การบริหารแบบมีส่วนร่วมตามหลักปรัชญาหลังนวยุคสายกลาง
คำสำคัญ:
การบริหารแบบมีส่วนร่วม, ปรัชญา, หลังนวยุค, หลังนวยุคสายกลางบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้ มุ่งศึกษาเชิงวิเคราะห์การบริหารแบบมีส่วนร่วมตามหลักปรัชญาหลังนวยุคสายกลาง ผลการวิเคราะห์พบว่า การบริหารแบบมีส่วนร่วมตามหลักปรัชญาหลังนวยุคสายกลาง ควรมีการบริหารอย่างสร้างสรรค์ ปรับตัว ร่วมมือ และแสวงหา เพื่อให้เกิดคุณภาพชีวิตของคนในองค์กรอย่างสูงสุด ดังนี้ 1) การสร้างสรรค์ ได้แก่ การส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมจากทุกคนในองค์กร การเปิดโอกาสให้บุคลากรมีส่วนร่วมในการพัฒนานโยบายและกระบวนการทำงาน การยอมรับและสนับสนุนความคิดใหม่ ๆ และการทดลองสิ่งใหม่ ๆ ที่สามารถนำไปสู่การพัฒนาและปรับปรุงองค์กร 2) การปรับตัว ได้แก่ ความสามารถขององค์กรในการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทั้งจากภายในและภายนอก การมีความยืดหยุ่นในการปรับเปลี่ยนวิธีการทำงาน นโยบาย และการปฏิบัติงานตามสถานการณ์ การเปิดรับความหลากหลายและความแตกต่าง และการส่งเสริมให้บุคลากรมีความสามารถในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงได้ 3) การร่วมมือ ได้แก่ การส่งเสริมให้เกิดการทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีในองค์กร การแบ่งปันข้อมูล ความรู้ และทรัพยากรอย่างเท่าเทียมกัน การสร้างวัฒนธรรมการทำงานเป็นทีม และการส่งเสริมความเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร การมีส่วนร่วมของทุกคนในการตัดสินใจและการดำเนินงาน และ 4) การแสวงหา ได้แก่ การมุ่งมั่นในการแสวงหาความรู้และประสบการณ์ใหม่ ๆ การตั้งเป้าหมายและความท้าทายใหม่ ๆ ให้กับตัวเองและองค์กร การสนับสนุนการเรียนรู้และการพัฒนาตนเองของบุคลากร การมุ่งเน้นการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อให้สามารถก้าวไปข้างหน้าได้อย่างมั่นคง
References
คณะกรรมการบริหารงานวิจัย. (2564). การพัฒนารูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมในโรงเรียนคุณภาพของชุมชน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน : กระทรวงศึกษาธิการ.
เจตนิพัทธ์ พิธิยานุวัฒน์ และคณะ. (2564). อุเบกขากับปรัชญาหลังนวยุคสายกลาง. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 9(5), 2051-2063.
ชัยโรจน์ นพเฉลิมโรจน์. (2565). การคิดนวัตกรรมด้วยหลักการทรงงานตามหลักปรัชญาหลังนวยุค. วารสารการวิจัยเพื่อพัฒนาชุมชน, 15(2), 111-117.
ทำนอง ภูเกิดพิมพ์. (2551). แนวคิดการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของชุมชน. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นัชชา ทิพเนตร. (2565). การมีส่วนร่วมของประชาชนและรูปแบบการมีส่วนร่วมที่ส่งผลต่อการ พัฒนาท้องถิ่นของเทศบาลตำบล จังหวัดนครราชสีมา. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 9(8), 395-413.
นันทกิตติ แก้วกล้า. (2553). การมีส่วนร่วมของครูผู้สอนในการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนเขตตำบลท่ากระดาน สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1. สารนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยบูรพา.
นิเวศน์ วงศ์สุวรรณ และอินถา ศิริวรรณ. (2560). การบริหารแบบมีส่วนร่วม. วารสารมหาจุฬาวิชาการ, 4(1), 176-187.
พระครูโอภาสสราธิคุณ (ชาตรี อาสโภ). (2564). พุทธธรรมาภิบาลกับปรัชญาหลังนวยุคสายกลาง. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 9(4), 1444-1454.
รัตนา อยู่สุข. (2551). การมีส่วนร่วมในการบริหารโรงเรียนของครูโรงเรียนเอกชน ในเขตพื้นที่การศึกษาสมุทรปราการ เขต 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต. โครงการบัณฑิตศึกษา : มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.
วัชรินทร์ อินทพรหม. (2557). รูปแบบการมีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่นของประชาชน. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 8(3), 278-289.
สิรินทร์ กันยาวิริยะ และชิสา กันยาวิริยะ. (2567). การบริหารธุรกิจ 5 กระบวนทรรศน์. วารสารสถาบันพอดี, 1(2), 17-31.
สุดธินีย์ ทองจันทร์, เมธา หริมเทพาธิป และกีรติ บุญเจือ. (2563). การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ป่วยด้วยหลักปรัชญาหลังนวยุคสายกลาง. วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา, 10(1), 31-41.
Douglas, Tom. (1988). Group : Understanding People Gathered Together. 3rd ed. New York : Rout ledge a Division of Rout ledge, Chapman and Hall.
Hoy, Wayne K. and G. Miskel Cecil. (1978). Educational Administration : Theory Research and Practice. New York : Random House.
Likert, Rensis. (1967). “The Method of Constructing and Attitude Scale”. In Reading in Fishbeic, M (Ed.), Attitude Theory and Measurement. (pp. 90-95). New York.
Likert, S. (1961). New patterns of management. New York : McGraw-Hill.
McClelland, David C. (1961). The Achieving Society. New York : D. Van Nostrand Company Inc.
Swansburg, Russell C. (1996). Management and Leadership for Nurse Managers. Boston : Jones and Bartlett Publishers.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารสถาบันพอดี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.