ความสุขในองค์กรตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาท

ผู้แต่ง

  • สิรินทร์ กันยาวิริยะ บริษัท ล.ธนวงศ์ (1997) จำกัด
  • ชิสา กันยาวิริยะ บริษัท ล.ธนวงศ์ (1997) จำกัด

คำสำคัญ:

ความสุข, ความสุขในองค์กร, พุทธปรัชญาเถรวาท

บทคัดย่อ

บทความวิชาการฉบับนี้มุ่งศึกษาความสุขในองค์กรตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาท ผลการศึกษา พบว่า ความสุข เป็นสิ่งที่คนทั่วไปปรารถนา แม้แต่ในชีวิตการทำงาน มนุษย์ก็ต้องการความสุข ดังนั้น การสร้างความสุขในการทำงานถือเป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างยิ่งที่ทำให้การบริหารองค์กรเป็นไปได้ด้วยความราบรื่น การสร้างความสุขในองค์กรให้เกิดการปฏิบัติงานสำเร็จภายใต้ความร่วมมือของคนในองค์กร ควรมีระบบการจัดการที่ทำให้เกิดการพัฒนาตน พัฒนาคน พัฒนางาน อย่างเป็นระบบ มีการนำเอาหลักพุทธธรรมที่สำคัญมาประยุกต์หรือบูรณาการกับแนวคิดความสุขในการทำงาน เพื่อสร้างความมั่นคงและเข้มแข็งจากภายในจิตใจ ทัศนคติ สู่ภายนอกอันเป็นเรื่องของพฤติกรรมและความประพฤติที่นำไปสู่ความสุขความเจริญในการทำงานร่วมกันของคนในองค์กร หลักพุทธปรัชญาที่สำคัญต่อการสร้างความสุขในการทำงาน ได้แก่ หลักพรหมวิหารธรรม และหลักสังคหวัตถุธรรม องค์ความรู้ใหม่เกี่ยวกับ “ความสุขในองค์กรตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาท” ที่ได้จากการสังเคราะห์ข้อมูลในครั้งนี้ เรียกว่า HB MODEL ประกอบด้วย 2 ส่วนสำคัญ ดังนี้ ส่วนที่ 1 : H ย่อมาจากคำในภาษาอังกฤษว่า Happy Workplace หมายถึง ความสุขในที่ทำงาน แบ่งออกเป็น 2 มิติ คือ 1) มิติที่ทำงานภายนอก ได้แก่ พื้นที่ทางกายภาพ ในที่นี้หมายถึง สถานที่ทำงาน 2) มิติที่ทำงานภายใน ได้แก่ พื้นที่ทางจิตใจ ในที่นี้หมายถึง สภาวะที่สงบ เย็น เบา โล่ง โปร่งสบาย อันเกิดจากการทำงานภายใน (ภาวนา) ด้วยสติปัญญา ส่วนที่ 2 : B ย่อมาจากคำในภาษาอังกฤษว่า Buddhist Philosophy ในที่นี้หมายถึง หลักคำสอนทางพุทธศาสนาหรือหลักพุทธปรัชญาที่สร้างความสุขอย่างเป็นองค์รวมให้แก่องค์กร ได้แก่ หลักภาวนา 4 ตลอดถึงหลักธรรมอื่น ๆ ที่มีส่วนส่งเสริมหรือเข้ามาประกอบให้หลักภาวนา 4 มีความสมบูรณ์ยิ่ง ๆ ขึ้นไป องค์ประกอบทั้ง 2 ส่วนดังกล่าวนี้ มีส่วนช่วยในการสร้างความสุขอย่างเป็นองค์รวมสู่ความสมดุลทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ ด้านความสุขของตนเอง ด้านความสุขของครอบครัว และด้านความสุขขององค์กร

References

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. พระบรมราโชวาท ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตมหาวิทยาลัยมหิดล. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : http://dmh.go.th/test/whoqol. [19 มีนาคม 2567]

ชินกร น้อยคํายาง และ ปภาดา น้อยคํายาง. (2555). ปัจจัยที่ส่งผลต่อดัชนีความสุขในการ ทำงานของบุคลากรสำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. รายงานการวิจัย. สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ชิสา กันยาวิริยะ และเมธา หริมเทพาธิป. (2565). การศึกษาเชิงวิเคราะห์หลักภาวนา 4 ตามหลักพุทธปรัชญาเถรวาท. วารสารพุทธมัคค์, 7(2), 229-235.

ชิสา กันยาวิริยะ, สิรินทร์ กันยาวิริยะ และเมธา หริมเทพาธิป. (2565). การบริหารตนตามหลักพุทธธรรมสำหรับนักธุรกิจ. วารสารวิจัยธรรมศึกษา, 5(2), 275-281.

ปรมต วรรณบวร. (2560). การสร้างองค์กรแห่งความสุขด้วยหลักพุทธธรรม. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 1(1), 25-38.

รวมศิริ เมนะโพธิ. (2550). เครื่องมือวัดการทำงานอย่างมีความสุข กรณีศึกษานักศึกษาภาคพิเศษระดับปริญญาโท สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สารนิพนธ์วิทยาศาสตรบัณฑิต. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ : มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

เรวดี ศิริภาพ. (2562). “รูปแบบการพัฒนาสุขภาวะเชิงพุทธบูรณาการของพนักงานบริษัท”. พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ศิรินทิพย์ ผอมน้อย. ความสุขในที่ทำงาน. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : http://www.okanation.nationtv/blog/clinicalpsychology/2017/06/13/entry2. [22 กุมภาพันธ์ 2567]

ศิรินันท์ กิตติสุขสถิต และคณะฯ. (2555). คู่มือการวัดความสุขด้วยตนเอง HAPPINOMETER. กรุงเทพฯ : ธรรมดาเพลส.

สิรินทร์ กันยาวิริยะ, ชิสา กันยาวิริยะ และเมธา หริมเทพาธิป. (2565). การบริหารคนตามหลักพุทธธรรมสำหรับนักธุรกิจ. วารสารวิจัยธรรมศึกษา, 5(2), 240-249.

สุทธิรัตน์ ชูเลิศ และคณะ. (2565). การเสริมสร้างความสุขของบุคลากรในองค์กรสร้างสุขตามหลักพุทธจิตวิทยาของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. วารสาร มจร การพัฒนาสังคม, 7(1), 54-65.

สุภัทรา เผือกโสภา. (2556). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับความสุขใน การทำงาน กรณีศึกษา อาจารย์และเจ้าหน้าที่มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง. หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต : มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

อำพล จินดาวัฒนะ, นพ. (2561). สุขภาพคนไทย 2561. นครปฐม : สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.

แผนภาพที่ 1 HB MODEL

Downloads

เผยแพร่แล้ว

04/30/2024