การศึกษาและวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงหลักสูตรการศึกษาไทย: ปัจจัย ปัญหา และแนวทางพัฒนา

Main Article Content

จันทร์เพ็ญ แสงดี
สุวรีย์ เพิ่มศิริ
กชภัทร์ สงวนเครือ

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงหลักสูตรการศึกษาไทย โดยพิจารณาปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงหลักสูตร ปัญหาที่เกิดจากการนำหลักสูตรไปใช้ และแนวทางการพัฒนาการศึกษาไทย เนื่องจากหลักสูตรเป็นกลไกหลักในการพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะและทักษะแห่งศตวรรษ ที่ 21 โดยเฉพาะทักษะการคิดวิเคราะห์และการแก้ปัญหา อีกทั้งยังเป็นพลังสำคัญในการยกระดับศักยภาพการแข่งขันของประเทศให้เท่าทันความเปลี่ยนแปลงของโลก อย่างไรก็ตาม หลักสูตรแกนกลางปัจจุบันมีอายุการใช้งานมากกว่า 16 ปี และเพิ่งปรับปรุงครั้งล่าสุดใน พ.ศ. 2566 ซึ่งนักวิชาการเห็นว่ายังล้าสมัย ไม่สอดคล้องกับบริบทเศรษฐกิจ สังคม และขาดความยืดหยุ่น จึงไม่อาจตอบสนองความต้องการของผู้เรียนยุคใหม่ได้เต็มที่ หลักสูตรที่ดีต้องได้รับการพัฒนาและติดตามอย่างสม่ำเสมอ พร้อมสร้างความร่วมมือระหว่างทุกภาคส่วนเพื่อกำหนดวิสัยทัศน์ร่วมว่าเด็กและเยาวชนไทยควรเป็นอย่างไร เมื่อหลักสูตรมีความเป็นระบบ ทันสมัย และเชื่อมโยงบริบทจริง ระบบการศึกษาอื่น ๆ ก็จะได้รับการยกระดับไปพร้อมกันอย่างยั่งยืน

Article Details

How to Cite
แสงดี จ., เพิ่มศิริ ส., & สงวนเครือ ก. (2025). การศึกษาและวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงหลักสูตรการศึกษาไทย: ปัจจัย ปัญหา และแนวทางพัฒนา. Journal of Applied Education, 3(2), 105–118. สืบค้น จาก https://so16.tci-thaijo.org/index.php/JAE/article/view/1356
บท
บทความวิชาการ

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2566). การปรับปรุงหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

จิตตวิสุทธิ์ วิมุตติปัญญา. (2568). การพัฒนาหลักสูตรและการจัดการศึกษาไทย. สืบค้นจาก https://identity.bsru.ac.th/archives/1895

จิราภรณ์ ชูมณี. (2565). ความสำคัญของการประเมินผลในกระบวนการนโยบายการศึกษา. วารสารวิจัยการศึกษา, 27(1), 12–25.

ชุติมา อินทร์แก้ว. (2566). การเปลี่ยนแปลงนโยบายการศึกษากับผลกระทบต่อครูและผู้บริหาร. วารสารการศึกษาท้องถิ่น, 14(3), 45–60.

ทีดีอาร์ไอ. (2566). วิเคราะห์วิกฤตการศึกษาจากผลสอบ PISA 2022. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย.

ธัญลักษณ์ สุวรรณวัฒน์. (2562). นโยบายการศึกษากับความหลากหลายในบริบทท้องถิ่น. วารสารพัฒนาการศึกษา, 19(4), 45–58.

พงศ์ทัศ วนิชานันท์. (2566). การปฏิรูปการศึกษาไทย: บทเรียนจากผลสอบ PISA 2022. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ).

มารุต พัฒผล. (2567). แนวคิดหลักการพัฒนาหลักสูตร. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ศูนย์ผู้นำนวัตกรรมหลักสูตรและการเรียนรู้.

วิทยา เพิ่มพูล. (2564). ปัญหาการปรับใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานในบริบทท้องถิ่น. วารสารวิจัยการศึกษา, 10(4), 101–118.

สมาน อัศวภูมิ. (2560). ทบทวนนิยามการศึกษาและการเรียนรู้: จุดเริ่มต้นการแก้ปัญหาคุณภาพการศึกษา. วารสารราชธานีนวัตกรรมทางสังคมศาสตร์, 1(3), 4–5.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560–2579. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2564). รายงานการศึกษาการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนจากผลการทดสอบ O NET และ PISA (1). กรุงเทพฯ: บริษัท 21 เซ็นจูรี่.

สุพจน์ มงคลธนวิจิตร. (2564). การปฏิรูปการศึกษากับความท้าทายในการกำหนดนโยบาย. วารสารนโยบายและการบริหาร, 8(2), 89–102.

สุรีย์พร แก้วมณี. (2565). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาหลักสูตร. วารสารศึกษาศาสตร์, 18(1), 22–38.

แสงระวี มงคลบุญ. (2563). บทบาทของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในกระบวนการนโยบายการศึกษา. วารสารสังคมศาสตร์ไทย, 21(1), 101–120.

Fullan, M. (2020). The new meaning of educational change. (5th ed.). New York: Teachers College Press.

Marsh, C., & Willis, G. (1995). Curriculum: Alternative approaches, ongoing issues. New Jersey: Prentice Hall.

Sanguanngarm, N. (2020). Factors affecting the failure of Thai education to equip Thai students with 21st century skills. Community and Social Development Journal, 21(2), 1–19.

Verma, A., Verma, K., & Yadav, V. (2023). Education: Meaning, definition & types. In Agriculture extension education (pp. 1–6). Uttar Pradesh: S.R. Scientific Publication.