ความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดองค์กรส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดพิจิตร

Main Article Content

ธงชัย จันทร์กระจ่าง
ณัฐภูมิ จับคล้าย
ณัชพล พิจิตรวิไลเลิศ
ดรัณภพ สุวรรณโน
สิปปนนท์ จันทร์แปลง
สถิรพร เชาวน์ชัย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาการจัดการความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษา (2) เพื่อศึกษาประสิทธิผลของสถานศึกษา และ (3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษาและประสิทธิผลของสถานศึกษา ในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดพิจิตร กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้บริหารและครู ในสถานศึกษาสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดพิจิตร จำนวน 205 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถามมีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 40 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัย พบว่า การจัดการความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษาในภาพรวม อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.32 ประสิทธิผลของสถานศึกษาในภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.48 ผลการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดองค์กรส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดพิจิตร โดยรวมมีความสัมพันธ์กันทางบวก อยู่ในระดับความสัมพันธ์สูง มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (r = 0.753) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับนัยสำคัญ .01

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กมลนัทธ์ ศรีจ้อย. (2560). การบริหารจัดการความขัดแย้งของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดอุทัยธานี. (ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี).

ต่อศักดิ์ ศรีแก้วแฝก, อโนทัย ประสาน และ บูรินทร์ภัฏ พรหมมาศ. (2565). การบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 12. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 16(2), 11–20.

บุษบา สุธีธร. (2560). ความขัดแย้งและการคลี่คลายความขัดแย้งระหว่างบุคคล. วารสารนักบริหาร, 37(1), 54–67.

ภัตรา อภัย และ ทินกร พูลพุฒ. (2565). การจัดการความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2. วารสารบริหารการศึกษา มศว, 19(37), 175–183.

ศิริวรรณ มนอัตระผดุง. (2559). การจัดการความขัดแย้งในองค์การอย่างสร้างสรรค์. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์, 6(2), 193–208.

สถิรพร เชาวน์ชัย. (2561). เอกสารประกอบการสอนวิชา 354517 การวิจัยทางการบริหารการศึกษา. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

สมเดช สีแสง. (2549). การพัฒนาระบบส่งเสริมการประกันคุณภาพการศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา. (การศึกษาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนเรศวร).

สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย. (2561). แนวทางการประกันคุณภาพภายในศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอ/เขต. กรุงเทพฯ: สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย.

สำนักทดสอบทางการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2564). แนวทางการสังเคราะห์รายงานผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด เอ็น.เอ.รัตนะเทรดดิ้ง.

อนงค์ อาจจงทอง และ ปริญญา มีสุข. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารแบบมีส่วนร่วมกับประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 2. วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 10(2), 153–163.

อนุสรณ์ สุทธหลวง, อำนาจ บุญประเสริฐ และ พจนีย์ มั่งคั่ง. (2565). ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 2. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 19(86), 106–122.

อภิสรา ศรีบุศยกุล. (2565). ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2. (ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร).

Mott, P. E. (1972). The Characteristics of Effective Organizations. New York: Harper & Row.

Thomas, K., Kilmann, R. (1987). Thomas-Kilmann conflict mode interest. New York: X/COM Incorporated.