การประยุกต์ใช้หลักการทรงงานข้อที่ 6 : องค์รวม
คำสำคัญ:
การประยุกต์ใช้, หลักการทรงงานข้อที่ 6, องค์รวมบทคัดย่อ
บทความวิชาการฉบับนี้มุ่งศึกษาการประยุกต์ใช้หลักการทรงงานข้อที่ 6 คือ องค์รวม ผลการวิเคราะห์พบว่า แนวทางการนำหลักการทรงงานข้อนี้ไปประยุกต์ใช้ อาจสามารถประยุกต์ใช้ได้ดังนี้ 1) มองภาพรวมของผลลัพธ์ให้ชัดเจน เริ่มต้นจากการวิเคราะห์ปัญหาอย่างรอบด้าน ตั้งเป้าหมายที่ชัดเจนและครอบคลุมทุกมิติที่เกี่ยวข้อง ประเมินผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นทั้งทางบวกและทางลบ เพื่อเตรียมการป้องกันหรือแก้ไขปัญหาที่อาจเกิดขึ้น รวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์จากทุกมุมมอง โดยใช้ข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่หลากหลายและครบถ้วน เช่น ข้อมูลเชิงสถิติ ความเห็นของผู้เชี่ยวชาญ และความเห็นของประชาชนที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น การที่ต้องวิเคราะห์ข้อมูลอย่างละเอียดเช่นนี้ก็เพื่อให้เห็นภาพรวมของปัญหาและ แนวทางการแก้ไข มีการวางแผนการดำเนินงานที่ครอบคลุมทุกขั้นตอนและปัจจัยที่เกี่ยวข้องและเพื่อกำหนดแนวทางการปฏิบัติและการติดตามผลอย่างเป็นระบบ เพื่อให้สามารถปรับปรุงแก้ไขได้ตามความเหมาะสม 2) สร้างเหตุปัจจัยให้สอดคล้องกับผลลัพธ์ เป็นความตระหนักรู้ถึงองค์ประกอบย่อยที่มีความสัมพันธ์ต่อกันและกัน ทั้งในแง่องค์ประกอบที่ทำให้เป้าหมายสำเร็จ หรือในแง่สาเหตุต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดปัญหา ตลอดจนผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการตัดสินใจอะไรบางอย่าง เป็นการมองรอบด้านให้ครอบคลุมประเด็นต่าง ๆ ให้มากที่สุด เพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหาหรือทำให้เป้าหมายสำเร็จ โดยใช้วิธีการที่เหมาะสมต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ณ ปัจจุบัน 3) มองให้เห็นปัญหาและทางออกอย่างรอบด้าน คือ การมองให้เห็นถึงปัญหาและอุปสรรคที่จะเกิดขึ้นหรือมีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นได้ ก่อนเริ่มการดำเนินงาน ควรทำการวิเคราะห์ความเสี่ยงและอุปสรรคที่อาจเกิดขึ้นในทุกมิติ
References
การศาสนา, กรม. (2525). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง. กรุงเทพฯ : กรมการศาสนา.
ชัยโรจน์ นพเฉลิมโรจน์. (2565). การคิดนวัตกรรมด้วยหลักการทรงงานตามหลักปรัชญาหลังนวยุค. วารสารการวิจัยเพื่อพัฒนาชุมชน, 15(2), 111-117.
ชัยโรจน์ นพเฉลิมโรจน์. (2565). องค์รวม : การศึกษาเชิงวิเคราะห์ วิจักษ์ และวิธาน. วารสารวิจัยธรรมศึกษา, 5(2), 222-230.
ชัยโรจน์ นพเฉลิมโรจน์. (2567ก). การประยุกต์ใช้หลักการทรงงานข้อที่ 1 : ศึกษาข้อมูลอย่างเป็นระบบ. วารสารสถาบันพอดี, 1(1), 38-53.
ชัยโรจน์ นพเฉลิมโรจน์. (2567ข). การประยุกต์ใช้หลักการทรงงานข้อที่ 2 : ระเบิดจากข้างใน. วารสารสถาบันพอดี, 1(2), 46-60.
ชัยโรจน์ นพเฉลิมโรจน์. (2567ค). การประยุกต์ใช้หลักการทรงงานข้อที่ 3 : แก้ปัญหาที่จุดเล็ก. วารสารสถาบันพอดี, 1(3), 33-40.
ชัยโรจน์ นพเฉลิมโรจน์. (2567ง). การประยุกต์ใช้หลักการทรงงานข้อที่ 4 : ทำตามลำดับขั้น. วารสารสถาบันพอดี, 1(4), 33-44.
ชัยโรจน์ นพเฉลิมโรจน์. (2567จ). การประยุกต์ใช้หลักการทรงงานข้อที่ 5 : ภูมิสังคม. วารสารสถาบันพอดี, 1(5), 30-40.
เมธา หริมเทพาธิป. (2559). การศึกษาตามหลักปรัชญาหลังนวยุคนิยมสายกลาง : วิเคราะห์จากหลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรภูมิพลอดุลเดช. วารสารศึกษาศาสตร์ มมร, 4(1), 120-132.
วิลาศ เตชะไพบูลย์. (2567). สถาบันนโยบายศึกษา. สังคมไทยแบบองค์รวมกับองค์รวมแบบไทยๆ. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : https://www.fpps.or.th/news.php?detail=n1024512798.news [7 มิถุนายน 2567]
วีระ สมบูรณ์. (2547). คลังข้อมูลและความรู้ระบบสุขภาพ สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.). แบบแผนและความหมายแห่งองค์รวม. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : https://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/1594?locale-attribute=th [7 มิถุนายน 2567]
ศรุตปุณธนัชญ์ ปูไลอารีย์, จสต. (2567). การบริหารที่เป็นองค์รวม. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : http://www.wdoae.doae.go.th/wp2018/wp-content/uploads/2021/ [7 มิถุนายน 2567]
สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.). (2559). หลักการทรงงานในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพฯ : สำนักงาน กปร.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารสถาบันพอดี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.