การบริหารจัดการธุรกิจสหกรณ์ในยุคเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลง: กรณีศึกษา ชุมนุมสหกรณ์ออมทรัพย์แห่งประเทศไทย จำกัด (ชสอ.)

Main Article Content

อรพรรณ เฉลิมสุข
พิมพ์พร โสววัฒนกุล

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาลักษณะของเทคโนโลยีที่ส่งผลต่อการดำเนินธุรกิจของ ชุมนุมสหกรณ์ออมทรัพย์แห่งประเทศไทย จำกัด (ชสอ.) (2) วิเคราะห์การบริหารจัดการองค์กรด้านเทคโนโลยีของ ชสอ. และ (3) วิเคราะห์รูปแบบของเทคโนโลยีที่สำคัญต่อการดำเนินธุรกิจของ ชสอ. การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง จากผู้เกี่ยวข้อง 20 คน และนำมาวิเคราะห์เนื้อหาร่วมกับการตรวจสอบสามเส้า ผลการศึกษาพบว่า 1) ลักษณะเทคโนโลยีในปัจจุบันส่งผลต่อการบริหารจัดการด้านเทคโนโลยีของ ชสอ. ได้แก่ เทคโนโลยีด้านระบบรักษาความปลอดภัย เทคโนโลยีระบบธุรกิจอัจฉริยะ เทคโนโลยีการทำงานระยะไกล และเทคโนโลยีการสื่อสาร 2) ในการบริหารจัดการองค์กรภายใต้แนวคิด McKinsey 7S Framework ของ ชสอ. ควรมุ่งเน้นพัฒนาบุคลากร ฝึกอบรมทักษะเทคโนโลยี สร้างวัฒนธรรมองค์กรที่เชื่อมั่นและให้ความสำคัญกับเทคโนโลยี กำหนดโครงสร้างและระบบที่เหมาะสมกับการใช้งาน รวมทั้งความรู้และเข้าใจเทคโนโลยีเพื่อตัดสินใจของผู้นำองค์กร และ 3) รูปแบบเทคโนโลยีที่ควรพัฒนาเพื่อเสริมสร้างศักยภาพการดำเนินธุรกิจ ได้แก่ (1) เทคโนโลยีที่ปกป้องข้อมูลทางการเงิน (2) เทคโนโลยีวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจ (3) เทคโนโลยีที่ช่วยให้บุคลากรทำงานยืดหยุ่น และ (4) เทคโนโลยีการสื่อสารที่ดี เพื่อให้ธุรกิจพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้องค์กรสามารถปรับตัวได้อย่างรวดเร็วในอนาคต ผลการการวิจัยนี้สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการวางแผนการบริหารจัดการธุรกิจสหกรณ์ ส่งผลให้เกิดความทันสมัยและความคล่องตัว ลดความเสี่ยงเพิ่มความปลอดภัยในกระบวนการดำเนินงาน อีกทั้งยังช่วยเสริมสร้างกลยุทธ์การบริหารจัดการด้านเทคโนโลยีให้คณะกรรมการสามารถตัดสินใจเชิงนโยบายได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Article Details

How to Cite
เฉลิมสุข อ., & โสววัฒนกุล พ. (2025). การบริหารจัดการธุรกิจสหกรณ์ในยุคเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลง: กรณีศึกษา ชุมนุมสหกรณ์ออมทรัพย์แห่งประเทศไทย จำกัด (ชสอ.). Journal of Spatial Development and Policy, 3(1), 1–14. สืบค้น จาก https://so16.tci-thaijo.org/index.php/JSDP/article/view/1354
บท
บทความวิจัย

References

กรณี ดำหนูไทย. (2566). การศึกษาความสามารถด้านดิจิทัลของบุคลากรในสังกัดสำนักงาน อธิบดีผู้พิพากษาภาค 4. (รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น).

กรมส่งเสริมสหกรณ์. (2559). แผนยุทธศาสตร์ กรมส่งเสริมสหกรณ์ 20 ปี. กรุงเทพฯ: กองแผนงาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

กรมส่งเสริมสหกรณ์. (2565). แผนพัฒนาสหกรณ์ฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2566-2570). กรุงเทพฯ: กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

จีรนันท์ พรหมมา, อุทิศ พงษ์จิรวัฒนา และ นิติพงษ์ ส่งศรีโรจน์. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่กับประสิทธิภาพการดำเนินงานของธุรกิจอุตสาหกรรมอาหารในประเทศไทย. วารสารการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 11(1), 67-75.

ชุมนุมสหกรณ์ออมทรัพย์แห่งประเทศไทย จำกัด. (2566). แผนบริหารความเสี่ยงสหกรณ์ออมทรัพย์ ตามเกณฑ์มาตรฐานการบริหารจัดการสหกรณ์ออมทรัพย์ (ฉบับปรับปรุง) พ.ศ. 2566. สืบค้นจาก http://www.fsct.com/plan2_coop/riskplan_2566.pdf.

ทองน้ำ วรมหัทธนกุล, กานต์จิรา ลิมศิริธง และ บุรินทร์ สันติสาส์น. (2565). การเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลต่อการพัฒนารูปแบบธุรกิจธนาคารในประเทศไทย. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยธนบุรี, 16(2), 147-157.

บริษัท ดิทโต้ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน). (2565). 7 ผลลัพธ์จากการทำ Digital Transformation ในองค์กร. สืบค้นจาก https://www.dittothailand.com/dittonews/7-outcomes-of-digital-transformation/.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่10). กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

รชฏ เลียงจันทร์. (2565). เทคโนโลยีบล็อกเชนในภาคธนาคาร. สืบค้นจาก https://www.krungsri.com/th/research/research-intelligence/blockchain-and-application.

รสสุคนธ์ สุวรรณกูฏ, อภิ คำเพราะ, นิสากร พุทธวงศ์, ณัฐกฤตา ศรีเมือง และ ภัทรอร ดวงมาลัย. (2566). ผลกระทบของความสามารถของระบบธุรกิจอัจฉริยะที่มีต่อความได้เปรียบทางการแข่งขัน และผลการดำเนินงานขององค์กร: หลักฐานเชิงประจักษ์จากบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม, 13(3), 95-108.

รุ่งรัตน์ พลชัย. (2563). ภาวะผู้นำกับการบริหารในยุคดิจิทัล. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มมร. วิทยาเขตอีสาน, 1(3), 53-62.

ศรุตน์ อมรชัยนนท์. (2563). การศึกษาผลกระทบของ Social Media ต่ออุตสาหกรรมค้าปลีก กรณีศึกษาจากย่านการค้าแห่งหนึ่ง. (การจัดการมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหิดล).

เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ. (2563). DISRUPTION Part 3. กรุงเทพฯ: สำนักงาน กสทช.

สายพิณ ปั้นทอง. (2563). กลยุทธ์การจัดการรูปแบบการทำงานเพื่อพัฒนาสู่องค์กรใหม่. ใน งานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 12 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม, 9-10 กรกฎาคม 2563 (น. 1400-1407). นครปฐม: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.

สุขุม ฉินนะโสต และ วิจิตรา ศรีสอน. (2565). การศึกษาการจัดการความร้ดู้านระบบสารสนเทศเพื่อพัฒนาองค์กรของวิทยาลัยการทัพบก. วารสารรัฐศาสตร์รอบรู้และสหวิทยาการ, 5(5), 131-145.

สุรพงษ์ คงสัตย์ และ ธีรชาติ ธรรมวงค์. (2561). ความหมายที่แท้จริงของค่า IOC. สืบค้นจาก https://www.mcu.ac.th/article/detail/14329.

เสกสันต์ พันธุ์บุญมี. (2563). Digital Transformation จาก New Normal สู่ Next Normal. สืบค้นจาก https://www.depa.or.th/th/article-view/digital-transformation-new-normal-next-normal.

Bashayreh, A. (2022). Assessing the Impact of Remote Working, Work-Life Balance, and Organizational Commitment on Employee Productivity Work-Life Balance, and Organizational Commitment on Employee Productivity. European Academic Research, 10(4), 1521-1538.

Macmillan, T. T. (1971). The Delphi Techniqu. Washington, D.C.: Santa Barbara City Schools.

Patton, M. Q. (1999). Enhancing the Quality and Credibility of Qualitative Analysis. Health Services Research, 35(5), 1189-1208.

Peters, T. J., & Waterman, R. H. (1970). In search of excellence. New York: Harper & Row.