ลากรอบหอยราก : แนวทางส่งเสริมผลิตภัณฑ์ขนมลากรอบของกลุ่มอาชีพขนมลา บ้านศรีสมบูรณ์ (หอยราก) หมู่ที่ 2 ตำบลหูล่อง อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยเชิงคุณภาพนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาองค์ความรู้การทำขนมลากรอบ (2) เพื่อวิเคราะห์สภาพปัญหาการทำขนมลากรอบ และ (3) เพื่อเสนอแนวทางส่งเสริมผลิตภัณฑ์ขนมลากรอบ เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ และการสังเกตแบบมีส่วนร่วม คือ กลุ่มผู้ผลิต กลุ่มผู้บริโภค/ตัวแทนจำหน่าย และกลุ่มเจ้าหน้าที่ภาครัฐที่ส่งเสริม รวมทั้งหมด 16 คน และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาด้วยการพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า องค์ความรู้การทำขนมลากรอบ วัตถุดิบหลักของขนมลา คือ แป้งมัน แป้งข้าวเจ้า และน้ำตาล อุปกรณ์ที่สำคัญ ได้แก่ เครื่องตีแป้ง ไม้พับลา กระทะ และกระป๋องเจาะรู การผสมวัตถุดิบจะทำตามสูตรของแต่ละครัวเรือน การทอดขนมลาจะทอดจนขนมลาสุกออกสีเหลืองนวล แล้วนำไปม้วน พร้อมที่จะบรรจุภัณฑ์ต่อไป สภาพปัญหาการทำขนมลากรอบ ได้แก่ ส่วนใหญ่จะเกี่ยวกับราคาวัตถุดิบที่สูงขึ้น การผสมแป้งในอัตราที่มากเกินไป การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่ทำให้ผู้บริโภคลดลง ฉลากสินค้าและโลโก้ที่มีความล่าสมัย รวมทั้งปัญหาในการสืบทอดการทำขนมลากรอบ และแนวทางส่งเสริมผลิตภัณฑ์ขนมลากรอบ ได้แก่ ควรมีการจัดแสดงสินค้า ออกบูธในงานต่างๆ กระตุ้นสินค้าโดยการจัดโปรโมชั่นต่างๆ รวมถึงการส่งเสริมด้านการนำเสนอสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ ส่งเสริมให้ทุกกลุ่มที่ทำขนมลายื่นขอรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
เกษร ผลจำนงค์. (2560). สารทเดือนสิบเมืองคอนฯ กุศโลบายที่แฝงมากับประเพณี ตัวอย่างคติความเชื่อ ภาคใต้ว่าด้วยประเพณีสารทเดือนสิบ ที่ถ่ายทอดผ่านงานศิลปะ. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย, 37(2), 233-248.
จง บุญประชา. (2553). แนวทางการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนประเภทของที่ระลึก (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
ชนาธิป จันทร์เพ็ญ, สิรวิชญ์ ลอยเลื่อน, นาซาเฟีย นาวี และ ภัทรวดี ชูแสง. (2560). โครงงานสะเต็มเรื่องขนมลาจากสีธรรมชาติ. สืบค้น 29 กรกฎาคม 2564. จาก https://sofiag7g.blogspot.com/2018/02/blog-post_12.html?fbclid=IwAR3UbjyRM9RPDf8xeNhFSRUVoCrNn0WFhKDWT9CMkw3XuiHnNcXr4l4wy.
ดาวรถา วีระพันธ์, ศศมล ผาสุข, ปัณณ์รภัส ถกลภักดี และ ธิดารัตน์ กุลณัฐรวงศ์. (2564). ศึกษาสภาพปัญหา และแนวทางส่งเสริมการถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นในเชิงวิทยาศาสตร์ของผลิตภัณฑ์อาหารชุมชนในเขตภาคกลางตอนบน. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 13(1), 156-168.
ทีมวิจัยโครงการการศึกษาและรวบรวมองค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นใต้ วิทยาเขตหาดใหญ่, วิทยาเขตปัตตานี, วิทยาเขตภูเก็ต, วิทยาเขตตรัง และวิทยาเขตสุราษฎร์ธานี. (2550). การศึกษาและรวบรวมองค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นใต้ (รายงานการวิจัย). สงขลา: มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลานครินทร์.
บุญฑวรรณ วิงวอน, วิลาศ พุ่มพิมล, อังคณา เชื้อเจ็ดตน, พูนฉวี สมบัติศิริ, พันสรวง อุดมพุทธิเมฆากุล และ วิภานุช ใบศล. (2563). การขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมด้วยการสร้างข้อกำหนดเฉพาะผลิตภัณฑ์สมุนไพรตรีผลาของชมรมรักษ์สมุนไพร ตำบลแจ้ซ้อน อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง. วารสารสังคมศาสตร์วิชาการ, 13(1), 148-164.
ประภัสสร พิริยะเพียรพรรณ. (2560). การทำขนมลากรอบ. สืบค้น 26 กรกฎาคม 2564. จาก http://cddata.cdd.go.th/cddkm/prov/km1_viewlist.php?div=49&action=view&kid=6425.
ประสิทธิ์ รัตนมณี. (2551). วัดมุจลินทวาปีวิหาร : การประกวด หฺมฺรับ และแข่งขันปีนร้านเปรต. วารสารรูสมิแล มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี, 29(3), 17-24.
พงศ์ประสิทธิ์ อ่อนจันทร์. (2555). การทำขนมลา : วิถีชีวิตและภูมิปัญญาชุมชน. สืบค้น 29 กรกฎาคม 2564. จาก https://www.gotoknow.org/posts/386679?fbclid=IwAR3PeprLg305hMf0guuv1wvie68B5N5UsvmzjXFynbvT2jYcGLMn6j9TiZE.
พิราภรณ์ พันธุ์มณี. (2560). ท่ารำเซิ้งกระติบข้าวชาวหนองโน โอทอปมหาสารคามจากวิธีหัตถกรรมการจักสานสู่ท่ารำนาฏศิลป์พื้นบ้านอีสานสร้างสรรค์. วารสารช่อพะยอม, 28(2), 186-193.
มณีรัตน์ รัตนพันธ์. (2556). ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อขนมลากรอบ : กรณีศึกษาจังหวัดสงขลา (รายงานผลการวิจัย). สงขลา: คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
ศักดิ์ชาย เพ็ชรศรีทอง, อุดมศักดิ์ เดโชชัย, จิตติมา ดํารงวัฒนะ และ เดโช แขน้ำแก้ว. (2564). แนวทางส่งเสริมอาชีพแปรรูปผลิตภัณฑ์กล้วยฉาบของเกษตรกรรายย่อย บ้านหน้าเขา อำเภอเขาพนม จังหวัดกระบี่. วารสารสังคมศาสตร์และวัฒนธรรม, 5(1), 33-46.
สุดถนอม ตันเจริญ. (2561). แนวทางการพัฒนาคุณภาพสินค้า OTOP ของวิสาหกิจชุมชน อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง, 7(2), 155-166.
สุดาวรรณ์ มีบัว. (2551). ประเพณีบุญสารทเดือนสิบเมืองนคร. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์, 9(2), 220-229.
สุนิษา กลิ่นขจร. (2558). การพัฒนาศักยภาพวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผลิตภัณฑ์ลูกประคบสมุนไพร บ้านเขานาใน ตำบลต้นยวน อำเภอพนม จังหวัดสุราษฏร์ธานี. Veridian E-Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์และศิลปะ, 8(2), 2643-2655.
อาทิตยา ปะทิเก และ วรรัตน์ ปทุมเจริญวัฒนา. (2562). การวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ในการแก้ปัญหาการจัดการผลผลิตของกลุ่มเกษตรกร. Veridian E-Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์และศิลปะ, 12(2), 477-497.