สวัสดิการแรงงานและคุณภาพชีวิตในการทำงาน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การจัดสวัสดิการแรงงานเป็นสิ่งสำคัญที่มีความจำเป็นต่อคุณภาพชีวิตในการทำงานของมนุษย์ การทำงานเพื่อความปรารถนาที่จะให้งานของตนเองก้าวหน้า มีประสิทธิภาพและเกิดผลสัมฤทธิ์ต่อองค์กร ต่อสังคม และครอบครัวโดยส่วนรวม บุคคลที่มีการพัฒนาตนเองอยู่ตลอดเวลานั้นจะมีความพร้อมต่อการแข่งขัน และจะเป็นบุคคลที่พร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา หน่วยงานหรือองค์กรที่มีบุคลากรเหล่านี้ก็จะมีความเจริญก้าวหน้าไปด้วย และการทำงานในองค์กรภาคราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือภาคเอกชน ต่างก็ตระหนักถึงการปรับเปลี่ยนกระบวนการหรือวิธีการทำงานเพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล กลยุทธ์ในการสร้างความสำเร็จในการทำงาน หรือเทคนิคการพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงาน ตลอดจนการทำงานอย่างไรให้มีความสุข องค์กรทั้งหลายต่างก็มีความคิดเห็นตรงกันว่า องค์กรจะมีความเจริญก้าวหน้าหรือพัฒนาไปสู่ความเป็นเลิศได้นั้น สิ่งสำคัญประการหนึ่งอยู่ที่ผู้ปฏิบัติงานมีคุณภาพและสามารถทำงานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ส่วนคุณภาพชีวิตในการทำงาน อาจกล่าวได้ว่า งานคือชีวิต ชีวิตคืองาน หากงานดีชีวิตก็จะดีตาม หากขาดงานก็คือขาดชีวิต งานจึงเป็นกุญแจสำคัญที่จะนำไปสู่ความสุข กำลังใจ ความหวังและพลังในการทำงานในองค์การให้มีประสิทธิภาพได้ เมื่อองค์การมีประสิทธิภาพ องค์การก็จะอยู่รอดและเติบโตก้าวหน้า และเกิดความยั่งยืนในการพัฒนาองค์การ
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน. (2550). คู่มือการปฏิบัติงานเจ้าหน้าที่ด้านการส่งเสริมการจัดสวัสดิการแรงงาน. ประจำปีงบประมาณ 2550. กรุงเทพฯ: กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน.
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน. (2550). โครงการศึกษาวิจัยรูปแบบและแนวทางการส่งเสริมการจัดสวัสดิการแรงงาน สำหรับแรงงานในงานเกษตรกรรม (รายงานฉบับสมบูรณ์). กรุงเทพฯ: กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน.
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน. (2552). โครงการศึกษาวิจัยรูปแบบการจัดสวัสดิการแรงงานที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทย (รายงานฉบับสมบูรณ์). กรุงเทพฯ: กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน.
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2549). ทิศทางและรูปแบบการจัดสวัสดิการสังคมของประเทศไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: เทพเพ็ญวานิสย์.
กระทรวงแรงงาน. (2550). อนุสัญญาด้านแรงงาน. สืบค้นจาก http://www.mol.go.th/international_02.html.
กริช สืบสนธิ์. (2537). วัฒนธรรมและพฤติกรรมการสื่อสารภายในองค์กร. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ณัฏฐพันธ์ เขจรนันทน์. (2551). พฤติกรรมองค์กร. กรุงเทพฯ: วีพริ้นท์ (1991).
ธนินท์รัฐ ใจสอาดพัฒนพร. (2555). คุณภาพชีวิตในการทางานของบุคลากรปฏิบัติการบริษัทผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์แห่งหนึ่งในจังหวัดปทุมธานี. (รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา).
นพดล บุญช่วย. (2564). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบสวัสดิการ คุณภาพชีวิตในการทำงาน และความผูกพันของบุคลากรที่ปฏิบัติงานในสำนักงานใหญ่ของธนาคารพาณิชย์แห่งหนึ่ง เขตยานนาวา กรุงเทพฯ. (บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).
นภาพร อติวานิชยพงศ์. (2550). แรงงานภาคอุตสาหกรรมกับการเรียนรู้และต่อสู้เพื่อสวัสดิการ. กรุงเทพฯ: เอดิสันเพรส โปรดักส์.
ผจญ เฉลิมสาร. (2555). คุณภาพชีวิตการทำงาน. สืบค้นจาก http://www.society.go.th/article_attach.
พิชิต พิทักษ์เทพสมบัติ. (2552). ความพึงพอใจในงานและความผูกพันต่อองค์การ: ความหมายทฤษฎี วิธีวิจัย การวัดและงานวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : เสมาธรรม.
พิเชษฐ์ สอนศิริ. (2553). การให้คุณค่ากับสวัสดิการพนักงานของบริษัท กรุงไทยการไฟฟ้าจำกัด. (สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).
สถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (องค์การมหาชน). (2567). คุณภาพชีวิตในการทำงาน (Quality of Working life). สืบค้นจาก https://www.tosh.or.th/index.php/blog/item/475-quality-of-working-life.
สุรางค์รัตน์ วศินารมณ์. (2540). สวัสดิการในองค์กร: แนวคิดและวิธีการบริหาร. กรุงเทพฯ: เม็ดทรายพริ้นติ้ง.
Flippo, E. B. (1970). Principle of Personnel Management. New York: Mc Graw-Hall Inc
K. N. Vaid. (1970). Labour Welfare in India. New Delhi: Shri Ram Centre for Industrial Relations.
Walton, R. E. (1973). Quality of working life: What is it?. Slone Management Review, 15, 12-18.
Yoder, D. (1982). Personnel Management and Industrial Relation. (7th Ed.). Englewood Cliffs: Prentice Hall.