การพัฒนาทักษะการเขียนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบซิปปาร่วมกับชุดกิจกรรมเสริมทักษะ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อพัฒนาทักษะการเขียนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบซิปปาร่วมกับชุดกิจกรรมเสริมทักษะ (2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการเขียนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ทั้งก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้แบบซิปปาร่วมกับชุดกิจกรรมเสริมทักษะ (3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบซิปปาร่วมกับชุดกิจกรรมเสริมทักษะ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านกอก อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 28 คน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ 1) ชุดกิจกรรมเสริมทักษะ 2) แผนการจัดการเรียนรู้ 3) แบบวัดทักษะการเขียน 4) แบบประเมินความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีแบบ dependent sample t-test ผลการวิจัยพบว่า 1) การจัดการเรียนรู้แบบซิปปาร่วมกับชุดกิจกรรมเสริมทักษะช่วยพัฒนาทักษะการเขียนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 2) การจัดการเรียนรู้แบบซิปปาร่วมกับชุดกิจกรรมเสริมทักษะทำให้คะแนนหลังเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 สูงกว่าคะแนนก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 พึงพอใจในระดับมากต่อการจัดการเรียนรู้แบบซิปปาร่วมกับชุดกิจกรรมเสริมทักษะ
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
กัลยา แข็งแรง. (2559). หลักการสร้างแบบฝึก. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
กุลธิดา คนเสงี่ยม. (2557). การศึกษาผลสัมฤทธิ์การเขียนภาษาอังกฤษโดยใช้รูปแบบการสอนซิปปาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนวัดพรหมเพชร. วารสารสุทธิปริทัศน์, 28(87), 236-251.
ทิวาพร โพธิ์หลวง. (2563). การพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนภาษาอังกฤษเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ)ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามรูปแบบซิปปา (CIPPA Model) ร่วมกับการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิคแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD). สืบค้นจาก http://old.thaigoodview.com/node/230644#google_vignette.
ทิศนา แขมมณี. (2562). ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นุชลี อุปถัมภ์. (2558). จิตวิทยาการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บุรัสกร ธรรมขันธ์. (2563). การพัฒนาความสามารถในการอ่านจับใจความภาษาอังกฤษ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ CIPPA MODEL ร่วมกับ แอพพลิเคชั่น Plickers สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. (ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์).
รัชดาภรณ์ พิมพ์พิสิฐถาวร. (2561). การพัฒนาความสามารถในการเขียนภาษาอังกฤษด้วยแบบฝึกทักษะสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. (ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร).
Marashi, H., & Dadari, L. (2012). The Impact of Using Task-based Writing on EFL Learners' Writing Performance and Creativity. Theory & Practice in Language Studies, 2(12), 2500-2507.