ความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนกลุ่มเพ็ญ 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารสถานศึกษา และ (2) เพื่อเปรียบเทียบความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนกลุ่มเพ็ญ 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 จำแนกตามตำแหน่ง ประสบการณ์ในการทำงาน และระดับการศึกษา การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนในโรงเรียนกลุ่มเพ็ญ 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 จำนวน 127 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) และการทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ของเชฟเฟ่ (Scheffe') ผลการวิจัยพบว่า ความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนกลุ่มเพ็ญ 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 โดยรวมอยู่ในระดับมาก ผลการเปรียบเทียบความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนกลุ่มเพ็ญ 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 พบว่า ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนที่มีตำแหน่ง ประสบการณ์ในการทำงาน และระดับการศึกษาที่ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนกลุ่มเพ็ญ 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กนกพร โพธิมณี. (2562). ความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี. (ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี).
กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. (2558). ฝึกคิด แก้ไขปัญหา พัฒนา EQ. กรุงเทพฯ: ศูนย์สื่อและสิ่งพิมพ์แก้วเจ้าจอม มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา.
กุหลาบ ปุริสาร. (2561). แนวทางการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์สู่ผู้นำที่มีประสิทธิผลของผู้บริหารในศตวรรษที่ 21. วารสารวิทยาลัยบัณฑิตเอเชีย, 8(1), 1-9
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น ฉบับปรับปรุงใหม่. (พิมพ์ครั้งที่10). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
ปฐมวิทย์ วิธิรวาท. (2565). ความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาพะเยา เขต 1. (การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยพะเยา).
สมฤทัย คุ้มสกุล. (2559). ความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1. (การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา).
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1. (2565). ข้อมูลสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1. อุดรธานี: กลุ่มนโยบายและแผน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2552). องค์ความรู้เกี่ยวกับคุณลักษณะของคนไทยที่พึงประสงค์: ความฉลาดทางอารมณ์ (Emotional Quotient: EQ). กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560 - 2579. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.
Cooper. R. K. & Sawaf, A. (1997). Executive EQ Intelligence in Leadership and Organization. New York: Grossest & Putna.
Gardner, H. (1993). Multiple Intelligence: The Theory in Practice. New York: Basic Books.
Goleman, D. (2013). Emotional Intelligence It Can Matter More Than IQ. New York: Bantam Book.
Justin, B. (2018). An inside Look: Steve Jobs. Teaches Business Strategy 101 Want to improve your business strategy. New York: Basic Books.
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.
Salovey, P. & Mayer, J.D. (1997). Emotional intelligence. Imagination, cognition and personality. New York: Basic Books.
Wagner, R. K. & Sternberg, R. J. (1985). Practical Intelligence: Nature and Origins of Competence in The Everyday World. Cambridge: Cambridge University Press.