ผู้นำคุณธรรมตามหลักปรัชญาหลังนวยุคสายกลาง
คำสำคัญ:
ผู้นำ, คุณธรรม, ปรัชญาหลังนวยุคสายกลางบทคัดย่อ
บทความวิจัยฉบับนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เอกสาร มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ผู้นำคุณธรรมตามหลักปรัชญาหลังนวยุคสายกลาง ผลการวิจัยพบว่า ผู้นำคุณธรรมตามหลักปรัชญาหลังนวยุคสายกลางเป็นผู้นำที่มีคุณสมบัติของผู้นำเชิงบารมี ผู้นำจิตวิญญาณ ผู้นำแบบรับใช้ ผู้นำการเปลี่ยนแปลง มีคุณธรรมและจริยธรรมที่สร้างความตระหนักรู้ให้เกิดแก่ตนเองและผู้อื่น มีความใส่ใจดูแล และแบ่งปัน มีวิจารณญาณ คือ การวิเคราะห์ การประเมินค่าสู่การตัดสินใจ และประยุกต์ใช้เพื่อให้เกิดการบริหารงานสู่ความสำเร็จร่วมกันในองค์กร และบริหารคนให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดี มีทัศนคติที่เปิดกว้าง มององค์รวม ส่งเสริมการเกื้อกูลซึ่งกันและกันด้วยความรักความเข้าใจ ส่งเสริมการมีส่วนร่วม ให้เกียรติกับผู้ร่วมงาน เคารพในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ เป็นผู้นำที่บริหารตนอย่างต่อเนื่องเพื่อนำผู้คนไปสู่เป้าหมายของความสุข คือ พัฒนาคุณภาพชีวิตทั้งของตนเองและผู้อื่นด้วยพลังสร้างสรรค์ พลังปรับตัว พลังร่วมมือ และพลังแสวงหา มีการวางนโยบายด้านธรรมาภิบาลหรือบรรษัทภิบาลอย่างชัดเจน องค์ความรู้ใหม่ในการวิจัยครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าผู้นำคุณธรรมตามหลักปรัชญาหลังนวยุคสายกลาง แตกต่างจากผู้นำทั่วไปที่เน้นในเรื่องการยอมรับทางด้านความรู้และความสามารถที่เหนือกว่าคนอื่น ผู้นำคุณธรรมนั้นต้องสร้างขึ้นจากสติปัญญาและคุณธรรม สร้างจิตสำนึกหรือความตระหนักรู้ให้กับคนในองค์กรหรือ คนทั่วไปเพื่อให้เกิดความรู้รักสามัคคี เชื่อมต่อกันด้วยความรักความเข้าใจ ให้ความสำคัญกับสันติสุข มีความริเริ่มที่สร้างสรรค์ สามารถเป็นแบบอย่างที่นำบุคคลทั้งทางด้านจิตใจและความประพฤติทางกายและวาจาไปในทิศทางที่ถูกต้อง คือ ทิศทางที่ไม่เป็นไปเพื่อการเบียดเบียน เป็นทิศทางแห่งความเมตตากรุณา เสียสละ แบ่งปัน เกื้อกูลกันสู่ความสงบสุข เป็นไปเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตร่วมกัน
References
เพ็ญนภา ศรีแปลก. (2563). การศึกษาภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงาน. เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏรําไพพรรณี.
มยุรี ศรีวงษ์ชัย และอำนวย ทองโปร่ง. (2566). ภาวะผู้นำเชิงอำนาจบารมีของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนกลุ่มกรุงเทพตะวันออก สังกัดกรุงเทพมหานคร. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์, 8(1), 464-473.
มัณฑนา ชุมปัญญา. (2563). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2. วิทยานิพนธ์ ค.ม. สกลนคร : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
รัตติกรณ์ จงวิศาล. (2564). จิตวิทยาองค์กร. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ : บริษัท เอเชีย ดิจิตอล การพิมพ์ จำกัด.
ศิริธร พิมพ์ฝด. (2555). ภาวะผู้นำ.[ออนไลน์]. แหล่งที่มา : https://www.gotoknow.org/posts/320948 [5 มิถุนายน 2567]
ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2558). องค์การและการจัดการ. กรุงเทพฯ : ธรรมสาร.
สมเกียรติ ตังกิจวานิชย์ และคณะ. (2546). ปฏิรูปการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อการเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ : สํานักงานสถิติแห่งชาติ.
สุวรรณ แสงดาว. (2559). คุณธรรม 9 ประการ.[ออนไลน์]. แหล่งที่มา : https://sites.google.com/site/suwanaccess/khu [5 มิถุนายน 2567]
อนันท์ งามสะอาด. (2561). ภาวะผู้นำเชิงคุณธรรม (Ethical leadership).[ออนไลน์]. แหล่งที่มา : https://www.facebook.com/TTECH.BDI/posts/1572049492881517/ [5 มิถุนายน 2567]
Burns, J. M. (1978). Leadership. New York : Harper & Row.
Fly LW, Matherly LL. (2006). Spiritual leadership as an integrating paradigm for positive leadership development. paper presented at the international Gallup leadership summit : Washington, DC.
Sergiovanni, T.J., and Moore, J.H. (1989). Schooling for tomorrow. Boston : Allyn & Bacon.
Yukl G. (2013). Leadership in Organizations (8th ed.). New Jersey : Pearson Education.
Yukl, G. (2010). Leadership in Organizations. (7th ed.). New Jersey : Prentice Hall.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารสถาบันพอดี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.