การพัฒนาทักษะการอ่านโดยใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้ภาษาไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอเกี่ยวกับการพัฒนาทักษะการอ่านโดยใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้ภาษาไทย การอ่านเป็นกระบวนการทางสมองที่ต้องใช้สายตาสัมผัสตัวหนังสือหรือสิ่งพิมพ์อื่นๆ รับรู้และเข้าใจความหมายของคำที่ใช้สื่อความคิด ความรู้ ความเข้าใจ ระหว่างผู้เขียนกับผู้อ่าน เพื่อให้เข้าใจตรงกัน และผู้อ่านสามารถนำเอาความหมายนั้นๆ นำไปใช้ประโยชน์ได้ การใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยโดยวิธีต่างๆ สามารถพัฒนาทักษะการอ่านของผู้เรียนได้ ซึ่งการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาการอ่านให้บรรลุจุดมุ่งหมาย ผู้สอนจะต้องให้ผู้เรียนได้มีโอกาสมีการฝึกฝนทักษะการอ่านและฝึกอย่างสม่ำเสมอ โดยมุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติงานและได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกันภายในห้องเรียน โดยกิจกรรมที่ทำจะต้องมีการสอดคล้องกับการเรียนรู้และใกล้ตัวผู้เรียนจึงจะทำให้ผู้เรียนเกิดความสนใจ และยังทำให้ผู้เรียนมีความสุขและอยากที่จะฝึกฝนตนเองต่อไป
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรมวิชาการ. (2545). หลักการพื้นฐานการสอนประถมศึกษา. กรุงเทพฯ: กรมวิชาการ.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2535). คู่มือการประเมินผลการเรียนตามหลักสูตร. ประถมศึกษาพุทธศักราช 2521 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2533). กรุงเทพฯ: คุรุสภา. ลาดพร้าว.
จิรวัฒน์ เพชรรัตน์ และ อัมพร ทองใบ. (2556). การอ่านและการเขียนทางวิชาการ (Academic Reading And Writing). กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
ฉวีวรรณ คูหาภินันท์. (2542). การอ่านและการส่งเสริมการอ่าน (Reading and Reading. Promotion). กรุงเทพฯ: ศิลปาบรรณาคาร.
ดวงใจ ชนะสิทธิ์ และ อรพรรณ ตู้จินดา. (2563). การพัฒนาความสามารถในการอ่าน เขียน ภาษาไทยโดยใช้ชุดฝึกเสริมทักษะตามกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาสำหรับโรงเรียนที่ได้รับการบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 12(2), 491-511.
ทรง จิตประสาท. (2526). วิธีสอนภาษาไทยระดับประถมศึกษา. ฉะเชิงเทรา: ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ วิทยาลัยครูฉะเชิงเทรา
เบญจวรรณ ขุนฤทธิ์. (2562). รูปแบบและเทคนิคการจัดการเรียนรู้ในการพัฒนาทักษะการอ่านเพื่อการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตปัตตานี, 30(2), 1-16.
พนิตนันท์ บุญพามี. (2542). เทคนิคการอ่านเบื้องต้นสำหรับบรรณารักษ์. นครราชสีมา: สถาบันราชภัฏนครราชสีมา
พิมลพร พงษ์ประเสริฐ. (2563). การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านและการเขียนสะกดคำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบของฮันเตอร์ร่วมกับแบบฝึกทักษะ. (ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร).
วนิดา พรมเขต. (2559). เอกสารประกอบการสอนรายวิชาการพัฒนาทักษะการอ่าน. อุดรธานี: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.
วรรณฤดี สุขชื่น. (2563). การพัฒนาทักษะการอ่านภาษาไทย โดยการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค ซี ไอ อาร์ ซี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ศูนย์พัฒนาคุณภาพการศึกษาป่าขะ-เขาเพิ่ม จังหวัดนครนายก. (ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี).
วรรณี โสมประยูร (2534). การสอนภาษาไทยระดับประถมศึกษา. กรุงเทพฯ: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.
วรรณี โสมประยูร. (2544). การสอนภาษาไทยระดับประถมศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.
วิมลรัตน์ สุนทรโรจน์. (2549). นวัตกรรมตามแนวคิด Backward Design. มหาสารคาม: ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ศรีสุดา จริยากุล. (2545). เอกสารการสอนชุดวิชาภาษาไทย 5: การอ่าน. (พิมพ์ครั้งที่ 3). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ศูนย์พัฒนาหลักสูตร กระทรวงศึกษาธิการ, (2532) ผลการศึกษาคำพื้นฐานที่ใช้ในการเรียนการสอนภาษาไทยระดับประถมศึกษา. วารสารวิจัยทางการศึกษา, 19(3), 76.
สุชาดา กล่ำใย, สุกัญญา รุจิเมธาภาส และ วทัญญู ขลิบเงิน. (2565) การจัดการเรียนรู้ทักษะการอ่านวิชาภาษาไทย โดยใช้เทคนิควิธีการสอนแบบบูรณาการสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ใน การประชุมสัมมนาวิชาการนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติเครือข่ายบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฎภาคเหนือ ครั้งที่ 22 “ชีวิตวิถีใหม่ของการศึกษาในสังคมดิจิทัล” ( น. 347-358). นครสวรรค์: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
สุนันทา มั่นเศรษฐวิทย์. (2551). ความรู้พื้นฐานทางการอ่าน ใน เอกสารการสอนชุดวิชา การใช้ภาษาไทย หน่วยที่ 1-8. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
Goodman, K. S. (1970). Psycholinguistic universals in the reading process. Visible Language, 4(2), 103-110.
Lardizabal, A. S. (1970). Methods and principles of teaching. Quezon City: Alemar – Phoenix.