กลยุทธ์การบริหารจัดการศึกษาโรงเรียนเอกทวีวิทย์สู่สากลในยุคปัญญาประดิษฐ์

Main Article Content

คมสันต์ สุผาครอง
สมเกียรติ ตุ่นแก้ว
ประเวศ เวชชะ

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนากลยุทธ์การบริหารจัดการศึกษาโรงเรียนเอกทวีวิทย์สู่สากลในยุคปัญญาประดิษฐ์ การวิจัยนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods Research) โดยประยุกต์ใช้กระบวนการวิจัยแบบมีส่วนร่วม (Appreciative Inquiry Conference: AIC) ในส่วนข้อมูลเชิงปริมาณ จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 213 คน ประกอบด้วย ผู้รับใบอนุญาต 1 คน คณะกรรมการบริหารโรงเรียน 6 คน ครูผู้สอน 18 คน คัดเลือกแบบเจาะจง และผู้ปกครองนักเรียน 188 คน ซึ่งคัดเลือกโดยการสุ่มตัวอย่างอย่างง่ายตามสูตรของ Yamane (1973) สำหรับข้อมูลเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลรวม 27 คน ประกอบด้วย ผู้บริหาร 1 คน ผู้รับใบอนุญาต 1 คน ครู 6 คน คณะกรรมการบริหารโรงเรียน 6 คน ตัวแทนผู้ปกครอง 8 คน ผู้ทรงคุณวุฒิ 3 คน และผู้ช่วยนักวิจัย 2 คน คัดเลือกโดยวิธีการแบบเจาะจง เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามและแบบบันทึกข้อมูลสำหรับข้อมูลเชิงปริมาณ และแบบสัมภาษณ์เชิงลึก แนวทางวิเคราะห์เอกสาร และการประชุมแบบมีส่วนร่วม (AIC) สำหรับข้อมูลเชิงคุณภาพ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร่วมกับสถิติเชิงอนุมานตามลักษณะของข้อมูล ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ร่วมกับเทคนิค Benchmarking และ Consensus Model ผลการวิจัยพบว่า กลยุทธ์การบริหารจัดการศึกษาโรงเรียนเอกทวีวิทย์สู่สากลในยุคปัญญาประดิษฐ์ ประกอบด้วย 4 กลยุทธ์หลัก ได้แก่ (1) การสร้างเครือข่ายความร่วมมือเพื่อความยั่งยืนทางการศึกษา โดยมุ่งเน้นการประชาสัมพันธ์และสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ปกครองและชุมชน เพื่อส่งเสริมอัตลักษณ์และภาพลักษณ์ของโรงเรียน (2) การพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้สู่มาตรฐานสากล โดยเน้นการบูรณาการเทคโนโลยีดิจิทัล การเรียนรู้แบบ STEAM และ Active Learning (3) การพัฒนาประสิทธิภาพการจัดการด้วยเทคโนโลยีอัจฉริยะ โดยใช้ระบบสารสนเทศเพื่อการศึกษา (SIS) และ AI เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ และ (4) การเสริมสร้างศักยภาพบุคลากรสู่ความเป็นมืออาชีพและการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยเน้นการพัฒนาครูและบุคลากรในด้านการเรียนการสอนและการบริหารผ่านการฝึกอบรมและการใช้แนวคิด Agile

Article Details

How to Cite
สุผาครอง ค., ตุ่นแก้ว ส., & เวชชะ ป. (2025). กลยุทธ์การบริหารจัดการศึกษาโรงเรียนเอกทวีวิทย์สู่สากลในยุคปัญญาประดิษฐ์. Journal of Applied Education, 3(2), 35–48. สืบค้น จาก https://so16.tci-thaijo.org/index.php/JAE/article/view/1491
บท
บทความวิจัย

References

เฉลิม จักรชุม. (2559). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมตามแนวคิดการเรียนรู้แบบผสมผสานเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะของครูด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการจัดการเรียนรู้. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา, 11(2), 129-143.

ประเวศ เวชชะ และ ไพโรจน์ ด้วงนคร. (2566). แนวคิด หลักการและทฤษฎีการบริหารจัดการ: การประยุกต์ใช้ในการบริหารการศึกษายุคปัญญาประดิษฐ์. เชียงราย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

ประเวศ เวชชะ. (2566). การออกแบบการวิจัย. เชียงราย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

ยงยุทธ สงพะโยม. (2565). กลยุทธ์การบริหารสถานศึกษาในยุคปกติใหม่. (ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร).

ศิริวรรณ แก้วมูล และ สุรศักดิ์ สุนทร. (2566). แนวทางการประยุกต์ใช้ปัญญาประดิษฐ์ (AI) ในการจัดการศึกษา. วารสารวิจัยและพัฒนาหลักสูตร, 12(1), 1–15.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2568). ศธ. สยายปีกสู่เวทีโลก มุ่งเป้ายกระดับการศึกษาด้วย AI พร้อมสร้างความตระหนักรู้แก่เยาวชนในการปกป้องสิ่งแวดล้อม. สืบค้นจาก https://www.moe.go.th/ศธ-สยายปีก/.

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน. (2564). แผนพัฒนาการศึกษาเอกชน พ.ศ. 2560 – 2564. สืบค้นจาก https://opec.go.th/uploads/2023/plan/20230105_144543_837_3-1.pdf.

สุภาพร แซ่ลี. (2564). การพัฒนากลยุทธ์การบริหารการศึกษาผ่าน Balanced Scorecard ในโรงเรียนเอกชนกรุงเทพฯ. วารสารการบริหารการศึกษา, 28(1), 75–91.

โสภณ แย้มกลิ่น. (2567). PESTEL Analysis คืออะไร. สืบค้นจาก https://www.sophony.co/strategy/pestel-analysis-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3/.

Abares, A., & Contreras, M. (2022). Adapting the Balanced Scorecard for public education systems: Lessons from Colombia. Educational Management Administration & Leadership, 50(4), 603-619.

Aguilar, F. J. (1967). Scanning the business environment. London: Macmillan.

Baker, T., & Palmer, G. (2021). Participatory planning in education: A case study of collaborative school improvement processes. Journal of Educational Administration, 59(2), 134-150.

Bangkok Bank InnoHub. (2023). การใช้ AI ในระบบการศึกษา: โอกาสและความท้าทายที่มหาวิทยาลัยกำลังเผชิญ. สืบค้นจาก https://www.bangkokbankinnohub.com/th/how-universities-respond-to-the-rise-of-ai/.

Bozkurt, A., & Sharma, R. C. (2020). Emergency remote teaching in a time of global crisis due to Corona Virus pandemic. Asian Journal of Distance Education, 15(1), 1-6.

Bryman, A. (2016). Social research methods. (5th ed.). Oxford: Oxford University Press.

Camp, R. C. (1989). Benchmarking: The search for industry best practices that lead to superior performance. New York: Productivity Press.

Chmielewska, M., Stępień, K., & Deptała, A. (2021). Evaluating Organizational Performance of Public Hospitals using the McKinsey 7S Framework. International Journal of Environmental Research and Public Health, 18(23), 12345.

Cochran, W. G. (1977). Sampling techniques. (3rd ed.). New Jersey: John Wiley & Sons.

Creswell, J. W., & Creswell, J. D. (2018). Research design: Qualitative, quantitative, and mixed methods approaches. (5th ed.). Washington DC: Sage Publications.

Laukkanen, R. (2020). The Finnish education strategy and its success: A case study. International Journal of Educational Policy, 32(2), 159-175.

Organization Development: An International Institute (ODII). (2015). Welcome to the creative power of AIC from Purpose to Power to Leadership. Retrieved from https://www.odii.com/index.php.

Patton, M. Q. (2015). Qualitative research & evaluation methods: Integrating theory and practice. (4th ed.). Washington DC: SAGE Publications.

Smith, R. L., & Johnson, A. E. (2022). Enhancing school planning through participatory approaches: Evidence from a multi-school study. International Journal of Educational Management, 36(1), 47-62.

Sota, C. (2018). Appreciation-Influence-Control (A-I-C). Retrieved from https://www.researchgate.net/publication/325854620_Appreciation-Influence-Control_A-I-C.

Suhardi, B., Nasution, M. L., & Ginting, S. (2022). Transformational strategy and business performance in SMEs: An empirical study from Indonesia. International Journal of Business and Management, 17(3), 45-59.

Waterman, R., Peters, T., & Phillips, J. (1977). Structure is not organization. Business Horizons, 20(3), 61–73.

Weihrich, H., Cannice, M. V., & Koontz, H. (2013). Management: A global, innovative, and entrepreneurial perspective. (14th ed.). New York: McGraw-Hill.