แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรทางการศึกษาศูนย์เครือข่ายพัฒนาคุณภาพ เมือง 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภูเขต เขต 1
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาระดับแรงจูงใจของบุคลากรต่อการปฏิบัติงาน และ (2) เพื่อเปรียบเทียบแรงจูงใจต่อการปฏิบัติงานระหว่างบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนศูนย์เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาเมือง 1 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภูเขต 1 จำแนกตามตำแหน่ง วุฒิการศึกษา และประสบการณ์ การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ บุคลากรทางการใน ศูนย์เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาเมือง1สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภูเขต1 จำนวน 122 คน กำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วน (Proportional Stratified Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.90 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการศึกษาพบว่า แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 1 โดยรวมและรายด้าน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ผลการเปรียบเทียบแรงจูงใจบุคลากรทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภูเขต 1 จำแนกตามตำแหน่ง วุฒิการศึกษา และประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน พบว่า โดยรวมไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2550ก). แนวทางการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษาให้คณะกรรมการ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา ตามกฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษา พ.ศ. 2550. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
ปนัดดา รัตนวงศ์. (2560) แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนบ้านเขาซก (เบญจศิริราฏร์วิทยาคาร) สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี. (การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา)
ภาวิณี เพชรสว่าง. (2556). ภารกิจ บทบาทและหน้าที่ของสถานศึกษา. ใน ประมวลสาระชุดวิชาการจัดการสถานศึกษา หน่วยที่ 3 (น.93-129). นนทบุรี: สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
มนัสนันท์ มีทรัพย์ทอง. (2563). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูสังกัดวิทยาลัยเทคนิคในภาคตะวันออก. (ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏรําไพพรรณี).
สมุทร ชำนาญ. (2553). ภาวะผู้นำทางวิชาการทฤษฎีและปฏิบัติ. ระยอง: พี. เอส. การพิมพ์.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2560). แนวทางการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษาให้คณะกรรมการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาตามกฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษา พ.ศ. 2550. กรุงเทพฯ :โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
สุพิชฌาย์ คูศรีเทพประทาน. (2551). การศึกษาแรงจูงใจในการทำงานของพนักงานบริษัท ABC จำกัด. (บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย).
อรอุมา จันทนป. (2561). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดนครปฐม. (ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร).
อุลัยวรรณ เทนสุนา และ กัญญ์รัชการย์ เลิศอมรศักดิ์. (2566). การสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูสายงานการสอนที่มีประสิทธิภาพ. ใน การประชุมวิชาและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ครั้งที่ 5 วันที่ 3 เมษายน 2566 (น. 1157-1165). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
Cronbach, L.J. (1990). Essentials of psychological testing. (5th ed.). New York: Harper & Row.
Hertzke, E. R. (1992). The administrator's role in adopting and using integrated learning systems. Educational Technology, 32(9), 44-46.