การใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ของผู้เรียนในยุคดิจิทัล

Main Article Content

ธนารักษ์ สารเถื่อนแก้ว
ขัณธ์ชัย อธิเกียรติ
ทิชพร นามวงศ์

บทคัดย่อ

บทความนี้ผู้เขียนต้องการนำเสนอแนวทางการใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ของผู้เรียนในยุคดิจิทัลเป็นประเด็นที่มีความสำคัญและได้รับความสนใจอย่างมากในปัจจุบัน เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีและการเข้าถึงข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว ส่งผลให้รูปแบบการเรียนรู้ของผู้เรียนเปลี่ยนแปลงไป บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทของสื่อสังคมออนไลน์ในการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ของผู้เรียน รวมถึงการวิเคราะห์ประโยชน์และข้อจำกัดของการใช้สื่อเหล่านี้ จากการศึกษาพบว่า สื่อสังคมออนไลน์มีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมทักษะการเรียนรู้หลากหลายด้าน อาทิ การใช้เทคโนโลยี การรู้เท่าทันสื่อ การคิดเชิงวิพากษ์ การทำงานร่วมกัน การเรียนรู้ตลอดชีวิต และการบริหารเวลาและงาน ผู้เรียนสามารถใช้สื่อสังคมออนไลน์ในการค้นคว้าข้อมูล ประมวลผลข้อมูล และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้อื่น นอกจากนี้ การใช้สื่อสังคมออนไลน์ยังช่วยส่งเสริมการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องและการพัฒนาทักษะใหม่ๆ อย่างมีประสิทธิภาพ

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

สุภาพรรณ อนุตรกุล. (2564). ทักษะความเข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิทัล (Digital literacy). สืบค้น 13 กรกฎาคม 2567. จาก https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=1246.

Digimusketeers. (2566). ข้อดี-ข้อเสียของสื่อออนไลน์. สืบค้น 13 กรกฎาคม 2567. จาก https://digimusketeers.co.th/blogs/สื่อออนไลน์-หมายถึงอะไร.

Greenhow, C., & Lewin, C. (2019). Social media and education: Reconceptualizing the boundaries of formal and informal learning. Learning, Media and Technology, 41(1), 6-30.

Hrastinski, S., & Aghaee, N. M. (2012). How are campus students using social media to support their studies? An explorative interview study. Education and Information Technologies, 17, 451-464.

Manca, S., & Ranieri, M. (2016). Facebook and the others. Potentials and obstacles of social media for teaching in higher education. Computers & education, 95, 216-230.

Selwyn, N. (2012). Social media in higher education. The Europa world of learning, 1(3), 1-10.

Tess, P. A. (2013). The role of social media in higher education classes (real and virtual)–A literature review. Computers in human behavior, 29(5), A60-A68.