การพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างเป็นองค์รวมตามหลักฆราวาสธรรม 4
คำสำคัญ:
ฆราวาสธรรม 4, คุณภาพชีวิต, องค์รวม, การพัฒนาบทคัดย่อ
การวิจัยฉบับนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เอกสาร มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ การพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างเป็นองค์รวมตามหลักฆราวาสธรรม 4 ผลการวิจัยพบว่า คุณภาพชีวิต หมายถึงระดับของการมีชีวิตที่ดีและมีความสุขในด้านร่างกาย จิตใจ ความสัมพันธ์ทางสังคมและสิ่งแวดล้อม บนพื้นฐานของฆราวาสธรรม 4 ซึ่งประกอบด้วย สัจจะ (ความจริงใจและความซื่อสัตย์) ทมะ (การฝึกฝนอบรมตน) ขันติ (ความอดทนและเข้มแข็ง) และจาคะ (ความเสียสละและแบ่งปัน) การนำหลักฆราวาสธรรม 4 มาใช้ในชีวิตประจำวันมีผลต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตใน 4 ด้าน คือ ด้านร่างกาย ด้านจิตใจ ด้านความสัมพันธ์ทางสังคม และด้านสิ่งแวดล้อม การนำหลักฆราวาสธรรม 4 มาใช้ในชีวิตประจำวันสามารถช่วยเสริมสร้างความสมดุลและความสุขในชีวิต ทำให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีในสังคม และสร้างสภาพแวดล้อมที่เป็นสุขและยั่งยืน ข้อเสนอแนะจากการวิจัยคือการส่งเสริมการศึกษาหลักฆราวาสธรรม 4 และการนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตในทุกด้าน
References
ชลตวรรณ ขุมเพ็ชร และระวิง เรืองสังข์. (2565). การส่งเสริมความสุขตามหลักฆราวาสธรรมของครู. วารสาร นิตยสารเสียงธรรมจากมหายาน, 8(2), 1-10.
ณัฐศรัณย์ ชุมวรฐายี. (2560). ศึกษาหลักฆราวาสธรรม 4 ในการดำเนินชีวิตของผู้ปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา วัดปัญญานันทาราม จังหวัดปทุมธานี. สารนิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ดิลก บุญอิ่ม และพระอธิการสุชาติ จนฺทสโร (สายโรจน์). (2561). ฆราวาสธรรม 4 : สูตรการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามวิถีพุทธ. วารสารวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง, 7(2), 338-352.
พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2550). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพฯ : มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร : มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
อนรรฆ อิสเฮาะ. (2562). คุณภาพชีวิตของประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตําบลสะกอม อําเภอเทพา จังหวัดสงขลา. สารนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ : มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
อุเทน ลาพิงค์ และพระมหาวิเศษ ปญฺญาวชิโร. (2565). การประยุกต์ใช้หลักฆราวาสธรรมในการครองเรือนของชาวไทลื้อ ในเขตปกครองตนเองสิบสองปันนา สาธารณรัฐประชาชนจีน. วารสารปณิธาน, 18(1), 234-258.
Maslow, A. H. (1954). Motivation and Personality. New York : Harper.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารสถาบันพอดี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.