การบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่มีผลต่อประสิทธิภาพการบริหารงานของสำนักงานเทศบาลตำบลบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ระดับปัจจัยการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของสำนักงานเทศบาลตำบลบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี (2) ระดับประสิทธิภาพการบริหารงานของสำนักงานเทศบาลตำบลบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี และ (3) อิทธิพลของปัจจัยการบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการบริหารงานของสำนักงานเทศบาลตำบลบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ บุคลากรของสำนักงานเทศบาลตำบลบางใหญ่ ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย ด้วยวิธีจับฉลาก จำนวน 81 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ และการทดสอบสมมติฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับปัจจัยการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของสำนักงานเทศบาลตำบลบางใหญ่ โดยรวมอยู่ในระดับมาก 2) ระดับประสิทธิภาพการบริหารงานของสำนักงานเทศบาลตำบลบางใหญ่ โดยรวมอยู่ในระดับมาก และ 3) ปัจจัยการบริหารทรัพยากรมนุษย์มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการบริหารงานของสำนักงานเทศบาลตำบลบางใหญ่ โดยรวมอยู่ในระดับสูงมาก (rxy=.956) โดยผลการวิเคราะห์วิธีการถดถอยพหุคูณการบริหารทรัพยากรมนุษย์มีผลต่อประสิทธิภาพการบริหารงานของสำนักงานเทศบาลตำบลบางใหญ่ มีอำนาจพยากรณ์ร้อยละ 91.50 และผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ปัจจัยการบริหารทรัพยากรมนุษย์ พบว่า มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการบริหารงานของสำนักงานเทศบาลตำบลบางใหญ่ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรกนก พงษ์เสือ, ณฐนนท ทวีสิน และ สุนิตดา เทศนิยม. (2567). ประสิทธิภาพการบริหารทรัพยากรมนุษย์ขององค์การบริหารส่วนตำบลสาลี อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์, 6(1), 295-308.
ณัฐพล อินธิแสง, สัญญาศรณ์ สวัสดิ์ไธสง และ ละมัย ร่มเย็น. (2564). อิทธิพลของการบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่มีต่อประสิทธิภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 1(1), 41-55.
ดวงรัตน์ ธรรมสโรช, มะกือตา หะยีแวสอเหาะ, ซูลกิฟลี สะอิซอมะ มีสา และ รัสรินทร์ ฐิติวัชร์ฐากุล. (2567). ปัจจัยการติดต่อสื่อสารในองค์กรที่ส่งผลต่อกระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของเทศบาลเมืองสระบุรี. วารสารรัชภาคย์, 18(57), 398-414.
ดิเรก ธรรมารักษ์. (2563). ประสิทธิผลการบริหารทรัพยากรมนุษย์ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี (รายงานการวิจัย). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยปทุมธานี.
เดชา ขาลรัมย์. (2564). การบริหารทรัพยากรมนุษย์ขององค์การบริหารส่วนตำบลคูเมือง อำเภอหนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิ. (รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์).
ประยูร พุทธพึ่ง. (2566). ประสิทธิผลการบริหารงานบุคคลขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี. วารสารการบริหารสาธารณะและการบริหารภาคเอกชน, 1(1), 16-22.
ปิยะ กล้าประเสริฐ. (2561). ข้อเสนอเชิงนโยบายในการเตรียมความพร้อมด้านบริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดปทุมธานีในการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 6(4), 1607-1619.
พรศักดิ์ ทรัพย์สมบัติ. (2560). ความต้องการพัฒนาตนเองของบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฎพระนครศรีอยุธยา. (ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง).
ไพโรจน์ สถิรยากร. (2553). การพัฒนารูปแบบฝึกอบรมเทคนิคการสอนงานปฏิบัติในหน่วยงาน. (ครุศาสตร์อุตสาหกรรมดุษฎีบัณฑิต, สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ).
วิลาวรรณ รพีพิศาล. (2554). ความรู้พื้นฐานในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในการบริหารทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพฯ: วิจิตรหัตถกร.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์, สมชาย หิรัญกิตติ และ ธนวรรธ ตั้งสินทรัพย์ศิริ. (2550). การจัดการและพฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพฯ: ธีระฟิล์มและไซเท็กซ์.
สำนักงานเทศบาลตำบลบางใหญ่. (2566). รายงานประจำปี 2566. นนทบุรี: เทศบาลตำบลบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี.
สุภาวดี ขุนทองจันทร์. (2559). การบริหารทรัพยากรมนุษย์อย่างบูรณาการ. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing. (5th ed.). New York: Harper Collins Publishers.
Ivancevich, J. M., & Konopaske, R. (2013). Human resource management. (12th Edition). Boston: McGraw-Hill.
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.