การพัฒนาคุณภาพชีวิตด้วยเศรษฐกิจพอเพียง ในพื้นที่ชุมชนบ้านในเมือง หมู่ที่ 12 ตำบลละงู อำเภอละงู จังหวัดสตูล
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง (2) เพื่อศึกษาการดำเนินงานตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง และ (3) เพื่อศึกษาแนวทางการส่งเสริมการทำเกษตรแบบพอเพียง การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญและเลือกแบบเจาะจง จำนวน 13 คน ประกอบด้วย กลุ่มเกษตรกรในชุมชนบ้านในเมือง ปราชญ์ชาวบ้านและหน่วยงานภาครัฐที่ให้การส่งเสริมและสนับสนุนการทำเกษตร เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์และแบบสังเกต ใช้วิเคราะห์เพื่อเชื่อมโยงปัญหาตามวัตถุประสงค์การวิจัยและนำเสนอผลการวิจัย ผลการศึกษาพบว่า การพัฒนาคุณภาพชีวิตตามเศรษฐกิจพอเพียงบ้านในเมือง มีการลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือนด้วยการปลูกหรือเลี้ยงไว้กินเอง และยังมีการเพิ่มรายได้จากการจำหน่ายผลผลิตที่เหลือจากการบริโภค และมีการนำความรู้จากศูนย์เรียนรู้ต่างๆ มาปรับใช้ในการทำเกษตรแบบพอเพียง การดำเนินงานตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง มีการนำความรู้จากหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นแนวทางในการดำเนินงานในด้านการทำเกษตร และมีการรวมกลุ่มแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เช่น การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ เพื่อให้เกิดแนวทางใหม่ๆ และเป็นการสร้างแรงจูงใจในการทำเกษตรแบบพอเพียง เพื่อนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการทำเกษตรให้เกิดประโยชน์และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และแนวทางการส่งเสริมการทำเกษตรแบบพอเพียงของชุมชนบ้านในมีการส่งเสริมให้ชาวบ้านได้เข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมอาชีพเกษตรตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง ให้มีการปลูกพืชผักสวนครัว เลี้ยงสัตว์ไว้กินเองที่เหลือก็นำไปขายเพื่อเพิ่มรายได้เข้ามาในครอบครัว และส่งเสริมให้ชาวบ้านรู้จักประหยัดอดออม ได้ทำบัญชีครัวเรือน เพื่อนำมาวางแผนชีวิตและจัดการค่าใช้จ่ายได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กนกวรรณ จิตรโรจนรักษ์ และ มณฑล สรไกรกิติกุล. (2559). คุณภาพชีวิตในการทำงาน : แรงงานต่างด้าวที่ทำงานรับใช้ในบ้าน. วารสารวิจัยสังคม, 39(2), 139-176.
คณะอนุกรรมการการส่งเสริมการขับเคลื่อนการพัฒนาตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในภาคการเกษตรและชนบท สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (กปร.). (2558). คู่มือการขับเคลื่อนการพัฒนาตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในภาคการเกษตรและชนบท และด้านความมั่นคง. กรุงเทพฯ :การส่งเสริมการขับเคลื่อนการพัฒนาตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในภาคการเกษตรและชนบท สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (กปร.).
ชัยพล ดิษฐอั๊ง. (2559). การพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองกินเพล อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 12(1), 256-283.
ชาตรี มณีโกศล, สุพจน์ บุญแรง, ธัญวรรณ ศรีเดชะกุล, ปิลันะสุทธิ์ สุวรรณเลิศ และ นักสิทธิ์ ปัญโญใหญ่. (2564). โครงการสวนเกษตรครูน้อยตามรอยพ่อ : นวัตกรรมการพัฒนานักศึกษาครูบนพื้นฐานเกษตรทฤษฎีใหม่และเศรษฐกิจพอเพียง. วารสารพิฆเนศวร์สาร, 17(1), 2-11.
ชุมพร ฉ่ำแสง, อุมาพร เคนศิลา, นัยนา ตั้งใจดี และ กิตติพงษ์ คงสมบูรณ์. (2555). ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของบุคลากรฝ่ายการพยาบาล ศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: คณะแพทย์ศาสตร์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ณัฏยาณี บุญทองคำ และ สุเทพ ดีเยี่ยม. (2563). การพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีตามหลังปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงภายใต้ภาวะโรคระบาด โควิด-19. วารสารการบริหารนิติบุคลและนวัตกรรมท้องถิ่น, 6(4), 236-246.
ณิศาชน ปุยเจริญ และ ศันสนีย์ จะสุวรรณ์. (2559). ความสำคัญของคุณภาพชีวิตในการทำงานกับความผูกพันธ์ในองค์กรของบุคลากรในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร สำนักเขตตลิ่งชัน. (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศิลปกร.
ถวัลย์ มาศจรัส. (2550). การจัดการเรียนรู้ตามปรัชญาพระราชทาน “เศรษฐกิจพอเพียง”. กรุงเทพฯ: ธารอักษร.
ทิพย์วัลย์ เรืองขจร. (2554). วิทยาศาสตร์เพื่อคุณภาพชีวิต. สงขลา: วิทยาลัยสงขลา.
ธันยชนก ปะวะละ. (2561). การพัฒนาชุมชนต้นแบบตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงระดับมั่งมี ศรีสุข : กรณีศึกษาบ้านหนองเผือก อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม. วารสารเกษตรพระวรุณ, 15(1), 101-111.
นัดพลพิชัย ดุลยวาทิต และ มนต์ทนา คงแก้ว. (2563). การน้อมนำหลักปรัชญญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติของหัวหน้าครัวเรือน เพื่อยกระดับสู่การเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบกรณีศึกษาตำบลเกาะยอ อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา. วารสารบริหารธุรกิจเทคโนโลยีมหานคร, 17(2), 131-154.
บุญโชติ เกตุแก้ว. (2556). คุณภาพชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและคุณภาพชีวิตในการทำงานของบุคลากรฝ่ายช่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัดเพชรบุรีและจังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วารสารวิชาการคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม, 6(2), 93-105.
ปียะวัฒน์ ตรีวิทยา. (2559). กรอบแนวคิดเกี่ยวกับคุณภาพชีวิต. วารสารเทคนิคการแพทย์เชียงใหม่, 49(2), 171-184.
เปขณางค์ ยอดมณี. (2562). การนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงบนพื้นฐานพุทธศาสนาประยุกต์ใช้ในการจัดการองค์กาธุรกิจ. วารสารมหาจุฬาวิชาการ, 7(1), 266-276.
ภาคภูมิ อินทร์พยุง และ ประณต นันทิยะกุล. (2560). การบริหารจัดการโครงการ 1 ไร่ได้ 1 แสนบาท ของจังหวัดนนทบุรีตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง. (รายงานการวิจัย). ปทุมธานี: สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยอิสเทิร์ทเอเชีย.
ศิรินันท์ กิตติสุขสถิต, เฉลิมพล แจ่มจันทร์, กาญจนา ตั้งชลทิพย์ และ จรัมพร โห้ลำยอง.. (2555). คุณภาพชีวิตการทำงานและความสุข. นนทบุรี: อัพทรูยู ครีเอทนิว.
สาวิตรี รังสิภัทร์ และ อภินัทธ์ แสงตรีเพชรกล้า. (2556). แนวทางการประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการพัฒนาตนเองและครอบครัวของนิสิตคณะเกษตรมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
สำราญ ชูช่วย. (2554). การพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคม. นนทบุรี : วิทยาลัยราชพฤกษ์.
สุเทพ พันประสิทธิ์. (2553). การศึกษาวิธีการผลิตตามแนวเกษตรทฤษฏีใหม่ของเกตรกรภาคกลาง. (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
สุวัฒน์ มหัตนิรันดร์กุล, วิระวรรณ ตันติพิวัฒนสกุล และวนิดา พุ่มไพศาลชัย. (2545). เครื่องชี้วัดคุณภาพขององค์การอนามัยโลกชุดย่อ ฉบับภาษาไทย (WHOQOL – BREF - THAI). เชียงใหม่: โรงพยาบาลสวนปรุง.
อนรรฆ อิสเฮาะ. (2562). คุณภาพชีวิตของประชาชนเขตองค์การบริหารส่วนตำบลสะกอม อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา. (รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์).