พฤติกรรมทางการเมืองเชิงพุทธในการใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฏรของกลุ่มชาติพันธุ์ในอำเภอนาจะหลวย จังหวัดอุบลราชธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับพฤติกรรมทางการเมืองในการใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของกลุ่มชาติพันธุ์ในอำเภอนาจะหลวย (2) เปรียบเทียบพฤติกรรมทางการเมืองในการใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของกลุ่มชาติพันธุ์ในอำเภอนาจะหลวย และ (3) ศึกษาแนวทางการส่งเสริมพฤติกรรมทางการเมืองเชิงพุทธในการใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของกลุ่มชาติพันธุ์ ในอำเภอนาจะหลวย จังหวัดอุบลราชธานี โดยประยุกต์ตามหลักสุจริตธรรม การศึกษานี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเชิงปริมาณ ได้แก่ กลุ่มชาติพันธุ์ในอำเภอนาจะหลวย จำนวน 205 คน สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าที และค่าเอฟ และการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ สำหรับการสัมภาษณ์เชิงลึก โดยใช้วิธีเลือกแบบเจาะจง จำนวน 12 รูป/คน ผลการศึกษาพบว่า 1) ระดับพฤติกรรมทางการเมือง ภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) ผลการเปรียบเทียบพฤติกรรมทางการเมืองในการใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของกลุ่มชาติพันธุ์ พบว่า อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน ชาติพันธุ์ และหลักสุจริตธรรม แตกต่างกัน มีพฤติกรรมทางการเมืองแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนเพศต่างกัน มีพฤติกรรมทางการเมืองไม่แตกต่างกัน 3) แนวทางการส่งเสริมพฤติกรรมทางการเมืองเชิงพุทธในการใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของกลุ่มชาติพันธุ์ ประยุกต์ตามหลักสุจริตธรรม พบว่า (1) ควรซื่อสัตย์ต่อกฎระเบียบการไปใช้สิทธิ์และหาข้อมูลการเลือกตั้งเพิ่มเติม (2) ไม่พูดใส่ร้ายกัน นำความรู้มานำเสนอต่อประชาชนควรยึดหลักความจริง (3) หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งต้องให้คำชี้แนะแก่กลุ่มชาติพันธุ์ในการตัดสินใจทางการเมือง
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
งานทะเบียนราษฎรนาจะหลวย จังหวัดอุบลราชธานี. (2567). สถิติประชากร. อุบลราชธานี: งานทะเบียนราษฎรอำเภอนาจะหลวย.
จรัญ ทุมตาลเดี่ยว. (2563). วัฒนธรรมทางการเมืองแบบประชาธิปไตยของนายกองค์การบริหารส่วนตำบล อำเภอพรเจริญ จังหวัดบึงกาฬ. (รัฐศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).
ทรงพล โชติกเวชกุล. (2563). พฤติกรรมของประชาชนในการตัดสินใจใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2562 ในจังหวัดขอนแก่น เขตเลือกตั้งที่ 2. (รัฐศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2561). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS. (พิมพ์ครั้งที่ 18). นนทบุรี. เอส.อาร์. พริ้นติ้ง แมสโปรดักซ์.
พระกันตภณ สิริธมฺโม (ศรีขอ). (2566). วัฒนธรรมการเมืองท้องถิ่นกับพฤติกรรมทางการเมืองของประชาชนในเทศบาลนครขอนแก่น. (รัฐศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).
พระพิเชษฐ ธมฺมธโร (เสริมศักดิ์). (2564). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของภาคประชาสังคมในการปกครองท้องถิ่นในอำเภอซำสูง จังหวัดขอนแก่น. (รัฐศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).
พระมหาเสกสรร ปญฺญาวุฑฺโฒ (จอมมะณี). (2563). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการปกครองของเทศบาลตำบลศรีพนา อำเภอเซกา จังหวัดบึงกาฬ. (รัฐศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).
ภวัต พัฒนนิภากร. (2562). รูปแบบพฤติกรรมทางการเมืองในระดับท้องถิ่นของกลุ่มชาติพันธุ์ในพื้นที่จังหวัดภาคเหนือ ตอนล่าง 1 ภายใต้อิทธิพลของพลวัตทางการเมือง. (รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม).
ศุทธิกานต์ มีจั่น. (2556). พฤติกรรมการเลือกตั้งและทัศนคติเกี่ยวกับการซื้อเสียงของเขตจังหวัดภาคอีสาน : กรณีตัวอย่างจังหวัดมหาสารคาม. วารสารสถาบันพระปกเกล้า, 11(3), 110-128.
สมบัติ จันวงศ์. (2560). เลือกตั้ง วิกฤต ปัญหา และทางออก. กรุงเทพฯ: คบเพลิง.
อิสรีย์ วรกุลชัยศรี. (2566). การมีส่วนร่วมทางการเมืองในการเลือกตั้งทั่วไปของประชาชน กลุ่มชาติพันธุ์อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่. (รัฐศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).
Sekaran, U., & Bougie, R. (2016). Research methods for business: A skill building approach. (7th ed.). Chichester, West Sussex, United Kingdom: John Wiley & Sons.