คุณลักษณะที่ส่งผลต่อความตั้งใจในการเป็นผู้ประกอบการธุรกิจสตาร์ทอัพ ของนิสิตระดับปริญญาตรี ในมหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) คุณลักษณะความตั้งใจในการประกอบธุรกิจสตาร์ทอัพของนิสิตมหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี และ (2) ปัจจัยประชากรศาสตร์ที่มีผลต่อคุณลักษณะความตั้งใจในการประกอบธุรกิจสตาร์ทอัพของนิสิตมหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี จำแนกตาม อาชีพของครอบครัว ชั้นปีการศึกษา และคณะที่กำลังศึกษา การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เก็บรวบรวมข้อมูลจากนิสิตในคณะวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์ คณะเทคโนโลยีทางทะเล และคณะอัญมณี จำนวน 295 ตัวอย่าง โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ One-way ANOVA ผลการศึกษาพบว่า 1) นิสิตมีระดับความคิดเห็นต่อคุณลักษณะความตั้งใจในการเป็นผู้ประกอบการธุรกิจสตาร์ทอัพในระดับมาก ด้วยค่าเฉลี่ย 3.79 โดยด้านแรงบันดาลใจในการประกอบธุรกิจ มีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด ด้วยค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.89 รองลงมาคือ ด้านความใฝ่ใจในการเรียนรู้ ด้านความเชื่อมั่นในศักยภาพของตน ด้านความสามารถทางนวัตกรรม และด้านความกล้าเสี่ยง ด้วยค่าเฉลี่ย 3.84 3.79 3.75 และ 3.71 ตามลำดับ และ 2) ปัจจัยประชากรศาสตร์จำแนกตามอาชีพของครอบครัว และชั้นปีการศึกษาที่แตกต่างกันจะมีคุณลักษณะที่ส่งผลต่อความตั้งในการเป็นผู้ประกอบการธุรกิจสตาร์ทอัพแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในส่วนของคณะที่ศึกษาที่แตกต่างกันมีคุณลักษณะที่ส่งผลต่อความตั้งใจในการประกอบธุรกิจสตาร์ทอัพไม่แตกต่างกัน
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรมประชาสัมพันธ์. (2566). โฆษกรัฐบาลเผยนายกฯ ส่งเสริมธุรกิจ Startup และ SME ผ่านการบูรณาการความร่วมมือจากหลายฝ่าย พร้อมเสริมสร้างองค์ความรู้และยกระดับศักยภาพผู้ประกอบการไทย. สืบค้นจาก https://www.prd.go.th/th/content/category/detail/id/39/iid/189535.
กองทะเบียนและประมวลผลการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา. (2567). ระบบบริการการศึกษา. สืบค้นจาก https://reg.buu.ac.th/registrar/stat.asp?avs346537670=.
กิ่งแก้ว ทรัพย์พระวงศ์, ปรัศนีย์ เกศะบุตร และ ปิยวุฒิ ศิริมงคล. (2559). ภูมิหลัง ความสามารถในการสร้างสรรค์ และความสามารถในการเผชิญและฝ่าฟันอุปสรรคที่ส่งผลต่อความตั้งใจเป็นผู้ประกอบการของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยกรุงเทพ. สุทธิปริทัศน์, 30(93), 86-99.
ขวัญกมล ดอนขวา, ปวงปณต สอบขุนทด, วาสนา ทองอยู่, สุไพรินทร์ แน่นอุดร และ แวววิไล เครื่องพาที. (2562). ทัศนคติที่มีผลต่อความตั้งใจในการประกอบธุรกิจ Startup ของนักศึกษาระดับอุดมศึกษาชั้นปีที่ 4 ในจังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 9(2), 81-96.
ฐานเศรษฐกิจ. (2568). "กฎหมายสตาร์ทอัพ" ฉบับแรกไทยบังคับใช้แล้ว เพื่อส่งเสริม-พัฒนาธุรกิจ. สืบค้นจาก https://www.thansettakij.com/business/marketing/616588.
ณฤทธิ์ วรพงษ์ดี. (2560). SET Your Startup Business Guide รู้จักธุรกิจสตาร์ทอัพ. สืบค้นจาก https://research.kpru.ac.th/startupkpru/form/startup_business.pdf.
ประอรพิต กัษฐ์วัฒนา. (2566). NIA จับมือ ม.บูรพา และ 10 หน่วยงาน โชว์พลังความร่วมมือ สร้าง ผู้ประกอบธุรกิจฐานนวัตกรรม (IDEs) ตอบโจทย์การพัฒนาใน EEC. สืบค้นจาก https://www.salika.co/2023/09/24/nia-burapha-university-build-ides-in-eec/.
ภัทรานิษฐ์ สรเสริมสมบัติ. (2563). คุณลักษณะที่ส่งผลต่อความตั้งใจเป็นผู้ประกอบการ ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ (รายงานการวิจัย). เชียงใหม่: กองทุนวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่.
วรวุฒิ พันธาภา และ จิระเสกข์ ตรีเมธสุนทร. (2565). ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ ทัศนคติต่อการเป็นผู้ประกอบการกับคุณลักษณะความเป็นผู้ประกอบการของนักศึกษาสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ในเขตกรุงเทพมหานคร. Southeast Bangkok Journal (Humanities and Social Sciences), 8(1), 19-34.
วันวิสาข์ โชคพรหมอนันต์. (2558). คุณลักษณะของผู้ประกอบการที่มีต่อความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจ ของผู้ประกอบการร้านค้า ในตลาดน้ำดอนหวาย จังหวัดนครปฐม. Veridian E-Journal, Slipakorn University, 8(2), 967-988.
สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน). (2567). สตาร์ทอัพ/สมาร์ทเอสเอ็มอี/กิจการเพื่อสังคม. สืบค้นจาก https://www.nia.or.th/segment/startup-social-enterprise.
อนุวัต สงสม. (2566). โมเดลความตั้งใจที่จะเป็นผู้ประกอบการของนิสิตระดับปริญญาตรีคณะเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยทักษิณ. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 10(1), 210-226.
อโนทัย พลภาณุมาศ และ เขมิกา ธนธำรงกุล. (2567). คุณลักษณะที่ส่งผลต่อความตั้งใจเป็นผู้ประกอบการของนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาตาก. วิทยาการจัดการวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์, 5(1), 68-83.
อาทร พร้อมพัฒนภัค. (2562). การพัฒนาความตั้งใจในการเป็นผู้ประกอบการและบุคลิกความเป็นผู้ประกอบการของนักศึกษาปริญญาตรีไทยหลักสูตรการเป็นเจ้าของกิจการ. BU Academic Review, 18(1), 98-113.
Ebel, R. L., & Frisbie, D. A. (1991). Essentials of Educational Measurement. (5th ed.). Englewood Cliffs: Prentice Hall.
Rovinelli, R. J., & Hambleton, R. K. (1977). On the use of content specialists in the assessment of criterion referenced test item validity. Dutch Journal of Educational Research, 2, 49-60.
Yamane, T. (1967). Statistics: An Introductory Analysis. (2nd ed.). New York: Harper & Row.