การศึกษางานนวกรรมในพระพุทธศาสนาเถรวาท

Main Article Content

พระครูปริยัติปัญญารัตน์ (โสภรรณ ธนปญฺโญ/เศรษฐา)

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษางานนวกรรมในพระพุทธศาสนา และ (2) เพื่อเปรียบเทียบงานนวกรรมในสมัยพุทธกาลกับงานนวกรรมของสงฆ์ไทยในสมัยปัจจุบัน เป็นการศึกษาวิจัยเชิงเอกสาร โดยการศึกษาพระไตรปิฎก เอกสารวิชาการทางพระพุทธศาสนา และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ด้วยวิธีพรรณนาวิเคราะห์ ผลการศึกษาพบว่า งานนวกรรมในทางพุทธศาสนา เป็นงานที่เกี่ยวกับการก่อสร้าง เสนาสนะ ซึ่งมีทั้งทรงอนุญาต เช่น วิหาร เรือนมุงแถบเดียว เรือนชั้น เรือนโล้น และถ้า เป็นต้นและไม่ทรงอนุญาต เช่น การสร้างเสนาสนะ มีพื้นที่อันสงฆ์มิได้แสดงที่ให้ก่อน เป็นต้น พัฒนาการของงานนวกรรมที่เกี่ยวกับการสร้างวัดและเสนาสนะในสมัยพุทธกาล เกิดจากความเลื่อมใสศรัทธาของชาวบ้านและวัดมีชื่อเรียกต่างกันไป เช่น อารามบ้าง อาวาสบ้าง วิหารบ้าง วัดใช้เป็นที่อยู่อาศัยของพระสงฆ์ เป็นที่สงเคราะห์ อนุเคราะห์แก่ชาวบ้าน และเป็นศูนย์กลางเผยแผ่พระพุทธศาสนา โดยจุดเด่นมีคฤหบดีเป็นเจ้าภาพ ถวายเพียงผู้เดียว หรือมีการชักชวนผู้อื่นร่วมสร้างด้วย ปัจจุบันวัดยังใช้เป็นสถานที่สงเคราะห์ อนุเคราะห์ และสถานศึกษา นอกจากนี้แล้วยังพบอีกว่า รูปแบบการสร้างเสนาสนะมีการพัฒนาเรื่อยๆ มา ตามยุคสมัยจนถึงปัจจุบันโดยบางแห่งมีการสร้างใหญ่โตเกินความจำเป็น ไม่คำนึงบริบททางสังคมและประโยชน์ของการใช้สอยอย่างคุ้มค่า

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช). (2548). พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ ชุด คำวัด. กรุงเทพฯ: วัดโอรสาราม.

พระธรรมปิฎก (ป. อ. ปยุตฺโต). (2545). พุทธศาสนาจะวิกฤตต้องคิดให้ไกลรู้ให้ทัน. กรุงเทพฯ: มูลนิธิพุทธธรรม.

พระมหาถวิล ปิยธมฺโม (ชนิดพจน์). (2556). การศึกษางานนวกรรมและการเผยแผ่พระพุทธศาสนาด้วยงาน สาธารณูปการของพระครูโสภณบุญเขต (โสม โสภโณ). (พุทธศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).

พระราชวรมุนี (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). (2531). เทคนิคการสอนของพระพุทธเจ้า. กรุงเทพฯ: มูลนิธิพุทธธรรม.

พระสมุห์สายยันต์ วิสารโท (โลหิตดี) และ พระมหามิตร ฐิตปญฺโญ (วันยาว). (2564). พุทธนวัตกรรมในพระพุทธศาสนา: กรณีศึกษาพุทธศิลป์ด้านเสนาสนะ. วารสารปัญญาปณิธาน, 6(2), 15-28.

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สมคิด เพ็งอุดม. (2539). บทบาทของพระสงฆ์ที่มีต่อการพัฒนาตามทรรศนะของพระสงฆ์และเจ้าหน้าที่ของกระทรวงหลักระดับตาบลในจังหวัดสมุทรสงคราม. (ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร).