ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตการทำงานของครูกับแรงจูงใจในการทำงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 2

Main Article Content

ณัฐพล เมฆเคลื่อน
ปริญญา กิติอาษา
น้ำฝน ยาปัน
ธนพล คงดารา
กฤติเดช ธรรมรัตนเมธา
สถิรพร เชาวน์ชัย

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาคุณภาพชีวิตการทำงานของครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 2 (2) ศึกษาแรงจูงใจในการทำงานของครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 2 และ (3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตการทำงานของครูกับแรงจูงใจในการทำงานของครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 2 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 2 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 285 คน โดยทำการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วนของครูในแต่ละอำเภอ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับคุณภาพชีวิตการทำงานของครูกับแรงจูงใจในการทำงานของครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 2 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่า 1) คุณภาพชีวิตการทำงานของครู โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็น รายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านค่าตอบแทนที่เพียงพอและยุติธรรม รองลงมา คือ ด้านการทำงานร่วมกันและความสัมพันธ์ที่ดีกับบุคคลอื่น และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านความสมดุลชีวิตการทำงานกับชีวิตส่วนตัว 2) แรงจูงใจในการทำงานของครู โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านความสำเร็จในการทำงาน รองลงมา คือ ด้านการได้รับการยอมรับนับถือ และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านความก้าวหน้าในหน้าที่ 3) ระดับความสัมพันธ์ระหว่างระหว่างคุณภาพชีวิตการทำงานของครูกับแรงจูงใจในการทำงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 2 โดยภาพรวมมีสหสัมพันธ์ทางบวกในระดับ ปานกลางอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

Article Details

How to Cite
เมฆเคลื่อน ณ., กิติอาษา ป., ยาปัน น., คงดารา ธ., ธรรมรัตนเมธา ก., & เชาวน์ชัย ส. (2024). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตการทำงานของครูกับแรงจูงใจในการทำงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 2. Journal of Applied Education, 2(6), 13–22. สืบค้น จาก https://so16.tci-thaijo.org/index.php/JAE/article/view/1210
บท
บทความวิจัย

References

เกวลี ตระกูลสุขทรัพย์. (2564). บรรยากาศองค์การที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาประจวบคีรีขันธ์. (ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง).

เกวลี พ่วงศรี. (2557). การศึกษาปัจจัยคุณสมบัติส่วนบุคคล แรงจูงใจ และสภาพแวดล้อมในการทำงานที่มีต่อความผูกพันต่อองค์การ: กรณีศึกษา บริษัท วินสัน กรุ๊ป. (บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ).

ปิยะนันท์ สายัณห์ปทุม. (2565). แรงจูงใจในการทำงานของครูในยุคดิจิทัล. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 45(3), 78-92.

พระมหาทิพย์ โอษฐงาม. (2563). รูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นของปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของครูโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. (ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร).

ภัทริกานต์ บุญฤทธิ์. (2566). ปัจจัยบรรยากาศองค์การที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของครูโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสงขลา สตูล. (ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยหาดใหญ่).

โรงพยาบาลราชวิถี. (2564). สัญญาณ Burnout Syndrome อาการของคน เบื่องาน หมดไฟ และวิธีจัดการ. สืบค้น 9 กรกฎาคม 2567. จาก https://www.rajavithi.go.th/rj/?p=16953.

วิไลลักษณ์ ลังกา. (2562). แรงจูงใจในการทำงานของครูในยุคการศึกษา 4.0. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี, 8(2), 190-203.

ศักดิ์ชัย นิรัญทวี. (2560). แรงจูงใจในการทำงานของครู: ปัจจัยสำคัญสู่ความสำเร็จในการปฏิรูปการศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 19(3), 1-14.

สุพรรณี มาตรโพธิ์. (2564). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 10(2), 117-130.

สุภัสศรณ์ พนมไพรพฤกษา. (2560). การพัฒนาแนวทางการเสริมสร้างคุณภาพชีวิตการทำงานของครูโรงเรียนเอกชน ประเภทสามัญศึกษา จังหวัดชัยภูมิ. (การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม).

อนันต์ ชลเขตต์. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตการทำงานของครูกับประสิทธิผลของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามจังหวัดสงขลา เขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้. (ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยหาดใหญ่).

Daniels, E. (2023). Understanding teacher motivation: What makes teachers tick? Educational Psychology Review, 35(2), 45-62.

Gustafsson, J. E., Nilsen, T., & Hansen, K. Y. (2018). School characteristics moderating the relation between student socio-economic status and mathematics achievement in grade 8. Evidence from 50 countries in TIMSS 2011. Studies in Educational Evaluation, 57, 16-30.

Han, J., & Yin, H. (2021). Teacher motivation: Definition, research development and implications for teachers. Cogent Education, 8(1), 1892958.