การวิเคราะห์จิตตรัสรู้ในพระพุทธศาสนาเถรวาท

Main Article Content

พระมหาสายัณห์ วิสุทฺโธ (เทียนครบ)

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์จิตตรัสรู้ในพระพุทธศาสนาเถรวาท เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ โดยเน้นการศึกษาในเชิงเอกสาร ศึกษาค้นคว้ารวบรวมข้อมูลจากพระไตรปิฎก อรรถกถา ฎีกา คัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท และเอกสารวิชาการทางพระพุทธศาสนา ตลอดจนรายงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง นำเสนอผลการวิจัยด้วยวิธีการพรรณนาเชิงวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า จุดเริ่มต้นของกระบวนวิธีที่ทำจิตตรัสรู้ในพระพุทธศาสนาเถรวาท ซึ่งได้แก่ จิตมีศรัทธาปรารถนาโพธิญาณเป็นแรงจูงใจภายในที่ถูกกระตุ้นเตือนจากสิ่งที่พบเห็นที่เป็นกัลยาณมิตร เป็นสิ่งเร้าภายนอก มีพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระสาวกพุทธเจ้าทั้งหลาย เป็นต้น จึงมีการสั่งสมธรรมสโมธานเป็นอภิหารและบารมีธรรมทั้งหลาย มีทาน ศีล เป็นต้น เพื่อพัฒนาจิตให้ถึงจิตตรัสรู้โพธิญาณบริสุทธิ์แท้ๆ องค์ธรรมของจิตตรัสรู้ คือ ปัญญาเครื่องตรัสรู้ ได้แก่ ญาณในมรรคทั้ง 4 มีปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ปัญญาเครื่องพิจารณา (วิมังสา) ปัญญาเครื่องเห็นแจ้ง (วิปัสสนา) สัมมาทิฏฐิ ซึ่งเป็นองค์ความรู้เห็นแห่งปัญญาเครื่องตรัสรู้ในโพธิปักขิยธรรม 37 ประการ อันเป็นธรรมเครื่องปราบอาสวกิเลสทั้งหลาย จิตตรัสรู้และจิตรู้แจ้งบริสุทธิ์ดีแล้ว มี 3 ประเภท คือ 1. สัมมาสัมพุทธจิต เป็นจิตของพระสัมมาพุทธเจ้า 2. ปัจเจกพุทธจิต เป็นจิตของพระปัจเจกพุทธเจ้า และ 3. สาวกพุทธจิต เป็นจิตของพระสาวกพุทธเจ้า

Article Details

How to Cite
วิสุทฺโธ (เทียนครบ) พ. (2023). การวิเคราะห์จิตตรัสรู้ในพระพุทธศาสนาเถรวาท. Journal of Applied Education, 1(1), 1–10. สืบค้น จาก https://so16.tci-thaijo.org/index.php/JAE/article/view/215
บท
บทความวิจัย

References

พยุง พุ่งพวง. (2555). ศึกษาปัญญาเจตสิกกับการพัฒนาสัมปชัญญะในการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา. (พุทธศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).

พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาส อินฺทปญฺโญ). (2554). วิปัสสนาระบบลัดสั้น. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: สุขภาพใจ.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2549). วิธีคิดตามหลักพุทธธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: ศยาม.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2551). พจนานุกรมฉบับประมวลธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 16). กรุงเทพฯ: บริษัท เอส.อาร์.พริ้นติ้ง แมส โปรดักส์ จำกัด.

พระโพธิญาณเถร (ชา สุภทฺโท). (2553). จิตนี้คืออะไร. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: คิว พริ้นท์ แมเนจเม้น จำกัด.

พระมหานรินทร์ ฐานุตฺตโร. (2536). การศึกษาวิเคราะห์นิพพานในพระพุทธศาสนาเถรวาท. (พุทธศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).

พระราชวรมุนี (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). (2552). วิธีบูรณาการพระพุทธศาสนากับศาสตร์สมัยใหม่. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: หจก.ไทยรายวันการพิมพ์.

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.