การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) สำหรับครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม

Main Article Content

ราตรี เลิศหว้าทอง
พชรวิทย์ จันทร์ศิริสิร
สมชาย โพธิ์ศรี

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอแนวคิดเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) สำหรับครูผู้สอน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ซึ่งประกอบไปด้วยแนวคิดการจัดการเรียนการสอนของครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมในศตวรรษที่ 21 หรือโลกยุคใหม่ที่เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เต็มไปด้วยสิ่งท้าทายและปัญหาหลากหลาย ซับซ้อน กอรปกับเนื้อหารายละเอียดที่จะต้องเรียนมีความหลากหลายสาระการเรียนรู้ ซึ่งถือเป็นความท้าทายสำหรับครูผู้สอนที่จะต้องจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้สอดคล้องเหมาะสม ที่จะส่งเสริมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น กระบวนการสืบเสาะหาความรู้แบบ 5E เป็นการเรียนการสอนที่ให้ความสําคัญกับผู้เรียนหรือผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง มีการจัดการเรียนรู้ที่ฝึกให้ผู้เรียนรู้จักค้นคว้าหาความรู้โดยใช้กระบวนการทางความคิดหาเหตุผล ทําให้ค้นพบความรู้หรือแนวทางแก้ปัญหาที่ถูกต้องด้วยตนเอง ซึ่งผู้สอนตั้งคําถาม ประเภทกระตุ้นให้ผู้เรียนใช้ความคิด และหาวิธีการแก้ปัญหาได้เอง สามารถนําการแก้ปัญหามาใช้ประโยชน์ในชีวิตประจําวันได้ กระบวนการสืบเสาะหาความรู้แบบ 5E มีขั้นตอนในการจัดการเรียนการสอนเป็น 5 ขั้นตอน คือ (1) ขั้นสร้างความสนใจ (Engagement) (2) ขั้นสํารวจและ ค้นหา (Exploration) (3) ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป (Explanation) (4) ขั้นขยายความรู้ (Elaboration) และ (5) ขั้นประเมิน (Evaluation) กระบวนการสืบเสาะหาความรู้แบบ 5E ดังที่กล่าวนั้นจะเป็นแนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนรายวิชาในกลุ่นสาะสังคมศึกษา ศาสนาและศิลปวัฒนธรรมได้อย่างดี เนื่องจากได้เน้นให้ผู้เรียนเกิดองค์ความรู้ทักษะ ความเชี่ยวชาญและสมรรถนะที่เกิดกับตัวผู้เรียน เพื่อใช้ในการดํารงชีวิตในสังคมแห่งความเปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กมล รอดคล้าย. (2560). การศึกษาไทย 4.0 ให้เรียนในสิ่งที่ชอบ. สืบค้น 12 มกราคม 2566. จาก http://www.thairath.co.th/content/1082110.

กรมวิชาการ, กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: คุรุสภา.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2557). การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. สืบค้น 12 มกราคม 2566. จาก http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=38880&Key=news_research.

คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2560). คู่มือปฏิบัติงานเขตพื้นที่การศึกษา. กรุงเทพฯ: สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

ทิศนา แขมมณี. (2545). การคิดและการสอนเพื่อพัฒนากระบวนการคิด. กรุงเทพฯ: สํานักงานพัฒนา คุณภาพวิชาการ (พว.).

นรรัชต์ ฝันเชียร. (2563). การเรียนแบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้นตอน (The 5 E’s of Inquiry-Based Learning). สืบค้น 12 มกราคม 2566. จาก https://www.trueplookpanya.com/dhamma/content/82385.

ปิยนันท์ สวัสดิ์ศฤงฆาร. (2563). องค์ประกอบ 7 ประการภายในองค์กรซึ่งต้องทำให้สอดคล้องสัมพันธ์กัน. สืบค้น 12 มกราคม 2566. จาก https://drpiyanan.com/2019/04/17/2-factor-theory-frederick-herzberg/.

วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง และ อธิป จิตตฤกษ์. (2556). ทักษะแห่งอนาคตใหม่การศึกษาเพื่อศตวรรษที่ 21. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โอเพ่นเวิลด์ พับลิชชิ่ง เฮ้าส์.