การประยุกต์ใช้หลักการทรงงานข้อที่ 8 : ประหยัด เรียบง่าย ได้ประโยชน์สูงสุด
คำสำคัญ:
การประยุกต์ใช้, หลักการทรงงานข้อที่ 8, ประหยัด, เรียบง่าย, ได้ประโยชน์สูงสุดบทคัดย่อ
บทความวิชาการฉบับนี้มุ่งศึกษาการประยุกต์ใช้หลักการทรงงานข้อที่ 8 คือ ประหยัด เรียบง่าย ได้ประโยชน์สูงสุด ผลการวิเคราะห์พบว่า ประหยัด หมายถึง การใช้อย่างเหมาะสม คุ้มค่า ไม่ฟุ่มเฟือย ไม่ใช้เกินจำเป็น การนำหลัก “ประหยัด เรียบง่าย ได้ประโยชน์สูงสุด” มาใช้ในชีวิตประจำวันสามารถทำได้โดยการปฏิบัติตามขั้นตอนต่าง ๆ ดังนี้ 1) ประหยัด เป็นขั้นตอนของการวางแผนการใช้ทรัพยากรและจัดการงบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพ 2) เรียบง่าย เป็นขั้นตอนการทำงานที่ไม่ซับซ้อน ลดขั้นตอนที่ไม่จำเป็น และใช้เครื่องมือที่เหมาะสม และ 3) ได้ประโยชน์สูงสุด เป็นขั้นตอนของการตั้งเป้าหมายและวางแผนการใช้ทรัพยากรให้มีประสิทธิภาพสูงสุด และเป็นกระบวนการในการพัฒนาไปพร้อม ๆ กัน การประยุกต์ใช้หลักการทรงงานข้อที่ 8 : ประหยัด เรียบง่าย ได้ประโยชน์สูงสุด ให้เกิดประสิทธิภาพนั้น ต้องคำนึงถึงความจำเป็นและความคุ้มค่าในทุกมิติ หลักการดังกล่าวนี้ ใช้ความประหยัดและความเรียบง่าย เป็นพื้นฐานที่นำไปสู่การได้ประโยชน์สูงสุด หรือกล่าวอีกอย่างหนึ่งได้ว่า ประหยัดและเรียบง่ายนั้นเป็นส่วนของเหตุ ส่วนการได้ประโยชน์สูงสุดเป็นส่วนของผลลัพธ์ หลักการนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ทั้งมิติของการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม องค์ความรู้ใหม่ที่ได้จากการศึกษา ได้แก่ การประยุกต์ใช้หลักการทรงงานข้อที่ 8 : ประหยัด เรียบง่าย ได้ประโยชน์สูงสุด โดยใช้หลัก “ประหยัด” และ “เรียบง่าย” เป็นพื้นฐานที่นำไปสู่การได้ “ประโยชน์สูงสุด” หลักการนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ทั้งมิติของการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม
References
ขนิษฐา กาญจนรังสีนนท์, กาญจนา รอดแก้ว, ประไพ ศิวะลีราวิราศ, พรหมพิริยะ พนาสนธิ์, ศยามล ลัคณาสถิต และ รังสรรค์ หังสนาวิน. (2554). รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์โครงการวิจัยประโยชน์สุขจากเศรษฐกิจพอเพียง. รายงานผลการวิจัย. กรุงเทพฯ : สํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
ชัยโรจน์ นพเฉลิมโรจน์. (2565). การคิดนวัตกรรมด้วยหลักการทรงงานตามหลักปรัชญาหลังนวยุค. วารสารการวิจัยเพื่อพัฒนาชุมชน, 15(2), 111-117
_________. (2565). องค์รวม : การศึกษาเชิงวิเคราะห์ วิจักษ์ และวิธาน. วารสารวิจัยธรรมศึกษา, 5(2), 222-230.
_________. (2567ก). การประยุกต์ใช้หลักการทรงงานข้อที่ 1 : ศึกษาข้อมูลอย่างเป็นระบบ. วารสารสถาบันพอดี, 1(1), 38-53.
_________. (2567ข). การประยุกต์ใช้หลักการทรงงานข้อที่ 2 : ระเบิดจากข้างใน. วารสารสถาบันพอดี, 1(2), 46-60.
_________. (2567ค). การประยุกต์ใช้หลักการทรงงานข้อที่ 3 : แก้ปัญหาที่จุดเล็ก. วารสารสถาบันพอดี, 1(3), 33-40.
_________. (2567ง). การประยุกต์ใช้หลักการทรงงานข้อที่ 4 : ทำตามลำดับขั้น. วารสารสถาบันพอดี, 1(4), 33-44.
_________. (2567จ). การประยุกต์ใช้หลักการทรงงานข้อที่ 5 : ภูมิสังคม. วารสารสถาบันพอดี, 1(5), 30-40.
_________. (2567ฉ). การประยุกต์ใช้หลักการทรงงานข้อที่ 6 : องค์รวม. วารสารสถาบันพอดี, 1(6), 44-57.
_________. (2567ช). การประยุกต์ใช้หลักการทรงงานข้อที่ 7 : ไม่ติดตำรา. วารสารสถาบันพอดี, 1(7), 41-52.
เมธา หริมเทพาธิป. (2559). การศึกษาตามหลักปรัชญาหลังนวยุคนิยมสายกลาง : วิเคราะห์จากหลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรภูมิพลอดุลเดช. วารสารศึกษาศาสตร์ มมร, 4(1), 120-132.
รัษฎากร ชัยเรืองรัชต์. (2554). การศึกษางานออกแบบที่มีลักษณะเรียบง่าย. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.). (2559). หลักการทรงงานในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพฯ : สำนักงาน กปร.
อภิชัย พันธเสน. (2551). การวิจัยและ พัฒนาเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง. คณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. [ออนไลน์].แหล่งที่มา : http://bsris.swu.ac.th/filenews/53rdbsriapichai.pdf [14 มกราคม2555]
อำนวย แตงรอด. (2540). การเปิดรับข่าวสารการประหยัด ประโยชน์จากข่าวสารกับการซื้อสินค้าฟุ่มเฟือยต่างประเทศในภาวะวิกฤตเศรษฐกิจของวัยรุ่นในกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารสถาบันพอดี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.