การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ผลิตภัณฑ์ผ้าไหมมัดหมี่ วิสาหกิจชุมชนผลิตภัณฑ์หม่อนไหมบ้านใหม่ไทยพัฒนา ตำบลหนองตะเคียนบอน อำเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว โครงการยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนยั่งยืนสู่แพลตฟอร์มออนไลน์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ของผลิตภัณฑ์ผ้าไหมมัดหมี่วิสาหกิจชุมชนผลิตภัณฑ์หม่อนไหมบ้านใหม่ไทยพัฒนา ตำบลหนองตะเคียนบอน อำเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว และ (2) เพื่อศึกษาการทำการตลาดผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ผลิตภัณฑ์ผ้าไหมมัดหมี่ ตำบลหนองตะเคียนบอน อำเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างเป็นเครื่องมือการวิจัย โดยมีกลุ่มเป้าหมาย คือ ประธานและสมาชิกกลุ่มทอผ้าบ้านใหม่ไทยพัฒนา ตำบลหนองตะเคียนบอน อำเภอเมือง จังหวัดสระแก้ว ที่มาจากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) รวมจำนวน 10 คน แล้วนำข้อมูลที่รวบรวมได้จากการสัมภาษณ์และเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องมาวิเคราะห์ข้อมูล โดยการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา (Content Analysis) พร้อมทั้งตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข้อมูลแบบสามเส้า (Data Triangulation) ผลการวิจัย พบว่า 1) ผู้ผลิตและผู้บริโภคต้องการบรรจุภัณฑ์ที่มีความสวยงามตามยุคสมัย ใช้วัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และสามารถป้องกันความเสียหายได้ดี ผู้วิจัยจึงได้ออกแบบบรรจุภัณฑ์ของผลิตภัณฑ์ผ้าไหมมัดหมี่ให้มีลักษณะเป็นกล่องสีน้ำเงินที่มีการนำเอาลวดลายของการทอผ้ามาเป็นส่วนหนึ่งบนองค์ประกอบของกล่องบรรจุภัณฑ์เพื่อสื่อถึงเอกลักษณ์ที่เป็นลวดของของผ้าไหมมัดหมี่ พร้อมทั้งระบุองค์ประกอบของสินค้าอย่างชัดเจน 2) การทำการตลาดผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ ได้แก่ แพลตฟอร์ม Facebook และแพลตฟอร์ม TikTok พบว่า สามารถสร้างการมีส่วนร่วมระหว่างผู้ผลิตและผู้บริโภคได้อย่างมีประสิทธิภาพ จากการเปรียบเทียบจำนวนผู้ติดตามก่อนและหลังการดำเนินการพบว่า การพัฒนาการตลาดบนแพลตฟอร์ม Facebook มีการเข้าถึงเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 150 บนแพลตฟอร์ม TikTok มีการเข้าถึงเพิ่มขึ้นของผู้ติดตามถึงร้อยละ 36.9 แสดงให้เห็นว่าการใช้สื่อสังคมออนไลน์สามารถส่งเสริมการตลาดของผลิตภัณฑ์ชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กุลชญา กุลถิรวงศ์, ชินรัตน์ สมสืบ และ ศิริพงค์ บัวแดง. (2566). การส่งเสริมผลิตภัณฑ์ชุมชนด้วยกลยุทธ์การตลาดออนไลน์ของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอําเภอสะบ้าย้อยจังหวัดสงขลา. วารสารศิลปะศาสตร์ (วังนางเลิ้ง) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร, 3(1), 108-123.
ชัชวาลย์ หลิวเจริญ. (2563). กลยุทธ์ และ ตัวชี้วัดประสิทธิผลการตลาดเนื้อหาบนสื่อออนไลน์ของธุรกิจในประเทศไทย. (นิเทศศาสตรดุษฎีบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย).
ฑิตยา ตันเจริญ. (2561). อิทธิพลของสีบรรจุภัณฑ์ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อข้าวกล่องพร้อมรับประทาน. (นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).
บุษรา สร้อยระย้า, ชมภูนุช เผื่อนพิภพ, ดวงกมล ตั้งสถิตพร, อัชชา ศิริพันธุ์ และ ประพาฬภรณ์ ธีรมงคล. (2556). การพัฒนาบรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมจากเส้นใยกล้วยสำหรับบรรจุภัณฑ์อาหารสำเร็จรูป. RMUTP Research Journal, 7(1), 9-24.
ปรารถนา ศิริสานต์, ณิชกานต์ จูนก, เทียนชัย ชื่นบางบ้า และ พรญาณี เขียวบ้านยาง. (2562). การพัฒนาบรรจุภัณฑ์กล้วยแปรรูปตำบลหนองตูม อำเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย. วารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรมและวิศวกรรมมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 1(1), 63-76.
พิทยุช ญาณพิทักษ์. (2566). อิทธิพลของการตลาดออนไลน์ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์. Interdisciplinary Academic and Research Journal, 3(6), 1005–1020.
รดามณี พัลลภชนกนาถ, นวพร ฝอยพิกุล, สุรัตน์ หงษ์ ไทย และ เอกชัย ปานมาก. (2566). การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ข้าวของกลุ่มโรงสีข้าวชุมชนโดยตำบลหมื่นไว อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 14(1), 98-131.
ศุภชัย เขว้าชัย. (2562). ผ้าไหมไทย: ศิลปะและวัฒนธรรม. วารสารศิลปะและวัฒนธรรม, 5(4), 112-125.
สมาภรณ์ นวลสุทธิ์, สุจินดา พรหนมขำ และ บำรุง ศรีนวลปาน. (2567). การพัฒนาแพลตฟอร์มการตลาดออนไลน์เพื่อยก ระดับผลิตภัณฑ์ชุมชน. Journal of Roi Kaensarn Academi, 9(7), 1376-1391.
สุรัสวดี ศิริปัญญา และ ปิยะมาศ สื่อสวัสดิ์วณิชย์. (2566). ทัศนคติและความพึงพอใจในการจัดการโซ่อุปทานสีเขียว กรณีใช้บรรจุภัณฑ์เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมแทนการใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกชนิดใช้ครั้งเดียวที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้ออาหารและเครื่องดื่มในกรุงเทพมหานคร. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม, 10(1), 55–66.
อรทัย สายสะอาด. (2566). การผลิตผ้าไหมมัดหมี่: แนวทางสู่ความยั่งยืน. วารสารการพัฒนาที่ยั่งยืน, 12(1), 54-67.
อัจฉรา เมฆสุวรรณ, ไพลิน ศิริกาญจนากุล และ จิราภรณ์ ธัญวัลย์. (2566). การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการผ่านสื่อดิจิทัล ที่มีต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางออนไลน์ของผู้บริโภคในประเทศไทย. วารสารนวัตกรรมธุรกิจการจัดการและสังคมศาสตร์, 4(2), 13-26.
Ibex. (2024). Facebook statistics. Ibex. Retrieved 19 December 2024. from https://www.ibex.co.th/th/facebook-statistics/.
Woodward, M. (2024). TikTok user statistics. Search Logistics. Retrieved 19 December 2024. from https://www.searchlogistics.com/learn/statistics/tiktok-user-statistics/.