การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรมสาระภูมิศาสตร์ เรื่องรอบรู้ภูมิศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) สร้างและหาค่าประสิทธิภาพของหนังสือเสริมประสบการณ์ ชุด ท่องโลกกว้างไปกับภูมิศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด 80/80 และ (2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษา สาระภูมิศาสตร์ เรื่อง รอบรู้ภูมิศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ระหว่างการสอนโดยใช้หนังสือเสริมประสบการณ์ ชุดท่องโลกกว้างไปกับภูมิศาสตร์กับการสอนแบบปกติ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนวัดประทุมทายการาม ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2567 ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม ยกห้องเรียน โดยใช้วิธีการจับสลาก กลุ่มทดลองคือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2/4 จำนวน 33 คนเรียนโดยใช้หนังสือ เสริมประสบการณ์ และกลุ่มควบคุมคือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2/3 จำนวน 33 คน เรียนโดยใช้การสอนแบบปกติ เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ (1) หนังสือเสริมประสบการณ์ชุดท่องโลกกว้างไปกับภูมิศาสตร์ (2) แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง รอบรู้ภูมิศาสตร์ และ (3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องรอบรู้ภูมิศาสตร์ที่มีค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบทั้งฉบับเท่ากับ 0.92 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีแบบกลุ่มตัวอย่างที่เป็นอิสระต่อกัน (t-test independent) ผลการศึกษาพบว่า 1) หนังสือเสริมประสบการณ์ ชุด ท่องโลกกว้างไปกับภูมิศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 81.17/83.50 ซึ่งมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด 80/80 และ 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษา สาระภูมิศาสตร์ เรื่อง รอบรู้ภูมิศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้หนังสือเสริมประสบการณ์ ชุด ท่องโลกกว้างไปกับภูมิศาสตร์สูงกว่าการสอนแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพุทธศักราช 2542. กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.
กาญจนา ศิริมูสิกะ. (2543). สังคมศึกษา : การสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง. ปัตตานี: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี.
ชะนิตรา คำหม่อง และ สิริพัชร์ เจษฏาวิโรจน์. (2566). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทย เรื่อง ส่วนประกอบของคำพูดของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนอนุบาลพะโต๊ะ ที่ได้รับการสอนโดยใช้หนังสือเสริมประสบการณ์กับการสอนแบบปกติ. วารสารการพัฒนาการเรียนรู้สมัยใหม่, 8(7), 115-127.
ถวัลย์ มาศจรัส และ สุรางค์ เช้าเจริญ. (2554). คู่มือการใช้หนังสือส่งเสริมการอ่าน "หน่วยการเรียนรู้สืบสานภูมิปัญญาไทย" เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ผู้เรียนและการพัฒนาผลงานทางวิชาการ. กรุงเทพฯ: ธารอักษร.
ทิพวิมล โพธิ์วัด. (2567). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ระหว่างการสอนด้วยหนังสือเพื่อเสริมประสบการณ์การเรียนรู้เศรษฐศาสตร์จากใบตองและการสอนแบบปกติ. (ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง).
โนรสามีมี มาน๊ะ, จิตติมา ชอบเอียด, โรสนี จริยะมาการ และ ศุภกิจ ประชุมกาเยาะมาต. (2564). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง สถิติ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ระหว่างการเรียนแบบร่วมมือเทคนิค STAD กับการเรียนแบบปกติ. วารสารศึกษาศาสตร์ มสธ, 14(2), 55-74.
รังสิมันตุ์ ฉิมรักษ์. (2550). การเขียนหนังสือส่งเสริมการอ่าน. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
อรนุช ลิมตศิริ. (2557). นวัตกรรมและเทคโนโลยีการจัดการเรียนรู้. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
Hopkins, K. D. & Stanley, Julian, C. (1981). Educational and Psychological Measurement and Evaluation. Englewood Cliffs, NJ: Prentice-Hall.