ธรรมาภิบาลและคุณภาพการให้บริการงานทะเบียนราษฎรของที่ว่าการอำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี

Main Article Content

พุฒพัฒน์ วุฒิกุลธนโรจน์
ณฐนนท ทวีสิน
ธีรพล กาญจนากาศ
สมคิด ดวงจักร์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ระดับธรรมาภิบาลของงานทะเบียนราษฎร ที่ว่าการอำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี (2) ระดับคุณภาพการให้บริการงานทะเบียนราษฎรของที่ว่าการอำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี และ (3) ความสัมพันธ์ระหว่างธรรมาภิบาลกับคุณภาพการให้บริการงานทะเบียนราษฎรของที่ว่าการอำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ประชาชนผู้มาใช้บริการงานทะเบียนราษฎรของที่ว่าการอำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย ด้วยวิธีบังเอิญ จำนวน 384 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณและการทดสอบสมมติฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับธรรมาภิบาลของงานทะเบียนราษฎรของที่ว่าการอำเภอบางใหญ่ โดยรวมที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ด้านหลักการมีส่วนร่วม 2) ระดับคุณภาพการให้บริการงานทะเบียนราษฎรของที่ว่าการอำเภอบางใหญ่ โดยรวมที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ด้านการให้บริการอย่างเพียงพอ และ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างธรรมาภิบาลกับคุณภาพการให้บริการงานทะเบียนราษฎรของที่ว่าการอำเภอบางใหญ่ มีความสัมพันธ์อยู่ในระดับสูงมาก (rxy=.950) ผลการวิเคราะห์ค่าสหสัมพันธ์พหุคูณของความสัมพันธ์ระหว่างธรรมาภิบาลกับคุณภาพการให้บริการงานทะเบียนราษฎรของที่ว่าการอำเภอบางใหญ่ มีอำนาจการพยากรณ์ (R2=902) หรือร้อยละ 90.20 และผลการทดสอบสมมติฐานธรรมาภิบาลในการให้บริการงานทะเบียนมีผลทางบวกต่อคุณภาพการให้บริการงานทะเบียนราษฎรของที่ว่าการอำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

Article Details

How to Cite
วุฒิกุลธนโรจน์ พ., ทวีสิน ณ., กาญจนากาศ ธ., & ดวงจักร์ ส. (2024). ธรรมาภิบาลและคุณภาพการให้บริการงานทะเบียนราษฎรของที่ว่าการอำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี. Journal of Spatial Development and Policy, 2(6), 55–68. สืบค้น จาก https://so16.tci-thaijo.org/index.php/JSDP/article/view/1183
บท
บทความวิจัย

References

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (2563). คู่มือหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี. กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย พุทธศักราช 2563.

เฉลิมพล ทองเหลา, ชาติชัย อุดมกิจมงคล และ ละมัย ร่มเย็น. (2563). ระดับธรรมาภิบาลและคุณภาพการให้บริการงานทะเบียนราษฎรของที่ว่าการอำเภอชานุมาน จังหวัดอำนาจเจริญ. วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น. 4(2), 253-266.

ไชยวัฒน์ ค้ำชู. (2545). ธรรมาภิบาล. กรุงเทพฯ: น้ำฝน.

ที่ว่าการอำเภอบางใหญ่. (2566). ข้อมูลผู้ใช้บริการ งานทะเบียนราษฎร. นนทบุรี: ที่ว่าการอำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี.

ยงยุทธ สำรองพันธ์. (2560). คุณภาพการให้บริการของสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดสกลนคร. (รัฐศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร).

รัฐวิชญ์ ตันแก้ว, วรปรัชญ์ คําพงษ์ และ ธิติวุฒิ หมั่นมี. (2567). คุณภาพการให้บริการประชาชนตามหลักสังคหวัตถุธรรมของสำนักทะเบียนอำเภอบ้านหลวง จังหวัดน่าน. วารสาร มจร เพชรบุรีปริทรรศน์, 7(2), 69-83.

ศศิประภา ทารพันธ์ และ ราเชนทร์ นพณัฐวงศกร. (2566). ประสิทธิภาพในการให้บริการประชาชนของสำนักทะเบียนท้องถิ่นเขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการวิทยาลัยบริหารศาสตร์, 6(1), 75-88.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2551). แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย (พ.ศ. 2551 - พ.ศ. 2555). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ.

สุกันยา เนื่องจํานง. (2553). ความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการให้บริการงานทะเบียนและบัตรประจําตัวประชาชนของสำนักทะเบียนอำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี. (รัฐศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา).

สุทธิณี ธานีรัตน์. (2567). การบริการสาธารณะ กรณีศึกษาทัศนคติของประชาชนต่อการให้บริการของเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานที่ว่าการอำเภอเมืองตรัง. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 7(4), 2193-2207.

สุรางศ์ลักษณ์ นุ่มนาค. (2563). คุณภาพการให้บริการงานทะเบียนราษฎรตามหลักธรรมาภิบาลของสำนักงานเขตจตุจักร. ( รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช).

อภิสมัย พัฒน์ทอง. (2566). คุณภาพการให้บริการของงานทะเบียนราษฎร สำนักทะเบียนท้องถิ่นเทศบาลตำบลบางปลา อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร. Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University, 8(2), 1-14.

เอกพิษณุ สุงิ้วงาม. (2566). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพการให้บริการกับความพึงพอใจการใช้บริการของประชาชนผู้ใช้บริการของสำนักงานที่ดินจังหวัดสุโขทัย. Procedia of Multidisciplinary Research, 1(10), 38.

Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing. (5th ed.). New York: Harper Collins Publishers.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Millet, J. D. (1954). Management in public service. New York: Mc.Graw-Hill.