การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันภาวะผู้นำเชิงพุทธของผู้บริหารวิทยาลัยอาชีวศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา

Main Article Content

กิตติ์กาญจน์ ปฏิพันธ์
พสิษฐ์ อมรเชษณ์
สัมฤทธิ์ กางเพ็ง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณลักษณะภาวะผู้นำเชิงพุทธ และวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันภาวะผู้นำเชิงพุทธของผู้บริหารวิทยาลัยอาชีวศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารวิทยาลัยอาชีวศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา 180 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบวัดคุณลักษณะภาวะผู้นำเชิงพุทธ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติบรรยาย และองค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับสอง ผลการวิจัย พบว่า คุณลักษณะภาวะผู้นำเชิงพุทธของผู้บริหารวิทยาลัยอาชีวศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา มีทั้งหมด 3 องค์ประกอบ ได้แก่ การนำตนเอง การนำทีม และการนำองค์การ โดยภาวะผู้นำเชิงพุทธด้านการนำตนเองมีระดับคุณลักษณะภาวะผู้นำเชิงพุทธสูงสุด รองลงมา คือ การนำทีม และการนำองค์การ ตามลำดับ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน พบว่า โมเดลมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืน (GFI) เท่ากับ 0.98 และค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืนที่ปรับแก้แล้ว (AGFI) มีค่าเท่ากับ 0.97 โดยเรียงลำดับค่าน้ำหนักองค์ประกอบจากมากไปหาน้อย คือ องค์ประกอบการนำตนเองมีค่าน้ำหนักองค์ประกอบมากที่สุด รองลงมาคือ การนำทีม และการนำองค์การ ตามลำดับ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2555). การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน. วารสารวิจัยและพัฒนาหลักสูตร, 2(1), 68-74.

นิตยา เสาหงษ์. (2563). สมรรถนะการบริหารงานวิชาการในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาตามโครงการวิทยาลัยเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.

พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). (2549). พุทธวิธีบริหาร. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). (2545). ภาวะผู้นำ: ความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศ. นครปฐม: ธรรมสภา.

พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี (ว.วชิรเมธี). (2552). ภาวะผู้นำ: จากเนลสัน มันเดลา โอบามาแห่งทำเนียบขาว. กรุงเทพฯ: สถาบันวิมุตตยาลัย.

พระมหาสมพร สุริโย. (2553). รูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา. (ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย).

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

วรภาส ประสมสุข และ นิพนธ์ กินาวงศ์. (2550). หลักการบริหารการศึกษาตามแนวพุทธธรรม. วารสารศึกษาศาสตร์, 18(2), 63-83.

วไลพร บุษบก. (2562). องค์ประกอบสมรรถนะของผู้บริหารวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาเอกชน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม).

สัมฤทธิ์ กางเพ็ง. (2557). ภาวะผู้นำเชิงพุทธ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). มหาสารคาม: อภิชาติการพิมพ์.

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2566). รายงานประจำปี 2565 สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยสารพัดช่างพระนคร.

Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing. (5th ed.). New York: Harper Collins Publishers.

Northouse, P. G. (2018). Introduction to leadership: concept and practice. (4th ed.). Thousand Oaks, CA: Sage.

Pietersen, W. (2010). Strategic Learning: How to be smarter than your competition and turn to insights in to competitive advantage. Hobogen, NJ: John Wiley & Sons.