ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านใหม่ อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี

Main Article Content

ธนชัย แก้วน้อย
ณฐนนท ทวีสิน
ธีรพล กาญจนากาศ
สมคิด ดวงจักร์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ปัจจัยและประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านใหม่ (2) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยกับประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านใหม่ อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ บุคลากรขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านใหม่ ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย ด้วยวิธีบังเอิญ จำนวน 113 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณและการทดสอบสมมติฐาน ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านใหม่ โดยรวมอยู่ในระดับมาก ประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านใหม่ โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง และความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยกับประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านใหม่ มีความสัมพันธ์อยู่ในระดับสูง (rxy=.664) มีค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยของการพยากรณ์ในรูปแบบของคะแนนดิบ (b) เท่ากับ .466 .435 .330 และ .395 มีอำนาจการพยากรณ์ (R2=441) หรือร้อยละ 44.10 และผลการทดสอบสมมติฐานปัจจัยการปฏิบัติงานมีผลทางบวกต่อประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านใหม่ อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ .01

Article Details

How to Cite
แก้วน้อย ธ., ทวีสิน ณ., กาญจนากาศ ธ., & ดวงจักร์ ส. (2024). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านใหม่ อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี. Journal of Spatial Development and Policy, 2(6), 15–26. สืบค้น จาก https://so16.tci-thaijo.org/index.php/JSDP/article/view/1184
บท
บทความวิจัย

References

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย. (2562). แนวทางการเสริมสร้างความพร้อมในการจัดการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย.

โกวิทย์ พวงงาม. (2543). การปกครองท้องถิ่นไทย : หลักการและมิติใหม่ในอนาคต. กรุงเทพฯ: วิญญูชน.

จุรีรัตน์ ว่องปลูกศิลป์. (2562). แนวทางการเพิ่มคุณค่างานเพื่อเสริมสร้างศักยภาพบุคลากรเจนเนอเรชั่นวาย โรงแรมระดับ 4 ดาว จังหวัดภูเก็ต. วารสารบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยแม่โจ้, 1(1), 12-22.

ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2541). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: เทพเนรมิตการพิมพ์.

ทฤษฎี ธนาบริบูรณ์. (2566). การสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรเทศบาลเมืองชะอำ จังหวัดเพชรบุรี. วารสารรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 5(2), 82-95.

ธนภรณ์ พรรณราย. (2565). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา. (รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์).

ธนาทิพย์ ขวัญทอง. (2565). แรงจูงใจที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา. (รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์).

บุญชม ศรีสะอาด. (2554). หลักการวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สุวิริยาสาส์น.

ภาวรินทร์ วิเวกจิตต์. (2567). ประสิทธิผลการปฏิบัติงานราชการเพื่อรองรับการเปลี่ยนผ่านยุคดิจิทัลของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี. วารสารสหวิทยาการและนวัตกรรมการจัดการ, 2(2), 1-11.

รัชนีวรรณ ภูมิสะอาด. (2559). แรงจูงใจ ขวัญกำลังใจ และความพึงพอใจในการทำงาน ด้านทันตสาธารณสุขของเจ้าพนักงานทันตสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบลในจังหวัดขอนแก่น. วารสารทันตาภิบาล, 27(2), 84-96

ศริญญา ชูพินิจสกุลวงค์. (2567). ประสิทธิผลการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลหนองหญ้าปล้อง. วารสารการจัดการการเมืองการปกครองและท้องถิ่น, 2(2), 35-46.

ศิริพร นาทันริ, ราเชนทร์ นพณัฐ วงศกร และ วิเชียร วิทยอุดม. (2561). ภาวะผู้นำที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของบุคลากร สำนักงานเขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร. วารสารคณะรัฐศาสตร์และนิตศิาสตร์ มหาวทิยาลยับูรพา, 6(2), 279-297.

สีตีสารอ บินหามะ และ อิบรอฮิม สารีมาแซ. (2567). ประสิทธิผลการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลในเขตพื้นที่อำเภอสุไหงปาดีจังหวัดนราธิวาส. วารสารสหวิทยาการวิจัยและวิชาการ, 3(3), 469-478.

องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านใหม่. (2566). รายงานประจำปีงบประมาณ 2566. นนทบุรี: องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านใหม่ อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี.

อัจฉรียา พัฒนสระคู. (2562). ผลกระทบของการประเมินผลการปฏิบัติงานที่มีต่อแรงจูงใจในการทำงานของบุคลากรด้านการบัญชี การเงิน และพัสดุองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, 14(1), 129-142.

Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing. (5th ed.). New York: Harper Collins Publishers.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.