การจัดการขยะ โดยศูนย์การเรียนรู้ชุมชนปลอดขยะ zero waste หมู่บ้านหัวถนน ตำบลพระลับ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาเรียนรู้การจัดการขยะในชุมชนบ้านหัวถนน และ (2) เพื่อศึกษาโครงสร้างองค์กรชุมชนบ้านหัวถนน การวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลโดยใช้เครื่องมือการวิจัยคือแบบสัมภาษณ์ โดยที่ผู้วิจัยจะทำการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกเป็นรายบุคคล ผลการศึกษาพบว่า การจัดการขยะภายในชุมชนมีการใช้หลัก 3R (Reduce, Reuse, Recycle) ซึ่งสิ่งเหล่านี้สามารถช่วยให้หมู่บ้านหัวถนน ลดปริมาณขยะในชุมชนลงได้ อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับขยะ สร้างรายได้ สร้างความยั่งยืนให้กับชุมชน โดยที่การจัดการเหล่านี้เริ่มต้นมาจากการปลูกฝังให้คนในชุมชน รู้คุณค่า และรู้โทษของขยะ ผ่านการประชาสัมพันธ์ของผู้นำหมู่บ้านและคณะกรรมการหมู่บ้าน ทำให้หมู่บ้านหัวถนนมีชาวบ้านร่วมแรงร่วมใจกันจัดการขยะในชุมชนอย่างถูกต้องเป็นขั้นตอน และการเรียนรู้โครงสร้างองค์กรนั้น ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนปลอดขยะ Zero west ซึ่งเป็นกลุ่มที่เป็นทางการ และมีบทบาทในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ภายในชุมชนให้ปลอดขยะ โดยองค์กรนี้ได้ก่อกำเนิดเพื่อสร้างความมั่นคงในการจัดการขยะอย่างยั่งยืน โดยอาจมีการประสานงานกับบุคคลหรือกลุ่มคนภายนอกได้เพื่อผลประโยชน์ของสาธารณะ และผลประโยชน์ของชุมชนของตนเองบทบาทอย่างมากในการจัดทำกิจกรรมต่างๆ ภายในหมู่บ้าน ถือได้ว่าเป็นการสร้างสัมพันธ์อันดีระหว่างคนในชุมชน, และเป็นตัวกลางสื่อสารกับภาครัฐในเรื่องของการสนับสนุนงบประมาณ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรมควบคุมมลพิษ. (2566). ระบบสารสนเทศด้านการจัดการขยะมูลฝอยชุมชน. สืบค้นเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2566. จาก https://thaimsw.pcd.go.th/report1.php?year=2563.
การจัดการสิ่งแวดล้อม. (2561). ชุมชนหัวถนน จังหวัดขอนแก่น. สืบค้นเมื่อ 7 กันยายน 2565. จาก http://community.onep.go.th/location/ban-hua-tanon-khonkaen/.
ธงชัย ทองทวี. (2553). สภาพปัญหาการจัดการขยะมูลฝอย องค์การบริหารส่วนตำบลหนองขาม อำเภอจักราช จังหวัดนครราชสีมา. (วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยสีุรนารี).
ลลิลพร็อพเพอร์ตี้. (2565). ข้อแนะนำในการแยกขยะ. สืบค้น 2 ธันวาคม 2565. จาก https://www.lalinproperty.com/lalinsociety/type-of-trash-bin/.
สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน). (2563). ปรับ-น่าน-เปลี่ยน จากแผนชุมชนสู่ชุมชนปลอดขยะ (Zero waste). สืบค้น 2 ธันวาคม 2565. จาก https://www.hrdi.or.th/Articles/Detail/101.
อรอุมา รัตนพล, ทัชชวัฒน์ เหล่าสุวรรณ และ ปิยลักษณ์ โพธิวรรณ. (2564). การจัดการขยะในชุมชนเมือง: อำนาจและการมีส่วนร่วมของประชาชน. วารสารการเมืองการปกครอง, 11(3), 184-197.