การศึกษาเชิงวิเคราะห์วิธีบรรเทาความโกรธของ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
คำสำคัญ:
ความโกรธ, วิธีบรรเทาความโกรธ, สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต)บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้ มุ่งศึกษาเชิงวิเคราะห์วิธีบรรเทาโกรธของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต) ประกอบด้วย ขั้นที่ 1 นึกถึงผลเสียของความเป็นคนมักโกรธ ขั้นที่ 2 พิจารณาโทษของความโกรธ ขั้นที่ 3 นึกถึงความดีของคนที่เราโกรธ ขั้นที่ 4 พิจารณาว่า ความโกรธ คือ การสร้างทุกข์ให้ตัวเอง และเป็นการลงโทษ ขั้นที่ 5 พิจารณาความที่สัตว์มีกรรมเป็นของตน ขั้นที่ 6 พิจารณาพระจริยาวัตรในปางก่อนของพระพุทธเจ้า ขั้นที่ 7 พิจารณาความเคยเกี่ยวข้องกันในสังสารวัฏ ขั้นที่ 8 พิจารณาอานิสงส์ของเมตตา ขั้นที่ 9 พิจารณาโดยวิธีแยกธาตุ และ ขั้นที่ 10 ปฏิบัติทาน คือ การให้หรือแบ่งปันสิ่งของ องค์ความรู้ใหม่เกี่ยวกับการศึกษาเชิงวิเคราะห์วิธีบรรเทาโกรธของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต) ในครั้งนี้ ได้จากการเพิ่มส่วนสำคัญ 3 ประการเข้ามาเป็นพื้นฐาน ได้แก่ สติ เมตตา และปัญญา เรียกว่า “วิธีการระงับความโกรธ 10 ประการในเชิงพุทธปรัชญาเถรวาท” อธิบายได้ว่า วิธีการระงับความโกรธ 10 ประการ ในเชิงพุทธปรัชญาเถรวาทในแต่ละขั้นนั้นควรวางอยู่บนพื้นฐานของปัญญาและเมตตาเพื่อให้เกิดความสมดุลระหว่างความจริงกับความเข้าอกเข้าใจ เพื่อไม่ให้ปัญญากลับกลายเป็นเพียงเรื่องความคิดตัดสินอย่างมีอคติ และเพื่อไม่ให้เมตตากลายเป็นเพียงเรื่องความรู้สึกจนหลงงมงาย จำเป็นต้องมีสติคอยปรับสมดุลในฐานะเป็นธรรมอุปการะในธรรมทั้งปวง
References
การศาสนา, กรม. (2525). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง. กรุงเทพฯ : กรมการศาสนา.
จำรัส พรหมบุตร. (2565). ความโกรธในทัศนะพุทธจิตวิทยา. วารสารพุทธจิตวิทยา, 7(1), 38-45.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2551). ทำอย่างไรจะหายโกรธ. กรุงเทพฯ : บริษัทสำนักพิมพ์สุภา จำกัด
พระมหาสากล สุภรเมธี (เดินชาบัน) และพระอภิชาติ อภิญาโณ (แก้วเกตุพงษ์). (2559). เมตตากับการระงับความโกรธตามแนวพุทธปรัชญา. วารสารศรีล้านช้างปริทรรศน์, 2(1), 11-22.
วินัย จันทร์เปล่ง. (2536). จากจุดอ่อนสู่ความสำเร็จ. กรุงเทพฯ : เอช เอ็น กรุ๊ป.
สมพร อินทร์แก้ว. (2536). จัดการกับความโกรธอย่างไรดี. กรุงเทพฯ : การท่าเรือ.
สมภพ เรืองตระกูล. (2547). ความเครียดและอาการทางจิตเวช. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์เรือนแก้วการพิมพ์.
สุภา ศรีสวัสดิ์, พระมหาบุญศรี ญาณวุฑฺโฒ และสุเชาว์ พลอยชุม. (2559). การจัดการความโกรธในชีวิต ประจำวันตามแนวพุทธธรรม วารสารรามคำแหง ฉบับมนุษยศาสตร์, 35(2), 205-220.
Glick, R.A. (1993). Rage Power and Aggression. London : Yale University Press.
Speilberger, C.D. (1996). Manual for the state-trait anger expression inventory (STAXI). Florida : Psychological Assesment Resources.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารสถาบันพอดี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.