แนวทางการนิเทศภายในสถานศึกษาตามหลักกัลยาณมิตรธรรม 7 ของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 4
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพการนิเทศภายในสถานศึกษาของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 4 (2) ศึกษาแนวทางการนิเทศภายในสถานศึกษาตามหลักกัลยาณมิตรธรรม 7 ของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา และ (3) นำเสนอและประเมินแนวทางการนิเทศภายในสถานศึกษาตามหลักกัลยาณมิตรธรรม 7 ของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา การศึกษานี้เป็นการวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งมีขั้นตอน (1) การศึกษาสภาพใช้แบบสัมภาษณ์ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 15 คน (2) การศึกษาแนวทางใช้แบบสัมภาษณ์ โดยสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 5 รูป/คน และ (3) การนำเสนอแนวทาง โดยการสนทนากลุ่ม จากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 รูป/คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์แบบอุปนัย ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการนิเทศภายในสถานศึกษาของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา พบว่า สถานศึกษามีการดำเนินการนิเทศที่ไม่เป็นระบบ ไม่มีปฏิทินการนิเทศที่ชัดเจน สถานศึกษาจึงต้องวางแผนและดำเนินการนิเทศอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง 2) แนวการนิเทศภายในสถานศึกษาของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา ประกอบด้วย การศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการ การวางแผนการนิเทศ การสร้างสื่อและเครื่องมือนิเทศ การปฏิบัติการนิเทศ และการประเมินผลและรายงานผล โดยบูรณาการการนิเทศภายในสถานศึกษากับหลักกัลยาณมิตรธรรม 7 โดยมีขั้นตอนการดำเนินการ ประกอบด้วย การวางแผน การดำเนินการ การติดตามและประเมินผล และการพัฒนาปรับปรุง 3) ผลการนำเสนอแนวทางการนิเทศภายในสถานศึกษาตามหลักกัลยาณมิตรธรรม 7 ของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา ผู้ทรงคุณวุฒิในการสนทนากลุ่มมีความเห็นเป็นเอกฉันท์ว่ามีความเหมาะสม เป็นไปได้ และเป็นประโยชน์
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
พีรยา ทรัพย์หล่ำ. (2562). แนวทางการดำเนินงานนิเทศภายในโรงเรียนของโรงเรียนขนาดเล็กในจังหวัด นครสวรรค์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 42. (ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์).
ภัณฑิรา ธิตะปัน. (2564). การบริหารตามหลักกัลยาณมิตรธรรม 7 ของผู้บริหารโรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนา จังหวัดขอนแก่น. (ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).
สันติ หัดที. (2563). การพัฒนาระบบการนิเทศภายในด้านการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ สำหรับโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา. (การศึกษาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม).
สายวินิตย์ ดวงสนาม. (2561). การนิเทศภายในสถานศึกษาของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานการศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 2. (ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชมงคลธัญบุรี).
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 4. (2566). คู่มือการพัฒนาคุณภาพการศึกษา. นครศรีธรรมราช: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 4.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2556). การนิเทศภายในสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: คุรุสภา.
สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. (2562). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562. สืบค้นจาก https://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/A/057/T_0049.PDF.
Strauss, A., & Corbin, J. (1998). Basics of qualitative research: Techniques and procedures for developing grounded theory. (2nd ed.). Washington D.C.: Sage Publications.