2563). การพัฒนาแอปพลิเคชันในรูปแบบแชทบอทบริการแนะนำสถานที่ท่องเที่ยวโดยเชื่อมโยงข้อมูลกับผลิตภัณฑ์ชุมชน จังหวัดชัยนาท. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม, 17(1), 51-62.
Conbach, Lee J. (1974). Essentials of Psychological Testing. New York: Harper and Row.
Krejcie, R.V., & D.W. Morgan. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement. 30(3), 607–610.
Okeke, K. (2017). 5 Ways Businesses Will Benefit from Chatbots. Retrieved 2 January 2023. from https://chatbotslife.com/5-ways-businesses-will-benefit-from-chatbots887057abfcb6.
Suthar, S. (2017). How Chatbots Help Businesses Improve Customer Service. Retrieved 2 January 2023. from https://chatbotsmagazine.com/how-chatbot-helps-businesses-improvecustomer-service-121530ebe60f.
Tan, W. K. (2017). The relationship between smartphone usage, tourist experience and trip satisfaction in the context of a nature-based destination. Telematics and Informatics, 34(2), 614–627.